(คลิป)เชียงใหม่ ชวนเที่ยวโครงการหลวงอินทนนท์ตามรอยพ่อสานต่อเกษตรที่สูง

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สถานีเกษตรหลงวงอินทนนท์ หรือโครงการหลวงอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ได้มีประชาชนาและนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เดินทางขึ้นไปท่องเที่ยว และชมความสวยงามทางธรรมชาติอย่างเนืองแน่น ที่ขณะนี้ในพื้นที่ เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเต็มตัว

ส่งผลให้สภาพอากาศหนาวเย็น ต้นไม้ ดอกไม้ และพืชพรรณที่ปลูกในแปลงเกษตรเริ่มผลิบาน ออกดอก ออกผล เป็นเสน่ห์ดึกดูดผู้มาเยือน และนอกจากนี้ ทางโครงการฯ ยังได้เชิญชวนให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว เข้าชมความก้าวหน้าการพัฒนาเกษตรพื้นที่สูงตามรอยพ่อหลวง ทั้งผืชผักผลไม้ ดอกไม้เมืองหนาว กาแฟและชมปลาของพ่อปลาเรนโบว์เทร้าส์ และปลาสเตอร์เจี้ยน

โดยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร คือสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่าโครงการหลวงอินทนนท์ ซึ่งในช่วงของใหน้าหนาวตอนนี้นอกจากพรรณไม้ดอกเมืองหนาวที่ทางโครงการหลวงเตรียมจัดลงแปลงรอรับนักท่องเที่ยวหลากหลายสายพันธุ์ แล้ว ยังเป็นช่วงที่แปลงไม้ดกอกอย่างเบญจมาศ ดาเลีย กุหลาบ เบ่งบานสวยงามเต็มแปลงวิจัยของโครงการหลวง และแปลงของเกษตรกรแล้ว ยังมีกาแฟ อะโวคาโด้ พืชผักสวนครัว

รวมไปถึงโครงการวิจัยและส่งเสริมอาชีพด้านการประมง ที่ยังเป็นจุดหลักของโครงการหลวงที่เลี้ยงปลาของพ่อ คือปลาเรนโบว์เทร้าส์ ที่ทรงส่งเสริมให้เกิดการวิจัย และทดลองจนทุกวันนี้สามารถจำหน่ายในโครงการหลวงได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปลาสเตอร์เจี้ยน ซึ่งเป็นปลาที่ให้ไข่ปลาคราเวียร์สีดำ แม้จะสามารถให้ไข่ปลาคราเวียร์ได้แล้ว แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับจัดจำหน่ายได้ ยังคงทำได้ตามออร์เดอร์เท่านั้น ซึ่งล้วนสามารถเข้าเที่ยวชม และศึกษาหาความรู้ได้ในช่วงหน้าหนาวนี้

ทั้งนี้ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพลิกฟื้นพื้นที่ปลูกพืชเสพติดส่งเสริมการเกษตรของพืชผักผลไม้ และไม้ดอกเมืองหนาวส่งเสริมอาชีพให้กับราษฎรในพื้นที่สูง ซึ่งที่ดอยอินทนนท์ ราษฎรที่อาศัยบนพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงและเผ่าม้ง ซึ่งบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ ทำไร่เลื่อนลอย ปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด และฝิ่น ส่งผลให้ป่าที่เคยสมบูรณ์กลายสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเหลือชาวเขาเหล่านั้นให้มีพื้นที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง และได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านการเกษตรแผนใหม่ ปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

ด้วยการหันมาทำการเกษตรแบบถาวร อันเป็นที่มาของการจัดตั้ง “สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์” ในปี พ.ศ.2522 ณ บริเวณบ้านขุนกลาง เพื่อเป็นสถานีวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวงอีกแห่งหนึ่ง ดำเนินงานวิจัยด้านไม้ดอก ไม้ประดับ พืชผัก และไม้ผล รวมทั้งถ่ายทอดผลงานวิจัยไปสู่การส่งเสริมให้เป็นรายได้ของครอบครัวเกษตรกรทั้งชาวกะเหรี่ยง และ ม้งในหมู่บ้านรอบๆ สถานีฯ พร้อมกับการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานพัฒนาด้านสังคมและการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารและโปรดให้เป็น “สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์” ในปี พ.ศ.2550

สำหรับ งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับเกษตรกรชาวไทยภูเขา ทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรควบคู่ไปกับการดำเนินงานด้านเสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชนและการฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ทางสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์นำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยถ่ายทอดสู่เกษตรกรชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง และกะเหรี่ยงในพื้นที่ 9 กลุ่มบ้าน

มีเกษตรกรจำนวน 1200 คน ชนิดพืชที่สถานีฯส่งเสริมได้แก่ ผักอินทรีย์ ได้แก่ ผักกาดกวางตุ้ง, ผักกาดฮ่องเต้, ผักกาดเบบี้ฮ่องเต้, เบบี้แครอท, ถั่วแขก, กรีนโอ๊คลีฟ, เรดโอ๊คลีฟ, ผักกาดหวาน รวมไปถึง ผักปกติ (GAP) ได้แก่ เฟนเนล, เซเลอรี่, ซูกินี่, พริกวานสีเขียว, มะเขือเทศโครงการหลวง, มะเขือเทศเชอรี่แดง, ถั่วแขก, กะหล่ำปลี, หอมญี่ปุ่น, มันฝรั่ง

ไม้ผล ได้แก่ พลับ, พี้ช, พลัม, บ๊วย, อาโวกาโด, สตอเบอรี่พันธุ์ 80, เคปกูสเบอรี่, เสาวรสหวาน, องุ่น, มัลเบอรี่, กีวี่ฟรู้ต, ราสพ์เบอรี่, ฟิก (มะเดื่อฝรั่ง) ไม้ดอก ได้แก่ กุหลาบ, เจอบีร่า, ลิ้นมังกร, ออนิโทกาลั่ม, จิ๊ปซอฟฟิลล่า
กาแฟอาราบิก้า พืชไร่ ได้แก่ ถั่วอะซูกิ, ถั่วแดงหลวง, ข้าวเปลือก, ข้าวเหนียวก่ำ

นอกจากนี้ สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ยังได้ดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับเกษตรกรชาวไทยภูเขา ทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรควบคู่ไปกับการดำเนินงานด้านเสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชนและการฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติพัฒนาศักยภาพองค์กรชุมชนในการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด พัฒนาและส่งเสริมด้านสาธารณสุขให้แก่ชุมชนชาวเขา ได้แก่ กิจกรรม ชุมชนอยู่ดีมีสุข ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาและสังคม ได้แก่ กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวงสู่เยาวชนในโรงเรียนและการนำไปปฏิบัติจริง ส่งเสริมและพัฒนาการรวมกลุ่มพึ่งพาตนเองของชุมชน ได้แก่ กลุ่มผู้ปลูกไม้กระถางอินทนนท์ กลุ่มผู้ผลิตพืชอินทรีย์บ้านเมืองอาง

ทางด้าน นายสมชาย เขียวแดง ผู้อำนวยการ สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ กล่าวว่า สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ยังคงจะสานต่องานของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยเฉพาะเรื่องของการวิจัยพันธุ์พืช แม้จะเป็นพืชชนิดเดิมก็จะต้องทำการวิจัยปรับปรุงพันฒนสายพันธุ์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ออกมาได้ดีที่สุด ส่งเสริมให้กับราษฎรบนพื้นที่สูง การใช้เทคโนโลยีในการผลิตเพื่อลดต้นทุน

รวมทั้งมาตรฐานการผลิตเพื่อให้ผลผลิตสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ที่สามารถผลิตพืชผลทางการเกษตรได้เช่นเดียวกับเราจึงต้องเอาเรื่องของคุณภาพ และมาตรฐานไปแข่งขันกัน และจากนี้ไปเรื่องของการฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับมาอุดมสสมบูรณ์ควบคู่ไปกับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชาวบ้านก็จะเป็นงานสำคัญ ส่วนเรื่องสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือการพัฒนาตัวเองให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จไปให้กับพื้นที่อื่นๆ ได้ต่อยอดนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดคือสิ่งที่โครงการหลวงทุกแห่ง จะต้องสานต่องานของพ่อหลวงของเรา

ร่วมแสดงความคิดเห็น