“คุ้มเจ้าบุรีรัตน์” คุ้มหลวง กลางเวียงเชียงใหม่

“คุ้มเจ้าบุรีรัตน์” คุ้มหลวง กลางเวียงเชียงใหม่ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2383 เมื่อ เชียงใหม่เริ่มมีการติดต่อทางด้านป่าไม้ กับชาติตะวันตก ซึ่งขณะนั้นได้มีการ ขยายอาณานิคมเข้าสู่ภูมิภาคเอเชีย อาคเนย์ กระทั่งปี พ.ศ.2416 เชียงใหม่ ได้มีการทำสนธิสัญญาการค้าไม้กับ ชาติตะวันตกมีบริษัทค้าไม้เข้ามาตั้ง กิจการอยู่ในเชียงใหม่อันได้แก่ บริษัทบริติชบอร์เนียว จำกัดและบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า จำกัด
ในช่วงเวลานั้นตรงกับสมัย ของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวง เชียงใหม่ องค์ที่ 7 โดยมีเจ้าน้อยมหา อินทร์เป็นเจ้าบุรีรัตน์ซึ่งมีอาวุโสและ บรรดาศักดิ์รองมาจากเจ้าหลวง เชียงใหม่และเจ้าอุปราช เป็นผู้ดูแลการ ทำไม้ในขณะนั้น การทำสัมปทานป่าไม้ ของบริษัทต่างชาติในสมัยนั้นมี อิทธิพลอย่างยิ่งต่อความเปลี่ยนแปลง ทางสังคมและสถานะทางเศรษฐกิจของ เจ้านายเชียงใหม่ เพราะในการทำไม้ ของบริษัทต่างชาติเหล่านั้นจะต้องมีการ ขอความสะดวกจากเจ้านายเชียงใหม่ ก่อน
ความสำคัญของเจ้าบุรีรัตน์ เจ้าน้อยมหาอินทร์ ราชบุตรคนที่สองของ เจ้าอุปราชพิมพิสาร เป็นบุคคลสำคัญใน ปลายสมัยของพระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ 6 (พ.ศ.2399 – 2413)ต่อถึงต้นสมัยของพระเจ้าอิน ทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ 7 (พ.ศ.2416 – 2440) เจ้าน้อยมหาอินทร์ได้ เคยออกทัพจับศึกกับพวกยางแดงและ เงี้ยวหลายครั้งหลายหนและท่านยังเป็น ผู้วางแผนปราบพญาผาบ (พระยา ปราบสงคราม) หลักฐานสำคัญที่กล่าว ถึงบทบาทของเจ้าบุรีรัตน์ ในสมัยของ พระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ คือในปี พ.ศ .2412 ซึ่งครั้งนั้นพระเจ้ากาวิโรรสสุริย วงศ์ได้ลงไปเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพ ได้มอบหมายให้เจ้าน้อยมหา อินทร์และเจ้าบุญทวงศ์อยู่รักษาเชียงใหม่ ในระหว่างนั้นได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบ เจ้าฟ้าโกหล่านเมืองหมอกใหม่ได้ยกทัพ มารุกรานเมืองปายซึ่งเป็นเมืองขึ้นของ เชียงใหม่

เจ้าน้อยมหาอินทร์และเจ้าบุญ ทวงศ์จึงได้แก้ปัญหาโดยการแจ้งข้อ ราชการขอความช่วยเหลือไปยังเจ้า นครลำพูนและลำปางให้ช่วยยกทัพมา สมบทกับทัพของเชียงใหม่ หลังจากนั้น อีกไม่นานเจ้าน้อยมหาอินทร์ก็ถึงแก่ กรรมลง พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าอยู่หัวจึงทรงแต่งตั้งเจ้าราชภา คินัย เจ้าน้อยแก้วมุงเมือง ขึ้นเป็นเจ้าบุรี รัตน์แทน ที่ประทับ หรือ คุ้มหลวง ของ เจ้าบุรีรัตน์ เจ้าน้อยมหาอินทร์ อยู่ บริเวณสี่แยกกลางเวียง สาเหตุที่ตั้งอยู่ ในบริเวณกลางเวียงก็เนื่องจากในอดีต การตั้งคุ้มหลวงของเจ้าครองนคร เชียงใหม่ในยุคแรกส่วนใหญ่จะอยู่ ตำแหน่งพิเศษเฉพาะคืออยู่ในเขต กำแพงเมืองด้านใน มีระยะห่างจาก เขตกำแพงเมืองประมาณด้านละ 400 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ปลอดภัยจากอาวุธที่ จะสร้างความเสียหายให้กับ สถาปัตยกรรมคุ้มและผู้ที่อยู่อาศัยใน ยามสงคราม ส่วนคุ้มเจ้าครองนคร
ในยุคต่อมาจึงมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง ไปตั้งอนู่นอกกำแพงเมืองด้านตะวันออก ใกล้กับแม่น้ำปิง ซึ่งสะดวกแก่การสัญจร ไปมาและสามารถควบคุมดูแลการ ปกครองได้ดี การตั้งคุ้มหลวงในยุคแรกของ เมืองเชียงใหม่ จะอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า “ข่วงหลวง” อันเป็นชัยภูมิที่เป็นมงคล ตามทักษาเมือง ซึ่งอยู่ทิศเหนือหรือด้าน บนของเมือง ได้แก่ อายุเมือง เดชเมือง และศรีเมือง ซึ่งตามประเพณีนิยมนั้น บริเวณดังกล่าวจะอยู่ตั้งแต่ในแนวถนน พระปกเกล้าตอนบนจนถึงวัดสะดือเมือง ส่วนบริเวณตอนบนของถนนราชดำเนิน จะเป็นที่ตั้งของเวียงแก้วหอคำของเจ้า หลวงเชียงใหม่ องค์ที่ 1, 2, 5, 6, 7, 8 และคุ้มเจ้าชั้นรองต่าง ๆ

เมื่อบริเวณข่วง หลวงมีความคับแคบลงเจ้านายฝ่าย เหนือจึงได้ย้ายไปสร้างคุ้มในบริเวณ กลางเวียงหรือห่างจากคุ้มหลวงลงมา ด้านใต้ บริเวณตั้งแต่ประตูท่าแพด้านใน มาจนถึงสี่แยกกลางเวียงตัดกับถนน พระปกเกล้าจนถึงวัดพระสิงห์ ซึ่งเป็น เขตที่ปลอดภัย ได้แก่ คุ้มเจ้าหลวง เชียงใหม่ องค์ที่ 3, 4 และคุ้มเจ้าชั้นรอง ต่าง ๆ รวมถึงคุ้มบุรีรัตน์ เจ้าน้อยมหา อินทร์ คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) เป็นอาคารครึ่งปูนเครื่องไม้บนแบบผสม สูงสองชั้นมีบันไดอยู่นอกบ้าน ชั้นล่าง เสาก่ออิฐหนาก่อเป็นรูปโค้งฉาบปูน เรียบมีระเบียงโดยรอบ เป็นรูปแบบผสม ระหว่างเรือนมนิลากับสถาปัตยกรรม แบบโคโลเนียล ซึ่งเป็นรูปแบบที่แพร่ หลายในประเทศอาณานิคม ส่วนชั้นบน เป็นไม้มีระเบียงโดยรอบเช่นกัน หลังคา จั่งและหลังคาปั้นหยาคลุมระเบียงโดย รอบ เป็นแบบอย่างของสถาปัตยกรรม

มหาอำนาจอังกฤษในเชียงใหม่ยุคแรก สันนิษฐานว่าบริษัทป่าไม้ของชาวอังกฤษ เป็นผู้เข้ามาก่อสร้างให้เจ้าบุรีรัตน์เมื่อ ประมาณปี พ.ศ.2432 – 2436 คุ้มเจ้าบุรี รัตน์ มีความสำคัญทางด้านประวัติ ศาสตร์ ด้านสถาปัตยกรรมและด้าน สภาพแวดล้อมต่อเมืองเชียงใหม่คือ เจ้า บุรีรัตน์เป็นตำแหน่งสำคัญทางการ ปกครองอันดับสามรองจากเจ้าหลวง เชียงใหม่และเจ้าอุปราช ดังนั้นลักษณะ และรูปแบบของอาคารจึงเป็นอาคารเก่า แก่มากที่สุดแห่งหนึ่งมีอายุประมาณ 110 ปี
ภายหลังเจ้าน้อยมหาอินทร์ ถึงแก่กรรม เจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่ (ต่อมาเป็นเจ้าราชภาคินัยและเจ้า ราชวงศ์) บุตรชายเจ้าน้อยมหาอินทร์ ได้ เป็นผู้ครอบครองอาคาร ระหว่างปี พ.ศ .2437 – 2460 ต่อมานางบัวผัน นิกรพันธ์ (ทิพยมณฑล) ได้ขอซื้อจากเจ้าบุษบา ณ เชียงใหม่ (ภริยาเจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่) ในราคา 5,000 บาทและได้ เชิญพระนายกคณานุการ (เมือง ทิพย มณฑล) บิดามาพำนักอยู่ที่คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ หรือที่เรียกว่า “บ้านกลางเวียง

” ดังนั้นใน ระยะหลังบ้านกลางเวียงจึงเป็นที่พัก อาศัยของบุตรและญาติของพระนายก คุณานุการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2470 เป็นต้นมา ปี พ.ศ.2529 เมื่อนางบัวผัน ทิพยมณฑล ถึงแก่กรรม นางพรรณจิตร (กิติบุตร) เจริญกุศล บุตรีของนายจรัล และนางบู่ทอง ทิพยมณฑลได้อาศัยอยู่ จนถึงปี พ.ศ.2544 นางสาวเรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล จึงได้มอบอาคารคุ้มเจ้าบุรี รัตน์ เจ้าน้อยมหาอินทร์ ให้กับ ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อเป็น อนุสรณ์แก่บรรพบุรุษตระกูลทิพย มณฑลและกิติบุตร. เอกสารประกอบ วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง “คุ้มเจ้า ครองนครเชียงใหม่และคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)” คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2544. บทความโดย จักรพงษ์ คำบุญเรือง

ร่วมแสดงความคิดเห็น