คณะเภสัชฯ มช. เปิดตัวโครงการอบรม การพัฒนานวัตกรรมสมุนไพร สำหรับเครื่องสำอางภาคเหนือ

คณะเภสัชฯ มช. เปิดตัวโครงการอบรม การพัฒนานวัตกรรมสมุนไพร สำหรับเครื่องสำอางภาคเหนือ
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2561 คณะเภสัชศาสตร์ มช. ร่วมกับ หอการค้า จ.เชียงใหม่ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “การพัฒนานวัตกรรมสมุนไพร สำหรับเครื่องสำอาง” ณ ห้องเชียงทอง ศูนย์ประชุมนานาชาติ คุ้มคำคุ้มขันโตก โดยได้รับเกียรติจาก นายประจวบ กันธิยะ รอง ผวจ.เชียงใหม่ ,นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้า จ.เชียงใหม่ ,ร.อ.ภูรีวรรธน์ โชคเกิด นายแพทย์ สสจ. ,นายรัฐภัทร ศรีจันทร์กลัด เครือข่ายชมรมเครื่อสำอางสมุนไพรล้านนาฯ, รศ.ดร.ภก.วิรัตน์ นิวัฒนนันท์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มช.
ร่วมแถลงกล่าวเปิดโครงการ พัฒนานวัตกรรมสมุนไพร สำหรับเครื่องสำอางภาคเหนือ (Cosmetic Valley) ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะความรู้ ให้แก่ผู้ประกอบการ ด้วยการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี รวมถึงการจัดทำมาตรฐานวัตถุดิบสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพ สำหรับผลิตภัณฑ์ และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสินค้า ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เวชสำอาง จากสมุน ไพรไทยให้มีประสิทธิภาพสู่ตลาดสากล
คณะเภสัชศาสตร์ มช.และ หอการค้า ฯจึงได้ร่วมกันจัดอบรมรับสมัครผู้ประกอบการ เครื่องสำอางในภาคเหนือ ที่ต้องการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ เข้าร่วมอบรมแบ่งเป็นหลักสูตรกิจกรรม 1.การพัฒนาวัตถุ ดิบสมุนไพร และสารสกัดมาตรฐาน สำหรับผลิตภัณฑ์เวชสำอางในภาคเหนือ 2.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบและนวัตกรรมเครื่องสำอาง/เวชสำอาง/ผลิตภัณฑ์สปา จากสมุนไพร แก่ผู้ประกอบการในเขตภาคเหนือ 3.การประเมินประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ เวชสำอางสากลสมุนไพร 4.การพัฒนาศักยภาพและนวัต กรรมสมุนไพร สำหรับผู้ประกอบการเครื่องสำอางสมุนไพร และผลิตภัณฑ์สปาของภาคเหนือ
ปัจจุบันธุรกิจเครื่องสำอาง และเวชสำอางในต่างประเทศ ได้หันมาให้ความสนใจ สมุนไพรในประเทศเขตร้อนมากขึ้น พบว่า ตลาดเครื่องสำอางในประเทศไทย นับเป็นตลาดที่มีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกสูงมากในแต่ละปี รวมไปถึงนโยบายสนับสนุนจากรัฐบาลในปัจจุบัน ผนวกแรงหนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร การเติบโตของอุตสาหกรรมสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ ในประเทศไทย คือ ภาพลักษณ์และคุณภาพมาตรฐานของสินค้า เพื่อพัฒนาและนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท สำหรับผลิตภัณฑ์เวชสำอางในภาคเหนือ เริ่มตั้งแต่วัตถุดิบต้นน้ำ (วัตถุดิบสมุนไพร) การควบคุมคุณภาพสารสกัด สร้างความมั่นใจต่อการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ได้ดียิ่งขึ้น
ไปจนถึงกระบวนการที่จะนำไปพัฒนา ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง/ผลิตภัณฑ์สปา ซึ่งมีข้อมูลเชิงวิชาการรองรับ ให้มีประสิทธิภาพ และความปลอดภัย พร้อมพัฒนาศักยภาพและนวัตกรรม สำหรับผู้ประกอบการเครื่องสำอางสมุนไพรและสปาภาคเหนือ เพิ่มพูนความรู้และทักษะ สร้างเครือข่ายความร่วมมือ จึงนับเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการ ในการต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่ตลาดสากล

ร่วมแสดงความคิดเห็น