กู่บรรจุอัฐิเจ้าผู้ครองนครลำพูน

 คำว่า “เจ้าหลวง” หรือ “เจ้าผู้ ครองนคร” เป็นคำที่ใช้เรียกผู้นำสูงสุดที่ ปกครองหัวเมืองเอก เช่น เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน มีฐานะเป็นเจ้าชีวิต ของคนทั่วไปในรูปแบบที่เป็นชีวิตที่ใกล้ เคียงกับชีวิตกษัตริย์ เพียงแต่ย่อส่วนให้ พอสมกับฐานะ ผู้ที่จะเป็นเจ้าหลวงต้อง ได้รับการยินยอมจากเหล่าเจ้านายและ จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากราชสำนัก กรุงธนบุรีหรือกรุงรัตนโกสินทร์เท่านั้น

ตำแหน่งเจ้าหลวงในเชียงใหม่ เริ่มขึ้นในสมัยพญาจ่าบ้าน (บุญมา) หลังจากที่พญาจ่าบ้านได้ร่วมกับพระ เจ้ากาวิละขับไล่พวกพม่าพ้นไปจาก ล้านนาแล้ว พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนาพญาจ่าบ้านเป็นพระยา เชียงใหม่ ซึ่งนับเป็นเจ้าหลวงองค์แรก แห่งนครเชียงใหม่ แต่เวลานั้นพญาจ่าบ้านก็มิได้ครองเชียงใหม่ด้วยมีไพร่พล น้อยเกินกว่าจะดูแลเมืองเชียงใหม่ที่ถูกทิ้งร้างมานานได้

จนมาในสมัยของพระเจ้ากาวิละแห่งตระกูลเจ้าเจ็ดตน บทบาทและอำนาจหน้าที่ของเจ้าหลวงก็เริ่มชัดเจนขึ้น อาทิ การขึ้นเป็นเจ้าหลวงจะต้องผ่านพิธี ตามโบราณราชประเพณีแต่ครั้งราชวงศ์ มังรายคือ พิธีราชาภิเษกและพิธีถือน้ำ พระพิพัฒน์สัตยา การได้รับเครื่องยศอัน เป็นเสมือนเครื่องราชูปโภคที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ไทย การแสดงบทบาทเป็นผู้นำการสู้รบในยาม ศึกสงครามและยามบ้านเมืองสุขสงบ ก็ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เป็นองค์อุปถัมภ์แต่งตั้งพระสงฆ์ตั้งแต่ตำแหน่ง สังฆราชลงมา ในด้านชีวิตความเป็นอยู่ แสดงสถานะที่เหนือกว่าผู้คนอื่น ๆ ใน บ้านเมือง จำลองชีวิตจากราชสำนัก กรุงเทพฯ มีที่อยู่เรียกว่า “คุ้ม” ซึ่งต่อมา เป็นศูนย์กลางความเจริญต่าง ๆ ทั้งใน ด้านศิลปะและวัฒนธรรม นับตั้งแต่ได้มีการสถาปนา ระบบเจ้าผู้ครองนครขึ้นเป็นครั้งแรกใน รัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งตรงกับสมัย ของพระเจ้ากาวิละ เมื่อปี พ.ศ.2317 มี เจ้าหลวง หรือ เจ้าผู้ครองนคร ปกครอง หัวเมืองในล้านนามาแล้วหลายสิบพระองค์

ภายหลังที่เจ้าผู้ครองนครเหล่า นี้ได้ถึงแก่พิราลัยไปแล้ว เจ้าหลวงองค์ ต่อมาก็ได้มีการสร้างกู่บรรจุอัฐิไว้เพื่อให้ ลูกหลานในสายสกุลได้กราบไหว้บูชา กู่ บรรจุอัฐิของเจ้าหลวงเชียงใหม่และเจ้า นายในสายสกุล ณ เชียงใหม่ ประดิษฐานอยู่ภายในวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนกู้บรรจุอัฐิของเจ้า หลวงลำพูนและเจ้านายในสายสกุล ณ ลำพูน ประดิษฐานไว้ที่บริเวณริมคูเมือง ด้านทิศใต้ของสำนักงานประปา จังหวัดลำพูน โดยครั้งแรกนั้นเจ้าหลวง จักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10 ได้สร้างกู่บรรจุอัฐิของเจ้าพ่อ เจ้าปู่ และเจ้าทวดของท่าน รวม 3 กู่ ใน ที่ดินระหว่างแม่น้ำกวง ตำบลบ้านหลวย อำเภอเมือง ในช่วงฤดูน้ำหลาก น้ำแม่กวง ได้เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบริเวณที่สร้างกู่ ทำให้เจ้าหลวงไม่สามารถเข้าไปทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษในบริเวณ กู่ได้ ท่านจึงได้ย้ายกู่บรรจุอัฐิทั้งหมด มาสร้างใหม่บนที่ดินฝั่งตรงข้ามของถนน ซึ่งเป็นที่สูง น้ำท่วมไม่ถึง หลังจากที่เจ้า หลวงจักรคำขจรศักดิ์ได้ย้ายกู่ขึ้น มาสร้างใหม่แล้ว ท่านยังได้อนุญาตให้ สร้างกู่บรรจุอัฐิของเจ้านายในสายสกุล ณ ลำพูนเพิ่มขึ้นอีกหลายกู่ เมื่อเจ้า หลวงจักรคำฯ ถึงแก่พิราลัยแล้ว เจ้า พงศ์ธาดา ณ ลำพูน ในฐานะราชบุตร องค์โตได้เข้ามาดูแลบำรุงรักษาสถานที่ แห่งนี้จนถึงแก่อนิจกรรม ในช่วงเวลาที่ เจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูนดูแลรักษากู่อยู่ นั้นก็ได้มีการสร้างกู่เพิ่มเติมสำหรับเจ้าพี่ เจ้าน้อง ในสายสกุล ณ ลำพูนที่วายชนม์ ไปแล้วอีกหลายกู่ด้วยกัน รวมจำนวนทั้ง สิ้น 22 กู่ กว่า 70 ปีที่ได้มีการสร้างกู่ บรรจุอัฐิเจ้าหลวง ได้ทรุดโทรมลงตาม กาลเวลา กำแพงมีรอยร้าว ปัจจุบันกู่ บรรจุอัฐิเจ้าหลวงลำพูน ได้รับการบูรณะ ขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2549 โดยญาติพี่น้อง เชื้อสายสกุล ณ ลำพูน บทความโดย จักรพงษ์ คำบุญเรือง

ร่วมแสดงความคิดเห็น