“น้ำตกบัวตอง-น้ำพุเจ็ดสี”ดุจเพชรเม็ดงามของชาวแม่แตง-พร้าว

“น้ำตกบัวตอง-น้ำพุเจ็ดสี”ดุจเพชรเม็ดงามของชาวแม่แตง-พร้าว นักท่องเที่ยวไทย-เทศ หลั่งไหลกันไปสัมผัสไม่ขาดสาย
เส้นทางไปวนอุทยานน้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ดสี ตั้งอยู่ถนนสายเชียงใหม่-พร้าว หลักกิโลเมตรที่ 48-49 ในท้องที่หมู่ที่8 ต.แม่หอพระ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ มีทางแยกขวามือเข้าไปวนอุทยานน้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ดสี อีกประมาณ 2.6 กิโลเมตร เมื่อไปถึงจะมีที่ทำการของเจ้าหน้าที่วนอุทยานฯมีสนามหญ้ารายล้อมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ บรรยากาศร่มรื่นเย็นสบาย บริเวณใกล้ๆนั้นมีน้ำตกบัวตอง หลายชั้นลดหลั่นกันไปมีน้ำแร่ธรรมชาติไหลผ่านโขดหินปูนที่ขาวโพลน มีลักษณะแต่ละก้อนสวยงามมาก

“น้ำตกบัวตอง จึงมีนักท่องเที่ยวชาวไทย ชาวต่างชาติ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่นิยมมาเล่นน้ำตกกันเป็นจำนวนมาก เพราะน้ำตกบัวตองความสูงไม่มากนัก น้ำแร่ที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตไหลผ่านไปเกาะเคลือบโขดหิน จึงเป็นโขดหินปูนเป็นธารหินปูนแข็งไม่มีความลื่น สามารถเดิน หรือปีนป่าย เล่นน้ำแล้วไม่เกิดอันตราย”

ส่วนต้นน้ำของน้ำตกบัวตองไหลมาจากน้ำพุเย็น ที่อยู่เหนือขึ้นไปห่างกันประมาณ 100 เมตร ที่พุ่งออกจากใต้ดินตลอดทั้งปี เป็นแอ่งน้ำใสเกิดประกายสีรุ้ง เมื่อกระทบแสงอาทิตย์ จึงเรียกกันว่า”น้ำพุเจ็ดสี” เป็นแหล่งพักผ่อนที่แท้จริงและยังอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่เท่าใดนัก
สำหรับตำนานน้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ดสี ในอดีตกาลยังมีเมืองเมืองหนึ่งได้ทำศึกสงครามรบราฆ่าฟันกันเพื่อแย่งความเป็นใหญ่ในแคว้นล้านนาตอนบน ซึ่งมีเจ้าเมืองและพระมเหสีถูกสังหารเสียชีวิต เหลืออยู่แต่พระธิดา 2 พระองค์ คือ พระธิดาบัวแก้ว – พระธิดาบัวตอง และมีขุนผาดำคนสนิทของเจ้าเมืองที่พาพระองค์ทั้ง 2 พระองค์หลบหนีพร้อมกันนี้กันได้รวบรวมพลเมืองและชาวบ้านที่รอดตายหนีล่นลงมาทางใต้ เพื่อให้รอดพ้นจากการติดตามของข้าศึก

จนกระทั่งมาพบถ้ำแห่งหนึ่งเห็นว่ามีความปลอดภัยดี จึงให้พระธิดาทั้ง 2 พระองค์อาศัยอยู่ในถ้ำพร้อมด้วยบริวารและคนรับใช้ของพระธิดา ซึ่งถ้ำดังกล่าว ปัจจุบันเรียกว่า “ถ้ำบัวตอง” ส่วนพวกชาวบ้านที่อพยพมาพร้อมกับพระธิดาทั้ง 2 พระองค์ก็ได้ปลูกกระต๊อบอยู่รอบๆทางด้านหน้าถ้ำและหลังถ้ำ เพราะเป็นพื้นที่ที่มักแก่การเพาะปลูก ซึ่งบริเวณที่พวกนางอาศัยอยู่นั่นยังขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ พระธิดาทั้ง 2 พระองค์จึงได้อธิฐานขอให้เทวดาเนรมิตให้เกิดแหล่งน้ำใกล้ๆกับที่อยู่ของนางและได้เนรมิต “ตาน้ำพุ” เกิดขึ้นข้างๆเขาทางทิศใต้ ปัจจุบันอยู่หลังวัดถ้ำบัวตอง
ส่วนทางด้านทิศตะวันออกของปากถ้ำ ยังมีถ้ำเล็กๆ อีกถ้ำหนึ่งลึกลงไปเป็นทางแคบๆแต่พอลงไปถึงด้านล่างจะเป็นบริเวณกว้างและจัดให้เป็นโรงครัวของพระธิดาบัวแก้ว-บัวตอง เมื่อก่อนชาวบ้านยังเล่ากันว่า ยังเห็นข้าวของเครื่องใช้ เครื่องครัว หม้อ ถ้วย จาน ยังมีอยู่ แต่ภายหลังชาวบ้านที่ไม่รู้คุณค่าของเก่าก็ได้ลักขโมยออกไปขายกันหมด ส่วนในถ้ำประมาณ 50 ปี ที่ผ่านมายังมีเรือพร้อมไม้พายอยู่ข้างบนถ้ำส่วนด้านในยังมีพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเกาะสลักไม้อยู่เต็มลำเรือ ปรากฏว่ามีคนใจบาปแอบลักขโมยไปขายจนหมดซึ่งปัจจุบันไม่เหลือให้เห็นอีกเลยและชาวบ้านเล่าลือกันว่า ผู้ที่ขโมยของมีค่าออกไปนั้นจะต้องมีอันเป็นไปถึงแก่ชีวิตทุกคน

ส่วนทางด้านท้ายที่พระนางอาศัยอยู่ ยังมีถ้ำยังแห่งหนึ่งมีลักษณะพิเศษมีรูปร่างเป็นหัวช้างและมีงวงคล้ายงวงช้าง ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ถ้ำงวง” ชาวบ้านเรียกขานกันว่าที่ตรงบริเวรนั้นเคคยเป็นโรงช้างหรือที่ผูกช้างมีก่อน ปัจจุบันส่วนที่เป็นงวงช้างได้ถูกทำลายจนไม่เหลือลักษณะของหัวช้างให้เห็นเหมือนแต่ก่อน

ส่วนขุนผาดำและบริเวณอีกชุดหนึ่งได้ไปสร้างที่พักอาศัยอยู่ที่ริมเขาอีกลูกหนึ่งซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ดอยผาดำ” จากนั้นมาถึงปัจจุบัน ต่อมาขุนผาดำได้สร้างอุทยานและสวนดอกไม้ให้พระธิดาทั้ง 2 พระองค์และบริวารของพระนางให้พักผ่อนหย่อนใจ (ปัจจุบัน คือ ลานจอดรถในบริเวณอุทยานน้ำตกบัวตอง) แต่บริเวณนั้นไม่มีน้ำ พระธิดาทั้ง 2 พระองคืจึงได้อธิฐานให้มีแหล่งน้ำเพื่อให้ได้อาบหรือเล่นเมื่อยามอากาศร้อน เทวดาจึงได้ให้พระแม่ธรณีแทรกแผ่นดินให้เป็นธารน้ำใต้ดินซึ่งต้องอาศัยภูเขา 5-6 ลูก คือ เขาสามเส้า จำนวน 3 ลูก , เขาห้วยบง , เขาดงไม้ฮ่างหรือเขาผาตั้ง เมื่อรวมกันแล้วให้มาโผล่ขึ้นที่เหลืออุทยานเป็น “น้ำพุ” ขนาดใหญ่ที่พุแรง (ปัจจุบันเรียกว่า “น้ำพุเจ็ดสี” และเทวดาได้จัดให้กุมภัณฑ์ดูแลน้ำพุเพื่อมิให้ใครเข้าใกล้ กลัวว่าน้ำจะขุ่นมัวและบริเวณน้ำพุนั้นเรียกว่า ” หนองผีฮ้าย” หรือ (ผีดุ) ซึ่งสมัยก่อนนั้นไม่มีใครเข้าไปกล้ำกลายในบริเวณน้ำพุนั้นเพื่อไหลลงมากลายเป็นน้ำตกที่สวยงามและกว้างประมาณ 10 เมตร (ปัจจุบัน เรียกว่า น้ำตกบัวตอง) เดี๋ยวนี้บริเวณน้ำพุ และน้ำตกมีน้ำลดลงมากเพราะเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า ส่วนด้านข้างของอุทยานทิศตะวันตกหรือหลังสำนักงานลงไป เทวดาได้เนรมิตให้เป็นกำแพงกั้นอุทยาน ปัจจุบันนี้เรียกว่า “เวียงผา” จนถึงปัจจุบันและอีกบริเวณหนึ่งที่ติดกับเวียงผาสันนิฐานว่าเป็นเจดีหรือวัด มีกู่ที่ใส่อัฐิของบุคคลสำคัญ ปัจจุบันมีแต่วัตถุโบราณวัตถุหลงเหลืออยู่ ชาวบ้านเรียกว่า “ม่อนธาตุ” แต่ไม่ทราบว่าสร้างในสมัยใด
พระธิดาบัวแก้ว-บัวตอง ซึ่งตอนที่หนีมานั้นมีสมบัติติดมามาก และมีปลิงทองคำอยู่ 2 ตัว ซึ่งพระนางผู้พี่ได้เอาปลิงทองคำไปฝังไว้ที่ใต้ต้นชมพู่ป่า ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า “ หนองปลิงหลวง” ด้านพระนางผู้น้องได้นำไปฝังที่ต้นชมพู่อีกด้านหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า “ หนองปลิงน้อย ” ตรงที่พระนางนำปลิงไปฝังไว้นั้น กลายไปตาน้ำพุไหลออกมาเป็นหนองน้ำใหญ่ทั้ง 2 แห่ง ชาวบ้านที่เก็บหาของป่าไปเจอน้ำพุจะเห้นปลิงทองคำออกมาแหวกไหวเล่นน้ำ เมื่อเข้าไปใกล้ๆปลิงทองก็จะรีบมุดลงรูตาน้ำพุไป ตอนนั้นหนองปลิงทั้งสองมีความศักดิ์สิทธิ์มาก ถ้าวันใดคืนใดชาวบ้านในหมู่บ้านหรือตำบลใกล้เคียง (แม่หอน้ำ) ได้ยินเสียงครางกระหึ่ม แผ่นดินสั่นสะเทือนติดต่อกันหลายครั้ง เนื่องจากปลิงในหนองน้ำครางปรากฏการณ์นี้ชาวบ้านจึงเรียกว่า “หนองปลิงคราง” และชาวบ้านก็จะร้ทันทีว่าจะต้องมีฝนตกหนักชาวบ้านจะต้องรีบเก็บข้าวของไว้ในที่สูงๆ และเมื่อชาวบ้านได้ยินเสียงปลิงครางทุกครั้งก็จะต้องเกิดปรากฏการณ์อย่างนี้ทุกครั้งไป

พระธิดาทั้ง 2 พระองค์ ทรงโปรดสุนัขมากจึงได้เลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว ต่อมาสุนัขจ่าฝูงของพระนางเกิดเป็นโรคสุนัขบ้า สุนัขได้ไล่กัดบริเวณของพระนางและพระนางก็เกิดกลัวโรคจะแพร่ระบาดจึงได้ให้เสนาคนเลี้ยงฆ่าและนำไปฝังที่ทางทิศใต้ใกล้กับห้วยแห่งหนึ่ง ห้วยนี้จึงได้ชื่อว่า “ห้วยหมาบ้า” ปัจจุบันเรียกกันว่า “ห้วยป่าบ้า”

อยู่มาวันหนึ่งขุนผาดำ ได้พาพระธิดาทั้ง 2 พระองค์ไปเที่ยวบึงน้ำซับเพื่อชมนกชมไม้ บึงนี้เป็นบึงโคลนดูด มีสิงสาราสัตว์เกิดมาตกบึงโคลนดูดนี้ก็จะถูกดึงหายไป พระนางบัวแก้วผู้พี่ได้เดินไต่ขอนไม้เพื่อเดินข้ามบึงน้ำซับ จึงลื่นตกบึงซึ่งมีโคลนดูดพระนางบัวแก้วได้คว้าต้นหวายที่อยู่ใกล้ๆมือ ต้นหนึ่งแต่ทนแรงดูดของโคลนในบึงไม่ไหว หวายเลยขาดร่างของพระนางบัวแก้วจมหายไปต่อหน้าต่อตาของขุนผาดำ และพระนางบัวตอง โดยไม่มีใครสามารถช่วยเหลือทันและบึงแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า “โล๊ะหวายขาด” แต่ปัจจุบันชาวบ้านเรียกเพี้ยนไปว่า “โล๊ะหวายฝาด” บริเวณบึงน้ำซับแห่งนี้

เสน่ห์ นามจันทร์ : รายงาน

ร่วมแสดงความคิดเห็น