พะเยา ประเพณี ดำหัวใส่สะตวง ล้านนาสืบทอดกันมากว่า 100 ปี

วันที่ 16 เม,ย. 61 ผู้สื่อข่าวได้ติดตาม ชาวบ้าน ต.แม่ใส อ.เมือง จ.พะเยา ที่ร่วมกันตกแต่งสะตวงซึ่งเป็นประเพณีล้านนาที่สืบทอดกันมากยาวนานกว่า 100ปี เป็นวันปากปี หรือ วันเริ่มต้นปีใหม่ จะมีการประกอบพิธี สะเดาะเคราะห์ ส่งเคราะห์ ส่งสะตวง และการดำหัว ใส่สะตอง ซึ่งเป็นพิธีทำสำคัญ คือการเอาน้ำส้มป่อย ปะพรหม สลัด ลงบนศีรษะเพื่อขับไล่เสนียดจัญไร ก่อให้เกิดสิริมงคล กับตัวตน

นอกนั้นมีจะพิธีส่งเคราะห์ คือ แต่ละบ้านหรือแต่ละครอบครัวจะนำเสื้อผ้า น้ำส้มป่อย และ กุ้งหอย ปู ปลา นำมาทำพิธีที่วัด โดยพิธีกรรมการส่งเคราะห์ จะเริ่ม ส่งเคราะห์ในแต่ละทิศ โดยการนำสะตวง ไปวางไว้ในแต่ละทิศจนครบทั้ง 4 ทิศ ก็จะเริ่มพิธีการส่งเคราะห์ โดยชาวบ้านผู้ร่วมในพิธีจะนำน้ำขมิ้นส้มปล่อยมาปะพรมที่ศีรษะของตนเองพร้อมกับสะบัดลงไปที่สะตวงจนครบทั้ง ๙ สะตวง ถือเป็นการส่งเคราะห์ของตนเองลงไปในสะตวง ดังกล่าว

นายห่วง ยะนา อายุ 65 ปี ไวยาวัจกร วัดแม่ใส อ.เมือง จ.พะเยา กล่าวว่า การดำหัว ใส่สะตวงเป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณ รุ่นปู่ย่า ตา ยาย มักจะนิยมทำกัน ในช่วงวันปากปีของวันสงกรานต์ การดำหัวใส่สะตวง ของวัดแม่ใส ยังคงรักษาประเพณีนี้สืบทอดกันมาเช่นลูกเช่นหลาน ดำหัวใส่สะตวง คือชำระสิ่งสกปรกออกจากศีรษะ อีกหนึ่ง ความหมายเชิงความเชื่อ โดยเฉพาะชาวล้านนาเชื่อว่าเป็นการชำระสิ่งอัปมงคลได้ด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น