ราชมงคลล้านนารุกหนักเปิดหลักสูตร บัณฑิตพันธุ์ใหม่ ราชมงคลล้านนา

ราชมงคลล้านนารุกหนักเปิดหลักสูตร บัณฑิตพันธุ์ใหม่ ราชมงคลล้านนา “อาชีพนำการผลิต ตอบสนองต่อ Demand Side” รองรับการศึกษารูปแบบใหม่ เน้นผลิตคนคุณภาพ จับมือ 3 หน่วยงานร่วมขับเคลื่อนโครงการ

วันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2561เวลา9.00น. มทร.ล้านนา ผศ.ประพัฒน์ เชื้อไทย รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา จัดพิธีเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเปิดบ้านราชมงคลล้านนา เปิดนิทรรศการแสดงผลงานการดำเนินงานรอบ 6 เดือน ของ 6 พื้นที่ และนิทรรศการ บัณฑิตพันธุ์ใหม่ ราชมงคลล้านนา “อาชีพนำการผลิต ตอบสนองต่อ Demand Side” หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนของ มทร.ล้านนา ในรูปแบบการผลิตที่ตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการและการพัฒนาประเทศ พร้อมทั้งจับมือ 3 หน่วยงาน สร้างความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนในการสานต่อการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ของ มทร.ล้านนา

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2 เมษายน 2561 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมีต่อราชมงคลล้านนา จึงได้จัดพิธีเทิดพระเกียรติถวายพระพรโดย ผศ.ประพัฒน์ เชื้อไทย รักษาราชการแทนอธิการบดี นำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาร่วมพิธีถวายพระพร และเปิดนิทรรศการฉับพลันนฤมิต ถวายพระพรชัยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

และร่วมเปิดนิทรรศการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ราชมงคลล้านนา“อาชีพนำการผลิต ตอบสนองต่อ Demand Side” ใน 15 รูปแบบการศึกษาแนวใหม่ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนเรียนรู้จากประสบการณ์และตอบโจทย์การพัฒนประเทศ New S-Curve โดยปรับเป้าหมายการรับผู้เรียนใหม่ด้วยหลักสูตรประเภท Degree และ Non-Degree แบบการเรียนที่เป็นทางการจะหมดไปผู้เรียนจะเรียนเฉพาะบางอย่างที่จะได้มาเติมเต็มความรู้และทักษะ ผู้สูงอายุจะได้เอารู้ที่มีมาRe-skill พร้อมทั้งผลงานเด่นของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยทั้ง4 คณะและ6พื้นที่การศึกษา

โอกาสนี้ มทร.ล้านนา ยังได้ลงนามความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการสานต่อการสร้างหลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ได้แก่ บริษัทพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกภาคเหนือ ในความร่วมมือด้านการสร้างเกษตรหัวไวใจสู้เพื่อการส่งออกซึ่งมีเป้าหมาย 4,700 ราย นำไปสู่การสร้างกลุ่มวิสาหกิจพัฒนาปรับปรุง ขยายพันธุ์ต้นกล้า จำนวน 500 ราย เพื่อสร้างและพัฒนาปรับปรุงโรงคัดแยกตามศักยภาพของเขตพื้นที่และส่งเสริมการส่งออกผลผลิตที่เข้าร่วมโครงการโดยตลาดซื้อขายล่วงหน้าโดยมีเป้าหมายการส่งออกมากกว่า 250,000 ตัน ตลอดโครงการ

สำนักงานปศุสัตว์เขต 5 ในความร่วมมือด้านพัฒนาองค์ความรู้ด้านการปศุสัตว์แก่บุคลากรทั้งสองฝ่ายรวมถึงสนับสนุนการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมตอบสนองต่อการผลิตสัตว์และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าไปฝึกประสบการณ์สหกิจศึกษาบริษัทสตรอง (ไทยแลนด์) จำกัด ในความร่วมมือการตั้งศูนย์ซ่อมและพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้ารวมถึงการผลิตและฝึกอบรมช่างซ่อม ทดสอบสมรรถนะรสบัสไฟฟ้าเพื่อพัฒนาต่อยอดในการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจซ่อมบำรุง

ร่วมแสดงความคิดเห็น