อาหารเป็นพิษ โรคสุดฮิตช่วงหน้าร้อน

พอถึงช่วงหน้าร้อน โรคอาหารเป็นพิษ (Food poisoning) มักจะมาเยือนคนไทยเสมอๆ เนื่องจากสภาพอากาศบ้านเราที่ค่อนข้างร้อน อบอ้าว อาจจะส่งผลเสียต่ออาหารที่เราๆ บริโภคเข้าไป ส่งผลให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ

โรคอาหารเป็นพิษนั้นคือโรคที่เกิดจากการกินอาหาร และ/หรือ ดื่มน้ำ/เครื่องดื่ม ที่ปนเปื้อนเชื้อโรค หรือ สารชีวพิษ(Toxin)ที่สร้างจากเชื้อโรค หรือ สารพิษจากสิ่งอื่นๆที่ไม่ใช่เชื้อโรค เช่น เห็ดพิษ สารหนู และโลหะหนัก

อาหารเป็นพิษ เป็นโรคพบบ่อยโรคหนึ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา แต่พบได้ประปรายในประเทศที่พัฒนาแล้ว เกิดได้กับคนทุกอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ และโอกาสเกิดในผู้หญิงและผู้ชายเท่ากัน ทั้งนี้เป็นโรคพบในเด็กได้สูงกว่าวัยอื่นๆ เพราะแหล่งอาหารเป็นพิษที่สำคัญ คือ อาหารโรงเรียน ทั้งนี้ในประเทศที่กำลังพัฒนา มีรายงานเด็กเกิดอาหารเป็นพิษได้สูงถึงประมาณ 5 ครั้งต่อปี

อาหารเป็นพิษ เมื่อเกิดจากเชื้อโรค สามารถเป็นโรคติดต่อได้ และพบเกิดระบาดได้เป็นครั้งคราว โดยนิยามของการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ คือ เกิด อาการท้องเสีย อาจร่วมกับอาการทางกระเพาะอาหารและลำไส้อื่นๆ เช่น ปวดท้อง ขึ้นพร้อมกัน หรือ ต่อเนื่องกัน อย่างน้อยตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีสาเหตุมาจากอาหาร และ/หรือ น้ำดื่มนั่นเอง

โรคอาหารเป็นพิษนั้นเมื่อเชื้อ หรือ สารพิษเข้าสู่ร่างกาย จะก่ออาการ เร็ว หรือ ช้า (ระยะฟักตัว) ขึ้นกับ ชนิด และปริมาณของเชื้อ หรือ ของสารพิษ ซึ่งพบเกิดอาการได้ตั้งแต่ 2-6 ชั่วโมงหลังกินอาหาร/ดื่มน้ำ ไปจนเป็นวัน หรือ สัปดาห์ หรือ เป็นเดือน (เช่น ในไวรัสตับอักเสบ เอ) แต่โดยทั่วไป มักพบเกิดอาการภายใน 2-6 ชั่วโมง หรือ 2-3วัน

อาการโดยทั่วไปที่พบได้บ่อย ได้แก่ ท้องเสีย อาจเป็นน้ำ มูก หรือ มูกเลือด ดังกล่าวแล้วปวดท้อง อาจมาก หรือ น้อย ขึ้นกับความรุนแรงของโรค มักเป็นการปวดบิดคลื่นไส้ อาเจียนมีไข้สูง อาจหนาวสั่น แต่บางครั้งมีไข้ต่ำได้ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อาจปวดข้อ ขึ้นกับชนิดของเชื้อ

แนวทางการรักษาโรคอาหารเป็นพิษ ที่สำคัญที่สุด คือ รักษาประคับประคองตามอาการ ได้แก่ ป้องกันภาวะขาดน้ำและขาดสมดุลของเกลือแร่ ซึ่งการรักษาโดยให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำเมื่อท้องเสียมาก ยาแก้ปวด ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน และยาลดไข้ นอกจากนั้น คือ การรักษาตามสาเหตุ เช่นพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ เมื่อเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ ให้ยาต้านสารพิษถ้าเป็นชนิดมียาต้าน เป็นต้น
โดยทั่วไป ประมาณ 80-90% ของโรคอาหารเป็นพิษไม่รุนแรง โรคหายได้ภายใน 2-3 วัน แต่ทั้งนี้ขึ้นกับชนิด และปริมาณของเชื้อโรค

ส่วนการดูแลตนเอง และการพบแพทย์ เมื่ออาหารเป็นพิษ ที่สำคัญ คือ ในขณะปวดท้อง หรือ คลื่นไส้อาเจียน ไม่ควรกินอาหาร หรือ ดื่มน้ำเพราะอาการจะรุนแรง ขึ้นไม่ควรกินยาหยุดถ่ายท้อง เพราะการท้องเสียจะช่วยขับเชื้อและสารพิษออกจากร่างกายจิบน้ำ อมน้ำแข็งสะอาด หรือ น้ำเกลือแร่ แล้วสังเกตอาการ หลังจากนั้น ปรับอาหารไปตามอาการดื่มน้ำสะอาดให้ได้วันละมากๆ อย่างน้อย 8-10 แก้ว
ส่วนแนวทางการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ ที่สำคัญ คือ รักษาสุขอนามัยพื้นฐานเสมอ โดยเฉพาะในเรื่องการล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ และทุกครั้งก่อนกินอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ โดยเฉพาะ แม่ครัว และผู้ดูแลด้านอาหาร และน้ำดื่มรักษาความสะอาด เครื่องปรุงอาหารต่างๆ เครื่องใช้ในครัว และห้องครัวเสมอกินอาหารสุก สะอาด ไม่กินสุกๆดิบๆ ระมัดระวังการกินอาหารทะเลเสมอ

ระวังความสะอาดของน้ำแข็งเมื่อกินอาหารนอกบ้าน เลือกร้านที่สะอาด ไว้ใจได้เนื้อสัตว์ ปลาสด ในตู้เย็น ต้องเก็บแยกจากอาหารอื่นๆทุกชนิด และต้องอยู่ในภาชนะปิดมิดชิด เพราะเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่ จะอยู่ในอาหารสดพวกนี้

ไม่ละลายอาหารสดแช่แข็งด้วยการตั้งทิ้งไว้ หรือ แช่น้ำ เพราะเป็นการเพิ่มปริมาณเชื้อโรคจากอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค ควรละลายด้วยไมโครเวฟรักษาความสะอาดของผักสด เช่น ถั่วงอก สลัด และอาหารสำเร็จรูปต่างๆไม่ควรกินน้ำสลัด ซอสต่างๆ น้ำส้มสายชู ที่ทำทิ้งค้างไว้นานๆ

แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์…ข้อมูล

ร่วมแสดงความคิดเห็น