“เตวะบุตรโหลง” ศูนย์รวมใจ ของคนยองเมืองลำพูน

“เตวะบุตรโหลง” ศูนย์รวมใจ ของคนยองเมืองลำพูน เป็นเวลากว่า 200 กว่าปีมา แล้ว ที่พระเจ้ากาวิละได้กวาดต้อนกลุ่ม ชาวไตลื้อจากเมืองสาด เมืองยอง เมือง ปัน เมืองปุ เมืองหาง เมืองต่วน อันถือ เป็นช่วงเวลาของการ “เก็บผักใส่ซ้า เก็บ ข้าใส่เมือง” พระเจ้ากาวิละได้รวบรวมผู้ คนไพร่พลจากเมืองลำปาง 300 คนมา สมทบกับกำลังของพญาจ่าบ้านที่เวียง สะแกงอีก 700 คน มาตั้งมั่นที่เวียง ป่าซางเป็นเวลากว่า 14 ปี
จนถึงปี พ.ศ .2339 พระเจ้ากาวิละจึงสามารถเข้าไป ตั้งมั่นที่เมืองเชียงใหม่ได้ เมื่อพระเจ้ากาวิละเข้าไปตั้ง มั่นที่เมืองเชียงใหม่แล้ว ได้มีความ พยายามที่จะขับไล่อิทธิพลของพม่าให้ ออกไปจากล้านนา ในปี พ.ศ.2345 เริ่มตี เมืองเชียงตุงและเมืองสาดสำเร็จ ต่อมา ในปี พ.ศ.2347 ได้เข้าตีเมืองเชียงแสน โดยกองทัพผสมจากเมืองเชียงใหม่ กรุงเทพฯ ลำปาง เวียงจันทน์และเมือง น่าน ชาวเมืองเชียงแสนถูกจับเป็น เชลยจำนวนมากและได้แบ่งเชลยออก เป็น 5 ส่วนกวาดต้อนไปไว้ตามเมืองต่าง ๆ หลังจากที่ได้รับชัยชนะจาก เมืองเชียงแสนแล้ว กองทัพจากเมือง เชียงใหม่ได้ขึ้นไปกวาดต้อนไพร่พลตาม เมืองต่าง ๆ ที่อยู่ทางเหนือเมืองเชียงแสน โดยเข้าไปกวาดต้อนที่เมืองยอง เมืองยู้ เมืองหลวย เมืองเชียงตุง เมืองเชียงขาง เมืองวะ เมืองลวง เมืองมาง เมืองปัน เมืองปุ ฯลฯ ตามนโยบายของพระเจ้ากา วิละที่ต้องการไพร่มาฟื้นฟูเมืองที่รกร้าง

อีกประการหนึ่งเพื่อไม่ให้พม่าใช้เป็นฐาน ที่มั่นมาโจมตีล้านนาอีก การกวาดต้อนผู้คนครั้งใหญ่ ในประวัติศาสตร์ล้านนา ทำให้เกิดการ ตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ในเขตเมือง เชียงใหม่และลำพูนของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ โดยกำหนดประเภทของไพร่ที่ ถูกกวาดต้อนมา หากเป็นช่างฝีมือหรือ ไพร่ชั้นดีจะกำหนดให้อยู่ในเมือง เช่น ชาวเขินที่หายยาอพยพมาจากเมือง เชียงตุงมีความเชี่ยวชาญการทำเครื่อง เขินให้มาอยู่เชียงใหม่ระหว่างกำแพง เมืองชั้นนอกและชั้นในด้านทิศใต้ ชาว ยวนบ้านฮ่อมที่เชี่ยวชาญการทำดอกไม้ กระดาษอยู่ระหว่างกำแพงเมืองชั้นนอก และชั้นในด้านทิศตะวันออก กลุ่มไตหรือ ไทใหญ่เชี่ยวชาญด้านการค้าอยู่บริเวณ ช้างเผือกและช้างม่อย ส่วนไพร่ที่ไร้ฝีมือ จะให้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่นอกเมืองและมี ชาวยอง(กลุ่มคนที่มาจากเมืองยอง)บาง
ส่วนให้อพยพเข้ามาอยู่ในลำพูน ปี พ.ศ.2348 เมื่อเมืองลำพูน ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ ภายหลังที่คน จากเมืองยองถูกกวาดต้อนมาอยู่มี พระยาบุรีรัตน์คำฝั้น อนุชาของพระเจ้า กาวิละมาครองเมืองเป็นองค์แรก เจ้า บุญมาน้องคนสุดท้ายของตระกูลเจ้า เจ็ดตนเป็นพระยาอุปราชเมืองลำพูน การแบ่งไพร่พลคนจากเมืองยองในการ ตั้งถิ่นฐานที่ลำพูน เจ้าหลวงคำฝั้นเจ้า เมืองลำพูนให้พญามหิยังคบุรี เจ้าเมือง ยองและน้องอีก 3 คนตั้งถิ่นฐานบ้าน เรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกวงด้านทิศตะวัน ออกติดกับเมืองลำพูนที่บ้านเวียงยอง ให้ผู้คนที่อพยพมาจากเมืองยู้ เมืองหลวย ตั้งถิ่นฐานอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศ ตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้ชุมชนเหล่านี้มี หน้าที่ทอผ้าให้กับเจ้าเมืองลำพูน

คนยองแห่งบ้านเวียงยอง จึง นับเป็นชุมชนชาวยองที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้ เวียงลำพูนมากที่สุด คนยองเหล่านี้ยัง คงสืบทอดวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ของคนยองมาแต่โบราณกาล ได้แก่ การ สร้างบ้านแปงเมืองอันนับเป็นการจำลอง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนยองรวมถึง การตั้งชื่อหมู่บ้านตามหมู่บ้านเดิม เช่น บ้านตอง บ้านหลุก บ้านยู้ บ้านหลวย เป็นต้น นอกจากนี้คนยองในเมืองลำพูน ยังได้สร้างวัดหัวข่วง หรือ “วัดหัวข่วงนาง เหลียว” ภายหลังได้เรียกมาเป็น “วัดหัว ขัว” อันเปรียบเสมือนศูนย์รวมใจของคน ยอง และยังเป็นสัญลักษณ์ของวัดหลวง ประจำเมืองยองอีกด้วย
ดังนั้น วัดหัวข่วงนางเหลียว หรือ วัดหัวขัว จึงเป็นวัดสำคัญ ดังจะเห็น ได้จากมีเจ้านายเชื้อสายเมืองยองได้มา บรรพชาอุปสมบทที่วัดแห่งนี้ รวมถึงเมื่อมี เจ้านายเชื้อสายยองได้ถึงแก่อนิจกรรมลง ได้มีการนำเอาอัฐิมาบรรจุไว้ที่วัดหัวขัว นอกจากนั้นวัดหัวขัว ซึ่งถือเป็นวัดหลวง ของคนยอง วัดนี้ยังมีการยึดถือปฏิบัติ ประเพณีความเชื่อของชาวยองที่ดู เหมือนว่าจะแตกต่างจากความเชื่อของ คนเมืองลำพูนก็คือ การตั้งศาลเทวบุตร หลวง หรือ เตวะบุตรโหลง ความเชื่อใน การนับถือผีของชาวยองที่มีแต่ดั้งเดิมนั้น มี 2 ชนิดคือ “ผีดี” และ “ผีร้าย” ผีร้าย หมายถึง ผีกะ ผีปอบ ซึ่งปัจจุบันหมดไป จากความเชื่อในสังคมคนยอง ส่วนผีดี นั้นได้แก่ เตวะบุตรโหลง ซึ่งจะคอยปก ป้องคุ้มคอยให้อยู่เย็นเป็นสุข การอัญเชิญเอาองค์เทวบุตร หลวง หรือ “เตวะบุตรโหลง” จากเมือง ยองมาไว้ที่วัดแห่งนี้ โดยได้สร้างเป็นหอ เทวบุตรหลวงขึ้น

ตามตำนานกล่าวถึง เมื่อครั้งพระยาสุลังควุฒิ ได้สร้างพระ ธาตุจอมยองเสร็จแล้ว ได้โปรดให้มีการ เฉลิมฉลองครั้งใหญ่ พระยาอินทร์ได้ อาณัติให้เทวบุตร 4 ตนให้มาดูแลรักษา พระธาตุ “ครั้นว่าบุคคลใดหรือคฤหัสถ์ และนักบวชก็ดี และปมาทะอนาตระเบ่า คบยำดั่งอั้น สูท่านทั้งหลาย จู่งทำ อันตรายแก่เขาฝูงนั้นเทอะ ดั่งเทวบุตรสี่ ตน ตนหนึ่งชื่อ สุรัณณ ตนหนึ่งชื่อ มหิยัง คะ ตนหนึ่งชื่อ ลักขณะ ตนหนึ่งชื่อว่า มังคละ..” ครั้งที่สมัยคนยองได้เดินทาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเวียงลำพูน ได้ ขาดซึ่งสิ่งยึดเหนียวจิตใจในฐานะของ คนที่อยู่ไกลบ้าน คนยองเหล่านี้จึงได้ อัญเชิญเอาองค์เตวะบุตรโหลงจากเมือง ยองมาประดิษฐานไว้ที่วัดหัวขัว

และใน วันที่ 16 เมษายน ของทุกปี จะมี ประเพณีบูชาเตวะบุตรโหลง จัดขึ้นที่วัด หัวขัว ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง ประเพณีบูชาเตวะบุตรโหลงของชุมชน ชาวบ้านเวียงยองนั้นได้กระทำสืบทอด ต่อกันมานับร้อยปี พ่อหนานชม ชมภูรักษ์ ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลเวียงยอง เล่าถึงพิธีสักการะเตวะบุตรโหลงว่า จุดสำคัญของพิธีนี้อยู่ที่เครื่องสักการะ และคำกล่าวบูชาเตวะบุตรโหลง เมื่อถึง วันที่ 16 เมษายน หรือ วันปากปี ชาวบ้าน เวียงยองจะตระเตรียมเครื่องสักการะ หลวงขึ้น ประกอบด้วยเครื่องสักการะ 17 อย่าง อันได้แก่ มะพร้าว 1 แขนง กล้วย ดิบ 1 เครือ อ้อยดำ 3 เล่ม ข้าวเปลือก และข้าวสารอย่างละ 1 ตาง เทียนขี้ผึ้ง แท้หนัก 1 บาทจำนวน 4 เล่ม เทียนขี้ผึ้ง เล่มเล็ก 16 เล่ม ผ้าขาวผ้าแดงอย่างละ 1 ผืน หมาก พลูและสวยดอกไม้อีก 15 สวย เบี้ย 1,300 ตัว หมากเคี้ยว 1,300 คำ และตุงสีขาวอีก 1 ตัว โดยเครื่อง สักการะหลวงนี้จะตั้งไว้ในบริเวณหน้า หอเตวะบุตรโหลง
ส่วนชาวบ้านก็จะนำ เสื้อของแต่ละคน พร้อมด้วยสะตวงใส่ ข้าวปลาโภชนา เพื่อนำเข้าร่วมในพิธี เตวะบุตรโหลง มีลักษณะเป็น เสาฐานแท่นบูชา คล้ายโดมปล่อง 4 เสา ซึ่งมีชื่อเรียกต่างกันตามชื่อของเทวบุตร ชาวยอง ได้แก่ สุรณะ ปิทธิยะ ลักขณา และเทวตา ที่เมืองยองในประเทศพม่า เสาเทวบุตรหลวงนี้จะตั้งอยู่ที่ฐานพระ ธาตุจอมยองซึ่งเป็นพระธาตุของวัดหัว ข่วงราชฐาน การบูชาเตวะบุตรโหลงของ คนยองมีความเชื่อว่า หากจะออกรบ ชายแดนให้บูชาเทวบุตรองค์ สุรณะ หาก เป็นความขึ้นโรงขึ้นศาล คัดเลือกทหาร เกณฑ์ ให้บูชาเทวบุตรองค์ ปิทธิยะ หาก ต้องการโชคลาภ ให้บูชาเทวบุตรองค์ ลักขณา และหากเจ็บไข้ได้ป่วย ให้บูชา เทวบุตรองค์ เทวตา ในหนังสือ “ประวัติวัดหัวขัว” เขียนโดยพระครูสังวรญาณประยุต กล่าวถึงการบูชาศาลเตวะบุตรโหลงว่า เป็นความเชื่อที่ชาวยองให้ความนับถือ มาตั้งแต่อดีต

ในสมัยที่เจ้าเมืองยอง อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเวียงยองใน ระยะแรกนั้นก็มีการอัญเชิญเตวะบุตร โหลงมาจากเมืองยองด้วย นอกจากนั้น แล้วในสมัยของเจ้าหลวงเมืองลำพูนทุก พระองค์จะให้ความเคารพนับถือเตวะ บุตรโหลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเจ้า จักรคำขจรศักดิ์ก็เคยมาขึ้นขันหลวงบูชา เตวะบุตรโหลงในช่วงวันปากปี (16 เมษายน) เป็นประจำทุกปี ด้วยเหตุนี้ คนยองแห่งบ้าน เวียงยองจึงถูกยกย่องในฐานะผู้มีส่วน สำคัญ ในการดำเนินชีวิตตามฮีตฮอย โบราณและอยู่ร่วมกับกลุ่มคนอื่น ๆ ได้ อย่างผสมกลมกลืน ทั้งแบบประเพณี และวิถีชีวิต

ปัจจุบันความเจริญได้โถมถา เข้าสู่วิถีชีวิตชุมชน นำไปสู่การผสมกลม กลืนของวัฒนธรรมเก่ากับวัฒนธรรมใหม่ ทว่าคนยองในลำพูน กลับดำรงอยู่ใน ฐานะของคนยองส่วนใหญ่ในสังคมไม่ว่า ระดับหมู่บ้าน ระดับท้องถิ่น ได้ตรงแบบ แต่ดั้งเดิมไม่มีผิดเพี้ยน คนยองลำพูนยัง คงรักษาลักษณะทางสังคมและ วัฒนธรรมได้ค้อนข้างยาวนาน จนยากที่ ชาติพันธ์ใดจะเสมอเสมือน บทความโดย จักรพงษ์ คำบุญเรือง

ร่วมแสดงความคิดเห็น