ฟื้นม่านเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละ

ฟื้นม่านเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละ เมืองเชียงใหม่ หรือ นพบุรีศรีนครพิงค์ เป็นศูนย์กลางการ ปกครองของอาณาจักรล้านนามาตั้งแต่สมัยของพญามังราย ผู้สืบ เชื้อสายมาจากลวจักรราช กษัตริย์แห่งเมืองหิรัญนครเงินยางเชียง แสน ก่อนที่จะมาสร้างเมืองเชียงใหม่ พระองค์ได้สร้างเมืองเชียงราย และปกครองอยู่ระยะหนึ่ง จึงย้ายมาอยู่ที่เมืองฝาง ต่อมาได้เข้าตี เมืองหริภุญไชย ซึ่งขณะนั้นพญายีบาปกครองอยู่ พญามังรายครอง เมืองหริภุญไชยอยู่ได้ 2 ปี จึงได้ย้ายมาสร้างเวียงกุมกามในเวลาต่อมา

ในปี พ.ศ.1839 จึงได้มาสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นศูนย์กลาง ของอาณาจักรล้านนา ในช่วงเวลากว่า 200 ปี (ระหว่างพ.ศ.1839-2101) อาณาจักรล้านนามีกษัตริย์ปกครองมาโดยตลอด กระทั้งปี พ.ศ. 2101 เมืองเชียงใหม่ได้เสียเอกราชให้แก่พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์ ของพม่า เมืองเชียงใหม่จึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่ามา นานร่วม 200 ปี
จนรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีร่วมกับพระเจ้ากาวิละ และพระยาจ่าบ้าน ทำศึกสงครามขับไล่พม่าออกจากล้านนาในปี พ .ศ. 2317 ซึ่งถือว่าช่วงเวลาดังกล่าวเป็นการทำสงครามแย่งชิงดิน แดนกันจนถึงปี พ.ศ. 2339 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สามารถขับไล่พม่าออก จากล้านนาได้สำเร็จและได้แต่งตั้งพระเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมือง เชียงใหม่ มีฐานะเป็นเจ้าประเทศราชขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ถือเป็นยุค ฟื้นม่านเมืองเชียงใหม่ อาณาจักรล้านนาในยุคฟื้นม่าน มีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อ มาอีก 8 องค์

จนถึงสมัยเจ้าแก้วนวรัฐ พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงได้โปรดให้ปฏิรูปการปกครองทั้ง หมดโดยให้ยกเลิกหัวเมืองประเทศราชในภาคเหนือเปลี่ยนการ ปกครองแบบมณฑล เรียกว่า มณฑลพายัพ กระทั่งปี พ.ศ.2476 รัช สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ปรับปรุง การปกครองเป็นแบบจังหวัด เชียงใหม่จึงมาฐานะเป็นจังหวัดหนึ่ง ของประเทศไทย ในช่วงเวลาของการฟื้นม่านเมืองเชียงใหม่ เกิด เหตุการณ์ต่างๆ ที่น่าสนใจมากมาย
อ.ไกรศรี นิมมานเหมินทร์ ได้ เขียนบทความเชียงใหม่ในอดีตกล่าวถึงการฟื้นม่านเมืองเชียงใหม่ สมัยนั้นว่า นับแต่พระยากาวิละ ซึ่งได้ร่วมกับเจ้าพระยาจักรีและ เจ้าพระยาสุรสีห์ แม่ทัพไทยกรุงธนบุรี ได้ช่วยกันขับไล่พม่าที่ครอง ในหัวเมืองต่างๆ ของล้านนาไทยจนหมดสิ้นไปแล้ว เมื่อเจ้าพระยา จักรีได้กระทำพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและได้ย้ายนครหลวงมาตั้งอยู่ที่บางกอก ตรงข้ามกับกรุงธนบุรี พระยากาวิละได้รับพระราชโองการให้นำไพร่ พลเข้ามาตั้งอยู่ในเมืองเชียงใหม่ เมื่อ ว.ศ.1146 (พ.ศ.2327) แต่ไม่สำเร็จเพราะกำลังคนที่จะเข้าไปอยู่และรักษาเมืองได้มีจำนวนไม่ เพียงพอกับนครซึ่งมีอาณาเขตกว้างใหญ่

พระยากาวิละจึงได้ขึ้นไป กวาดต้อนเอาคนที่มีชาติเชื้อ ภาษาและใช้ตัวหนังสือเช่นเดียวกับคน ไทยวนเชียงใหม่ ได้ผู้คนมาจากแคว้นสิบสองปันนา เมืองยองเชียงรุ่ง เชียงตุง มาเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นเผ่าไทลื้อ ไทยองและไทเขิน ให้เข้ามาอาศัยอยู่ในล้านนาเพื่อให้มาช่วยกันสร้างบ้านเมืองขึ้นใหม่ ซึ่งอาจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินทร์ ประมาณว่าปัจจุบันมีผู้สืบเชื้อ สายมาจากชาวไทลื้อ ไทยองและไทเขินในเชียงใหม่มีจำนวนเกือบ ร้อยละ 40 ส่วนที่จังหวัดลำพูนมีประมาณร้อยละ 70 บ้านเมืองซึ่งร่วงโรยโดยพม่าข้าศึกย่ำยีย่อยยับ บ้านกลายเป็นป่า นากลายเป็นพงรกร้าง เป็นด่านช้างดงเสือ หา กำลังไพร่พลเมืองมิได้ (คัดลอกจากข้อความของพระยาประชากิจ กรจักร ในพงศาวดารโยนก) เมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน ก็ค่อยๆ มีผู้คนหนาแน่นขึ้น
ในตอนนี้เป็นระยะเวลาที่สร้างบ้านเมือง ขึ้นใหม่ เรียกว่า “ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” เมืองเชียงใหม่ที่ร้าง ไปแล้วนั้นก็กลับตั้งขึ้นมาใหม่ได้สำเร็จในวันพฤหัสบดี ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 6 เหนือ เดือน 4 ใต้ ปีมะโรง อัฐศกจุลศักราช 1158 (พ.ศ.2339) นครเชียงใหม่ก็เริ่มกลับเข้าสู่สภาวะเดิม เป็นศูนย์กลางความเจริญ ด้านเศรษฐกิจ การเมือง ศาสนาและวัฒนธรรมของล้านนา พระยากาวิละ ได้รับบำเหน็จความดีความชอบด้วยการ สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าประเทศราชเมื่อ พ.ศ. 2345 เรียกว่า “พระ เจ้ากาวิละ” ตั้งแต่นับมา

บทความโดย จักรพงษ์ คำบุญเรือง

ร่วมแสดงความคิดเห็น