เลี้ยงปลาสะเด็ดโต้ ขายสร้างรายได้เสริมจากสวนลำไย กับชาวแม่วาง เชียงใหม่

วันที่ 13 ก.พ.61 เวลา 09.00 น. นายสมพล แสนคำ เกษตร จ.เชียงใหม่ ติดตามผลการดำเนินงานและความยั่งยืนของโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ม.2 บ้านแสนคันธา ต.ทุ่งรวงทอง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ โดยนางกัลยกร สัมโน เกษตร อ.แม่วาง และบุคคลากรสำนักงานเกษตรฯ ให้ข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้อง

นายสมพล แสนคำ เกษตร จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า อาชีพเกษตรกรรมมีหลากหลายสาขาไม่ว่าปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ล้วนแต่เป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาการเกษตรทั้งในจุลภาค และมหภาคเริ่มตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน แต่ที่สำคัญชุม ชนและคนในชุมชนต้องเข้มแข็ง สมัครสมานสามัคคีที่จะร่วมกันพัฒนา โดยมีทางส่วนราชการที่ขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆสู่ชุมชนดังโครงการ 9101 ตามรอยพ่อภายใต้ร่มพระบารมีอย่างยั่งยืน ที่เป็นโครงการหนึ่งที่กรมส่งเสริมการเกษตรขับเคลื่อนดำเนินงานผ่านสำนักงานเกษตร จ.เชียงใหม่ และสำนักงานเกษตร อ.แม่วาง

ที่ผ่านการวิเคราะห์ชุมชนความต้องการตามสภาพภูมิสังคม เนื่องจากพบว่าชุมชน ม.2 บ้านแสนคันธา ต.ทุ่งรวงทอง อ.แม่วาง เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรทำสวนลำไยเป็นส่วนมาก ในพื้นที่มีบ่อน้ำร้างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้วที่ใช้สำหรับแก้ปัญหาในช่วงแล้ง สำหรับเพื่อทำสวนลำไยซึ่งเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ซึ่งมักจะประสบปัญหาราคาผลผลิตเป็นประจำ จากปัญหาดังกล่าวจึงร่วมกันเสนอ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ภายใต้โครงการเดังกล่าวจำ นวน 624,812 บาท

โดยดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงปลาหมอไทย หรือที่คนทางภาคเหนือเรียกว่า”ปลาสะเด็ด”ดำเนินการโดยกลุ่มเลี้ยงปลาหมอไทย เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรในชุมชนอีกทางหนึ่ง

โดยพื้นที่ดำเนินการบ่อขนาดครึ่งงาน จำนวน 4 กระชัง ปล่อยปลาจำนวน 4,000 ตัว เลี้ยงประมาณ 4-5 เดือนขายได้กิโลละ 80-100บาท/กก. โดยจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงในพื้นที่ ทำรายได้เกือบ 5 หมื่น/ครั้ง ซึ่ง 1 ปี ทางกลุ่มมีแผนการเลี้ยงประมาณ 2 รอบ /ปี จะมีรายได้ประมาณ 100,000บาท/ปี บนพื้นที่ผลิตเพียงครึ่งงาน ซึ่งมีการขยายผลสู่ชุมชนใกล้เคียงกว่า 30 ครัวเรือน ก่อเกิดรายได้กับชุมชนมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท

นางกัลยกร สมโน เกษตร อ.แม่วาง ให้ข้อมูลว่าการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว เกิดจากความต้องการของชุมชน และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานบูรณาการในระดับพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น กรมประมงตรวจบัญชี เป็นต้นและทางกลุ่มยังมีการบริหารจัดการกลุ่มตอบแทนสู่ชุมชน โดยเป็นศูนย์เรียนรู้ ,แหล่งอาหารให้กับคนในชุมชน และอำเภอใกล้เคียงเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น