ประธานหอการค้า ฯ แถลงชี้ การใช้ดัชนีวัดคุณภาพอากาศภาคประชาชน (People AQI)

วันที่ 29 มีนาคม 2561ณ ห้องประชุม โรงแรมฮาร์โมไนซ์ จังหวัดเชียงใหม แถลงข่าว เปิดตัว ” การใช้ดัชนีวัดคุณภาพอากาศภาคประชาชน (People AQI) ” โดยนางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ,รศ.ดร. เศรษฐ์ สัมภัตตะกุลหัวหน้าโครงการการติดตามและประเมิน ภาวะหมอกควันเพื่อการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,หอการค้า เชียงใหม่ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมเปิดตัว ” การใช้ดัชนีวัดคุณภาพอากาศภาคประชาชน (People AQI) ” ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่ทางภาคการศึกษา และภาคเอกชนมองเห็นวิกฤตปัญหาที่เกิดขึ้นและพยายามหาทางแก้ไขที่เป็นไปได้สูงสุดปัญหาหมอกควันจัดว่าเป็นมลพิษทางอากาศที่สําคัญของภาคเหนือ เป็นต้นกําเนิดของสารมลพิษทางอากาศที่ฝูงตัวอยู่กับอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก ทําให้เกิดหมอกควัน ฝุ่นละออง เถ้าเขม่าควัน ระบายออกสู่บรรยากาศ พบมากในช่วงฤดูแล้งของทุกปีระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม
นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า มีการศึกษาออกมาชัดเจนว่าสาเหตุของการเกิดหมอกควัน มีหลาย สาเหตุด้วยกัน ได้แก่ ไฟป่า การเผาเศษพืชและเศษวัสดุการเกษตร การเผาขยะมูลฝอยจากชุมชน การเผาวัชพืชริมถนนมลพิษจากอุตสาหกรรมและการเผาในชุมชนลักษณะภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกระทะ สภาวะอากาศที่แห้งทําให้ฝุ่นละอองแขวนลอยอยู่ในบรรยากาศ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยของประชาชน และการท่องเที่ยว

จากปัญหาและสาเหตุดังกล่าวข้างต้นได้มีหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบได้ดําเนินการเพื่อป้องกันและแก่ไขปัญหามาโดยตลอด ตั้งแต่ปี2559 รัฐบาลกําหนดใหแต่ละจังหวัดใช้กลไกประชารัฐในการแก้ไขปัญหา ทว่าแนวโน้มก็ไม่ได้แก่ไขปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จได้ และไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะไม่เกิดปัญหานี้ขึ้นในอนาคตอีกนานเท่าใด

สิ่งที่ตามมาเป็นผลกระทบได้แก่ ผลกระทบทางด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ ซึ่งจากการวิจัยของนายแพทย์พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า เฉพาะจังหวัดเชียงใหม่มีอัตราผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดประมาณ 40 คนต่อประชากร 100,000 คน  ขณะที่ในภาคอื่นๆ มีอัตราผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเฉลี่ยประมาณ 20 คนต่อประชากร 100,000 คน หากปัญหามลพิษทางอากาศยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิผลแล้ว
น่าเป็นห่วงว่าในอีก 10 ปี ข้างหน่า จะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นอีกเป็นจํานวนมากผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจผลกระทบของมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะในปีที่มีหมอกควันมากกว่าปกติ มีส่วนทําให้รายได้เข้าสู่ภาคธุรกิจท่องเที่ยวลดลงอย่างกะทันหันได้ ช่วงใดที่ประสบปัญหามลพิษทางอากาศ หากจํานวนผู้มาท่องเที่ยวลดลง ก็จะส่งผลภาวะทางเศรษฐกิจในจังหวัดลดลง รวมถึงผลกระทบต่อการจัดสรรงบประมาณเพื่อนําไปพัฒนาในด้านอื่นๆ เพราะมุ่งเน้นหนักไปที่ปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะ
จากหมอกควัน จังหวัดได้กําหนดไว้ในใช้วงนี้ เป็นระยะรับมือ หรือช่วงการห้ามเผาเด็ดขาด โดยที่ประชุมมีมติให้ประกาศช่วงเวลาแห่งการห้ามเผาเด็ดขาด ของจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงวันที่ 1 มีนาคม 2561ถึงวันที่ 20 เมษายน 2561 รวมระยะเวลา 51 วัน เป็นเรื่องที่ดีที่ทางภาคเอกชนเห็นด้วยใน การกําหนดมาตรการออกมา

แต่หอการค้าคิดว่าควรมีมาตรการเสริมเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ร่วมกับสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เห็นว่าควรจะเสริมให้ความรู้กับ ประชาชนให้ตระหนัก รู้เท่าทันกับปัญหาที่เกิดขึ้น ในลักษณะ ” การใช้ดัชนีวัดคุณภาพอากาศภาคประชาชน (People AQI)” โดยใช้เครื่องมือทางซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่จะสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังและเตือนภัยวิกฤตหมอกควันให้เกิดขึ้น ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหอการค้าฯ จะได้มีส่วนแก้ไขปัญหาที่กระทบกับสังคม และสุขภาพในพื้นที่

โดยวิธีการจะติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบพกพา (Dustboy) เป็นจํานวน 5สถานี ทําการเก็บข้อมูลปริมาณฝุ่น PM10 และ PM2.5 และข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา ได้แก่อุณหภูมิและ ความชื้น เพื่อรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงอันเนื่องจากปริมาณฝุ่นที่ตรวจวัดและเผยแพร่ข้อมูลแก่เครือข่ายและสาธารณะชน ด้านรศ.ดร. เศรษฐ์ สัมภัตตะกุลหัวหน้าโครงการการติดตามและประเมินภาวะหมอกควันเพื่อการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัญหาหมอกควัน ประการสําคัญเกิดจากเศษวัสดุการเกษตร และการเผาไหม้ไฟป่าดังนั้นการแก้ไขปัญหาระยะยาวและมีความยั่งยืนต้อง
เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของภาครัฐภาคเอกชน ภาคประชาชน หรือทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ 1. การรวบรวมข้อมูลพื้นฐานการบริหารจัดการ
ด้านบริหารทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำปะปาด้านสาธารณูปโภค/ขยะ ด้านอาชีพรายได้ คุณภาพชีวิต หนี้สิน ด้านศักยภาพประชากรการศึกษา การแปรรูปผลผลิต และการสร้างมูลค่าของผลผลิต 2. การวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลข้อมูลร่วมกับ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม 3. จัดทําระบบ
สารสนเทศเพื่อการจัดการป่าต้นน้ำแบบองค์รวมแก้ไขปัญหาหมอกควันเพื่อให้เห็นการแสดงถึงข้อมูลประกอบการตัดสินใจและการขับเคลื่อนการ จัดการป่าต้นน้ําแบบยั่งยืนและ 4. การสร้างการรับรู้ การตระหนักถึงปัญหาของประชาชนในประเด็น สุดท้ายคือโครงการที่กําลังเกิดขึ้นคือการ
ตรวจวัดและรายงานสถานการณ์ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นในพื้นที่ด้วยเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบพกพา (Dustboy) เพื่อก่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความสําคัญในปัญหาหมอกควัน เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังและเตือนภัยแก่สาธารณะชนอย่างทันท่วงทีโดยเฉพาะในช่วงวิกฤตหมอกควัน

โดยมีวัตถุประสงค์ที่สําคัญคือ 1. เพื่อตรวจวัดและติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศของปริมาณฝุ่น PM10 และ PM2.5โดยเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบพกพา 2. เพื่อสื่อสารข้อมูลและเตือนภัยถึงสภาวะความรุนแรงของปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นในพื้นที่ให้แก่เครือข่ายและสาธารณะชน 3. เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการเชื่อมโยงข้อมูลด้านปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ อันจะนําไปสู่การร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและเหมาะสม

โดยวิธีการจะทําการเลือกพื้นที่ที่จะทําการติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบพกพา(Dustboy) เป็นจํานวน 5 สถานี ทําการเก็บข้อมูลปริมาณฝุ่น PM10 และ PM2.5 และข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา ได้แก่อุณหภูมิและ ความชื้น เพื่อรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงอันเนื่องจากปริมาณฝุ่นที่ตรวจวัดและเผยแพร่ข้อมูลแก้เครือข่ายและสาธารณะชน

ร่วมแสดงความคิดเห็น