แชมป์ที่ใครๆ ก็ไม่อยากเป็น

จังหวัดเชียงใหม่ครองแชมป์เกิดอุบัติเหตุ และจำนวนผู้บาดเจ็บสูงสุดของประเทศไทยช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันที่ 11-13 เมษายน 60

ปีที่ผ่านมา (2560) จังหวัดเชียงใหม่ สรุปผลการปฏิบัติการศูนย์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำวันที่ 13 เมษายน 2560 สาเหตุหลักยังเกิดจากการเมาสุรา อำเภอที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือ อำเภอแม่แตง ขณะที่จังหวัดสั่งปรับแผนการตั้งจุดตรวจและจุดสกัดอย่างเข้มข้น พร้อมบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง

นายไพรินทร์ ลิ่มเจริญ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ รายงานสรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่ 11-13 เมษายน 2560เกิดอุบัติเหตุสะสม 83 ครั้ง,มีผู้บาดเจ็บสะสม 86 คน และมีเสียชีวิตสะสม 6 ราย โดยช่วงอายุที่ประสบอุบัติเหตุสูงสุดจะอายุ 15-19 ปี รองลงมาอายุ50ปีขึ้นไป ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ยังครองแชมป์จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด และจังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด สาเหตุผู้เสียชีวิตเกิดจากผู้ขับขี่รถเมาสุรา ขับรถเร็ว ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่สวมหมวกนิรภัย ถนนไม่ปลอดภัย

ด้านข้อมูลของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2560 รายงานการกวดขันควบคุมตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเข้มงวดจริงจังในวันที่ 10 เมษายน 2560 ตรวจ 444 รายพบว่าผิด 8 ราย
วันที่ 11เมษายน 2560 ตรวจ 167 รายพบว่าผิด 10 ราย
วันที่ 12 เมษายน 2560 ตรวจ 197 พบว่าผิด 15 ราย
และวันที่ 13 เมษายน 2560 ตรวจ 388 ราย พบว่าผิด 17 ราย
สรุปผลการปฏิบัติการศูนย์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ช่วง 7 วัน ของจังหวัดเชียงใหม่ว่า วันที่ 13 เมษายน 2560 จังหวัดเชียงใหม่ มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจำนวน 32 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บจำนวน 37 คน เป็นชาย 27 คน และหญิง 10 คน โดยอำเภอที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือ อำเภอแม่แตง จำนวน 6 ครั้ง รองลงมาเป็นอำเภอพร้าว อำเภอสันป่าตอง และอำเภอแม่อาย จำนวน 3 ครั้ง ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 2 ราย เป็นชายทั้ง 2 คน อยู่ในอำเภอพร้าว และอำเภอสันป่าตอง สะสมมีผู้เสียชีวิตจำนวน 5 ราย ทั้งนี้ ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือรถจักรยานยนต์ จำนวน 30 ครั้ง โดยพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตมากที่สุด คือ การเมาสุรา จำนวน 16 ครั้ง รองลงมาเป็นการขับรถเร็วเกินกำหนดจำนวน 12 ครั้ง สำหรับประเภทถนนที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ถนนในอบต./หมู่บ้าน จำนวน 13 ครั้ง ถนนกรมทางหลวงจำนวน 12 ครั้ง สถิติช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ เวลา 16.01 – 20.00 น. โดยผู้ประสบเหตุสูงสุดจะมีอายุตั้งแต่ 15-19 ปี เกิดอุบัติเหตุกับผู้ขับขี่มากที่สุด 30 คน รองลงมาเป็นผู้โดยสาร 9 คน และคนเดินถนน 1 คน
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานกรรมการและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน พิจารณาร่างแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2561 ภายใต้แนวคิดขับรถมีน้ำใจรักษาวินัยจราจร โดยกล่าวว่า รัฐบาลกำหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเป็นนโยบายสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันขับเคลื่อน
“เน้นการสร้างการรับรู้ให้ประชาชน ตระหนักถึงการใช้รถใช้ถนน ให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด แม้ว่าในช่วงเทศกาลที่ผ่านมา สถิติการเกิดอุบัติเหตุและการสูญเสียจะลดน้อยลง แต่ถ้าเทียบกับสถิติในต่างประเทศถือว่ายังสูงอยู่ ดังนั้น ขอให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์และบูรณาการร่วมกันอย่างเต็มที่”
มาตรการลดปัจจัยเสี่ยงด้านคน มาตรการลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสิ่งแวดล้อม มาตรการลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ มาตรการดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว มาตรการความปลอดภัยทางน้ำและมาตรการด้านการช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้นตามมาตรการ 1 ร. 2 ส. 3 ข. 4ม. หรือ 10 รสขม. ได้แก่ 1.ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด 2.ขับรถย้อนศร 3.ฝ่าฝืนสัญญาณจราจร 4.ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย 5.ไม่มีใบขับขี่ 6.แซงในที่คับขัน 7.เมาสุรา 8.ไม่สวมหมวกนิรภัย 9.มอเตอร์ไซต์ไม่ปลอดภัย 10.ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ

ร่วมแสดงความคิดเห็น