นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ มาตรฐานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย

ร้อยเอกภูรีวรรธน์ โชคเกิด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานมอบป้ายตราสัญลักษณ์เชียงใหม่ช้อยส์ แก่ผู้ประกอบการ “ผลิตภัณฑ์แคบหมู” และเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการมาตรฐานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยจังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายสุเทพ ฟองศรี หัวหน้ากลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวรายงาน ที่ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ศูนย์ราชการ
จังหวัดเชียงใหม่
กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร โดยเน้นการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาหารแบบบูรณาการและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้อาหารมีความปลอดภัยครบวงจร ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายสำคัญ คือ การสนับสนุนให้โรงพยาบาลทุกแห่งเป็น “โรงพยาบาล
อาหารปลอดภัย” และตระหนักถึงพิษภัยของอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษ การควบคุมตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน และสร้างสุขภาวะที่ดีให้ประชาชน อีกทั้งหน่วยเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เขตสุขภาพที่ 1
จังหวัดเชียงใหม่ ยังได้ดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์แคบหมู ภายใต้โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2560 เพื่อปรับปรุงและพัฒนาห่วงโซ่การผลิตอาหารปลอดภัย ถึงแหล่งจำหน่าย/รับซื้อ และการให้ข้อมูลด้านคุณภาพมาตรฐานของผู้ประกอบการน้ำดี สู่ประชาชนผู้บริโภค ซึ่งถือได้ว่าเป็นการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานให้ผลิตภัณฑ์แคบหมูที่เป็นของกินของฝากจังหวัดเชียงใหม่
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการผลิตแคบหมูที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โครงการตราสัญลักษณ์เชียงใหม่ช้อยส์ ประกอบด้วย นายภัทระ ฉลาดแพทย์ (บริษัท แฮปปี้เนเจอร์ จำกัด), นางศรัณย์พร บุญเป็ง, นายนิรันดร์ ธรรมชัย,
นางธัญญาพัทธ์ ขนุนงาม, นางจันทร์ฉาย การคนซื่อ, นางจิตอารีย์ ชัยกุล,
นางพวงเพชร คันธา, นางพิมพ์ใจ กันทะปิก, ร้อยโทหญิงวันทนีย์ ไทยเที่ยง,
นางสาวไปรยา จินาเหมย, นายนภดล ปัญญาดี, นางสุมาลี กอหลวง, นางพรรณี คุณเลิศ, นายมานพ ณ เชียงใหม่, บริษัท เชียงใหม่วนัสนันท์ จำกัด,
นางเกตุ ดาวเรือง, นางพิมพ์ภิไม ประพันธ์ศรี, นางอรกัญญา เลขะวัฒนะ, วิสหากิจชุมชนแคบหมูแม่แช่ม และนางจำรัส บุญติ ทั้งนี้ สัญลักษณ์เชียงใหม่ช้อยส์
เป็นตราสัญลักษณ์ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กำหนดรูปแบบขึ้น
เพื่อมอบให้แก่ผลิตภัณฑ์อาหารที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบอย่างละเอียด เช่น สถานที่ผลิตต้องไม่มี
สาเหตุอันอาจก่อให้เกิดโรคต่อผู้บริโภค เครื่องมือการผลิตได้มาตรฐานบุคลากร
ที่ปฏิบัติงานผ่านการตรวจสุขภาพและความสะอาด “น้ำมัน” ในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน ผ่านการตรวจวิเคราะห์ และหลักสุขาภิบาลต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ร่วมแสดงความคิดเห็น