ตะลอนแอ่วตลาดประตูเชียงใหม่ แหล่งของอร่อยเช้า-เย็น ทำบุญตักบาตรจุ้มใจ๋

ภาพพระภิกษ์และสามเณร เดินเรียงแถว เพื่อให้ญาติโยม นักท่องเที่ยว ทำบุญตักบาตร จากการซื้อหาอาหาร ชุดทำบุญภายในตลาดหรือ “กาด” อาจเป็นภาพที่พบเห็นได้ทั่วไปในเขตคูเมืองเชียงใหม่ แต่ สำหรับบริเวณด้านหน้ากาดประตูเชียงใหม่นั้น จำนวนพระและเณรที่ยืนเรียงราย ให้ตักบาตร จะเป็นกาดที่มีมุมงดงาม เป็นหนึ่งสถานที่ซึ่งนักท่องเที่ยว คนต่างถิ่นบอกต่อๆกันว่า จะตักบาตร ให้มากาดนี้..ไม่ผิดหวัง

อาจจะไม่ค่อยมีใครรู้นักว่า ประตูเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ด้านทิศใต้ของนครเชียงใหม่ เคยเรียกว่า “ประตูท้ายเวียง” อยู่ในจุดที่ไม่ใช่กึ่งกลางของกำแพงรอบคูเมือง เช่นประตูอื่นๆ เป็นปริศนาที่นักประวัติศาสตร์พยายามสืบค้น
ประตูนี้สร้างในรัชสมัยพญามังราย เมื่อปีพศ.1804 ตามหลักทิศเมือง ที่เปรียบเมืองมีชีวิตเช่นเดียวกับคน ประตูแห่งนี้คือ “มนตรีเมือง” ซ่อนความหมายของหลักทักษาสื่อถึง ผู้อุปถัมภ์ค้ำชู ผู้ให้ความช่วยเหลือ เพื่อสิ่งดีๆของเมือง เมื่อ ประตูเมืองพังทลายไป พระเจ้ากาวิละ ” กษัตริย์นักรบ”พระเจ้าแผ่นดินเชียงใหม่องค์แรกแห่งราชวงศ์ทิพยจักร ผู้ปก ครองแผ่นดินล้านนา 57 หัวเมือง ทรงโปรดให้บูรณะขึ้นเมื่อปีพศ. 2344
ตำนานท้องถิ่นเล่าถึงพลังแห่ง”มนตรีเมือง” ในการเคลื่อนทัพเชียงใหม่ ผ่านประตูนี้ออกไปยังจุดรวมพล ทำให้พระองค์และกองทัพพระเจ้ากรุงธนบุรี กอบกู้แผ่นดินล้านนาสำเร็จ ผนวกแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียวกับสยามแต่นั้นมา

นี่คืออีกเรื่องเล่าของ…ประตูท้ายเวียง..ประตูแห่ง..ทัพเชียงใหม่… ปัจจุบันประตูเชียงใหม่ที่เห็นจำลองสร้างขึ้นบนฐานที่แนวกำแพงเดิมที่พังทลายตามกาลเวลา ในปี พศ.2510 ซึ่งกาดนี้ก็เริ่มต้นและวิวัฒนาการจนกลายเป็นตลาดประตูเชียงใหม่ในวันนี้ บริเวณรายรอบกาดยังมีกลิ่นอายชนบท เป็นตลาดที่นักท่องเที่ยวนิยมไปสัมผัสสีสันตลาดแบบบ้านๆ
และถ้าเชื่อตำนาน ศรัทธาในบุญ อันเกิดจากเราสร้าง ต้องเลือกซื้อหาอาหารชุด ของทำบุญ กับพระคุณเจ้า บริเวณหน้ากาดประตูเชียงใหม่ เผื่อจะมี ผู้อุปถัมภ์ค้ำชู พบพานสิ่งดีๆ ในชีวิต

ร่วมแสดงความคิดเห็น