ชุมชนเชียงใหม่หวั่นแห่สร้าง ที่พัก-โรงแรมกระทบวิถีชีวิต

ชาวบ้าน ผู้พักอาศัยย่านท่าแพ ซอย 4 นครเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัจจุบันการก่อสร้าง ละแวกใกล้เคียงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากซอย 4 ไป5-6 โผล่แถวคชสาร1อีก สร้างกันไม่หยุด ทั้งโฮสเทล,โรงแรม ,ดัดแปลงบ้านเป็นเกสต์เฮ้าส์พอเสร็จอีกโครงการก็มาอีกใกล้ๆกัน ปัญหาคือเสียงดังจากรถขนดิน คนงานก่อสร้างทะเลาะวิวาทกัน
“โดยเฉพาะตามตรอก ซอย ที่คับแคบอยู่แล้ว รถสวนทางกันไม่ได้ มีรถตู้ รถรอจอดรับแขก นักท่องเที่ยวก็ยิ่งทำให้ชาวบ้านลำบากในการเข้าออกบ้าน ใช้เส้นทาง ผู้คนที่มีบ้านพักย่านนี้ พอคนแก่คนเฒ่าเสียไป ลูกหลานก็มักจะขาย เพราะไม่ทนที่จะอยู่ในสภาพแวดล้อมของเมืองแบบนี้ ”

สำหรับการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้ายใช้หรือเปลี่ยนใช้อาคาร ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนต่างๆส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง สำนักการช่าง ทน.เชียงใหม่มีหน้าที่ควบคุม ดูแลรวมถึงตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเทศบาล, ควบคุมแนวเขตถนน ทางสาธารณะ,
ช่วงปี 56-57 มีการขออนุญาติก่อสร้างในพื้นที่นครเชียงใหม่ ทั้งหอพัก โรงแรม อาคารพาณิชย์ เป็นจำนวนมาก แต่เมื่อใช้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และ พ.ร.บ.ผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.2555 แบ่งเขตเป็นสีในการใช้ประโยชน์ที่ดินในแต่ละพื้นที่ กำหนดประเภทและความสูงของอาคาร พื้นที่จอดรถที่กลับรถและทางเข้าออกของรถ ทำให้เกิดความเป็นระเบียบมากขึ้น แต่ผลกระทบกับวิถีชีวิตของชุมชนก็ยังรอการแก้ไขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลการขึ้นทะเบียนโรงแรมที่พักในจังหวัดเชียงใหม่ ที่สำนักสถิติฯสำรวจล่าสุดในภาคเหนือ 1,857 แห่งนั้น เชียงใหม่มีโรงแรมและเกสต์เฮ้าส์มากสุด 571 แห่ง 24,669 ห้องพัก จำนวนผู้เข้าพัก 6 ล้านกว่าคน แยกเป็นคนไทย 2 ล้าน อีก 4 ล้านคนเป็นชาวต่างชาติใช้บริการ ซึ่งช่วงเทศกาลจะมีปัญหาห้องพักดขาดแคลน มีราคาสูง จึงทำให้เกิดช่องว่างทางการตลาดที่กลุ่มทุนบางส่วนเล็งเห็นและลงทุนสร้างโรงแรม ที่พัก ในเขตนครเชียงใหม่ที่คุ้มค่า มีอัตราเสี่ยงน้อยกว่าทำเลอื่น
อย่างไรก็ตามสมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ(เชียงใหม่) ยืนยันว่า ห้องพักน่าจะมีมากกว่า 4 หมื่นห้อง ไม่นับรวมอพาร์ทเมนต์, ห้องชุด, การดัดแปลงบ้านพักเป็นเรือนแรม เกสต์เฮ้าส์ ที่พักเล็กๆ เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม ที่มีขึ้นมากมายในปัจจุบัน

ร่วมแสดงความคิดเห็น