ผวากลัวขึด! ไม่เปลี่ยนแปลง “วันเน่า-วันพญาวัน” ตามสภาวัฒนธรรม จ.เชียงใหม่ ต่างยังถกเถียงสับสนกัน

ประชาชนชาวเหนือล้านนา ยังยืนยันยึดถือประเพณีปี๋ใหม่เมืองดั้งเดิม แม้พระผู้ใหญ่วัดดังในเมืองเชียงใหม่ งไม่เปลี่ยนตาม แนะเอารัฐบาลว่า หากปฎิทินกลางของทางราชการ ระบุตามปฎิทินล้านนาก็จะยึดถือตามนั้น

ปฎิทินของทางราชการได้ระบุไว้ว่า เทศกาลวันสงกรานต์ หรือชาวเหนือล้านนาเรียกว่าปี๋ใหม่เมือง คือวันที่ 13 เมษายน เป็นวันสงกรานต์/วันผู้สูงอายุ วันที่ 14 เมษายน วันสงกรานต์/วันครอบครัว วันที่ 15 เมษายน วันสงกรานต์ วันที่ 16 เมษายน วันหยุดชดเชยวันสงกรานต์ 1 วัน (16 เม.ย.)ทางคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติประกาศเพิ่มวันหยุดราชการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ เป็นเวลา 5 วัน โดยเริ่มหยุดตั้งเเต่วันที่ 12 เมษายน จนถึงวันที่ 16 เมษายน 2561 เพื่อให้ประชาชนได้เดินทางกลับภูมิลำเนา พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจเเละกระตุ้นการท่องเที่ยวทั่วประเทศนั้น

ปฏิทินราชการ

ส่วนทางสภาวัฒนธรรม จ.เชียงใหม่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และเครือข่ายทางวัฒนธรรม ในฐานะผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรม ตระหนักรู้และให้ความสำคัญกับการเผยแพร่คุณค่า และความหมายเชิงพิธีกรรม ที่กำลังจะเกิดความไม่เข้าใจที่ผิดเพี้ยน ได้รณรงค์ขับเคลื่อนเรื่องการปฏิบัติให้ถูกต้องใน”วันพญาวัน” ซึ่งตรงกับวันที่ 16 เมษายน เบื้องต้นให้มีผลครอบคลุมใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนก่อน ดังนั้นจึงมีการรณรงค์ขับเคลื่อนกำหนดวันพญาวันให้ถูกต้องตามปฏิมทินโหรหลวง และโหราจารย์ล้านนา ด้วยการปฏิบัติตามวัน เดือน ปีทางสุริยคติและจันทรคติ ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ และเพื่อผลักดันให้ทางราชการ กำหนดวันหยุดตามปฏิทินของทางราชการให้ถูกต้อง คือ 14-15-16 เมษายน

ปฏิทินล้านนา

ประเพณีล้านนาได้มีการกำหนดวันปี๋ใหม่เมือง ตามการเคลื่อนของดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษ โดยในวันแรก เรียกว่า วันสังขารล่อง และวันที่ 2 เรียกว่า วันเนาว์ หรือ วันเน่า ส่วนในวันที่ 3 เรียกว่า วันพญาวัน หรือ วันเถลิงศก ซึ่งวันดังกล่าวได้เคลื่อนไปตรงกับวันที่ 14,15 และ 16 เมษายน มาตั้งแต่ พ.ศ. 2556 แล้ว แต่ทางราชการยังกำหนดวันหยุดราชการตายตัวเหมือนเดิม ทำให้การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตามประเพณีขึ้นปีใหม่ไทยผิดแผก ไม่เป็นการถูกต้อง และยังใช้ความเคยชินกับวันแบบเดิม แทนที่จะไปวัดวันพญาวัน แต่กลับไปวัดวันเน่า จึงถือว่าไม่เป็นมงคลต่อตนเอง และบ้านเมือง

เกี่ยวกับเรื่องนี้”เชียงใหม่ออนไลน์”ได้เสนอข่าวมายังต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลง”วันเน่ากับวันพญาวัน”สร้างความสับ สนให้กับชาว จ.เชียงใหม่ และตามจังหวัดอื่นๆเป็นอย่างมาก ว่าจะปฎิบัติแนวไหนกันดีระหว่างประเพณีดั้งเดิมที่ยึดถือปฎิบัติกันมายาวนาน กับการเปลี่ยนแปลงใหม่ จึงทำให้เกิดแบ่งเป็น 2 ฝ่าย กับเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จากการสอบ ถามของผู้สื่อข่าวฯ จากชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่เอาด้วย ต่างก็”กลัวขึด”จะยึดถือประเพณีดั้งเดิมไว้

“รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลแห่งหนึ่ง ใน อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ให้ความเห็นว่าใครจะปฎิบัติตาม สภาวัฒนธรรมจ.เชียงใหม่ก็ตามใจ ส่วนตนนั้นขอยึดถือประเพณีดั้งเดิมเอาไว้ก่อนเช่นกัน เพราะได้ปฎิบัติมาตั้งแต่ปู่ยาตายายแล้ว”

ส่วนทางพระครูเจ้าอาวาสวัดดังแห่งหนึ่ง ย่านถนนพระปกเกล้าในตัวเมืองเชียงใหม่ กล่าวว่าเรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับประชา ชน มีสิทธิ์ที่จะปฎิบัติตามสภาวัฒนธรรมเชียงใหม่ หรือจะยึดถือประเพณีดั้งเดิมก็ไม่ว่ากัน ในส่วนตัวของอาตมาจะยึดถือประเพณีดั้งเดิมไว้เช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะเปลี่ยนแปลงต้องขึ้นกับรัฐบาล ต้องระบุในปฎิทินกลาง ตามปฎิทินเมืองเหนือล้านนาก่อน

เสน่ห์ นามจันทร์/รายงาน

ร่วมแสดงความคิดเห็น