ทุนจีนระดม1.5 แสนล้าน ขอเอี่ยวสร้างสนามบินใหม่

สนามบินในความดูแลของกรมท่าอากาศยาน มีประมาณ 29 แห่ง ส่วนท่าอากาศยานนานาชาติ ในความรับผิดชอบของ บมจ.ท่าอากาศยานไทย มี 6 แห่ง ซึ่งเชียงใหม่เป็นหนึ่งในนั้น
ในไทยยังมีสนามบินในความดูแลของกองทัพเรือ กองทัพอากาศ,บริษัทการบิน กทม. เป็นต้น และยังมีสนามบินเอกชนใน จ.ลำพูน ที่ อ.บ้านธิ 2 แห่ง ใน อ.เมือง เป็นของเครือสหพัฒน์ 1แห่ง ความนิยมใน การเดินทางด้วยสายการบินในไทย มีอัตราก้าวหน้า ปีที่ผ่านมา สนามบินเชียงใหม่มีผู้โดยสารทั้งในประ เทศ-ต่างประเทศมากกว่า 10 ล้านคน เกินศักยภาพที่กำหนดไว้ 8 ล้านคน เฉลี่ยมี 221 เที่ยวบินต่อวัน นั่นแสดงว่า ใน 6.5 นาที จะมีเครื่องบินขึ้น-ลง
จึงเป็นเหตุผลหลักที่ต้องวางแผนสร้างสนามบินแห่งที่ 2 รองรับความต้องการของผู้โดยสาร ซึ่งตามแผนพัฒนาของ ทอท.กำหนดว่า ใน 10 ปีต้องแล้วเสร็จ แต่งบฯที่ต้องใช้ 5-6 หมื่นล้าน เพื่อการก่อสร้าง จำ เป็นที่รัฐฯต้องสนับสนุนด้วย
ทางออกของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือการพัฒนาสนามบินเดิมที่มีอยู่ ให้มีประสิทธิภาพรองรับผู้โดย สารเท่าที่จะรับได้ ในช่วงรอคอยการสร้างสนามบินแห่งใหม่ ทั้งนี้โครงการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ ทั้งที่เชียงใหม่และภูเก็ต มีหลายกลุ่มทุนไทย-ต่างชาติ ให้ความสนใจ นำเสนอแผนขอมีส่วนร่วมสร้าง
เช่น “กลุ่มบริษัทเสฉวนจินเป่ย” ตั้งอยู่ที่ 168 เมืองฉีฉง เล่อซาน เสฉวน จีน มีนายจินเบ่ย เป็นประธานบริหาร ได้ยื่นเอกสารแสดงเจตจำนงค์ ที่จะศึกษาโครงการลงทุน ประกอบด้วย ศูนย์วิจัยการแพทย์นานา ชาติ ร่วมกับ มช. และ ม.แม่ฟ้าหลวง วงเงิน 80 ล้านหยวน และสนามบินเชียงใหม่ที่ 2 วงเงิน 3 หมื่นล้านหยวน หรือราวๆ 1.5 แสนล้านบาท โดยยื่นต่อที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พล.อ ประสูตร รัศมีแพทย์ เมื่อ 27 มิ.ย.2560 ) และยื่นรายละเอียดโครงการไปที่ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี, อธิบดีกรมท่าอากาศยาน ,รมว.คมนาคม และผอ.การบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เมื่อ 9 ส.ค.2560
 เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มทุนนี้ มีสายสัมพันธ์กับหลายกลุ่มธุรกิจในไทย มีการลงทุน สำรวจพื้นที่ ก่อสร้าง สนามบินแห่งใหม่ เบื้องต้นในพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งจะมีประมาณ 11,601 ไร่ ในความดูแลของธนารักษ์ ,สำ นักงานพัฒนา ฯกองทัพภาค 3 และสหกรณ์เกษตรไปแล้ว ในเอกสารแสดงเจตจำนงค์นั้น “นายจินเบ่ย” ระบุว่า ขอทราบรายละเอียดพื้นที่ ซึ่งรัฐฯกำหนดแน่ชัดว่าจะสร้างที่ไหน แต่ที่สำรวจที่ดอยหล่อนั้น เนื่อง จากเล็งเห็นศักยภาพ ความพร้อม มีการวางรูปแบบพัฒนาโครงข่ายการรับส่งผู้โดยสารไปสนามบินแห่งที่ 2 ด้วยระบบรถราง
ศักยภาพในการระดมทุน เพื่อก่อสร้าง ยืนยันความพร้อม หากให้โอกาสมีส่วนร่วมดำเนินแผนสร้างสนามบินแห่งที่ 2 ของเชียงใหม่ จะเร่งจัดตั้งสำนักงานและออกทุนศึกษา สำรวจพื้นที่อย่างเร่งด่วน ประเด็น สำคัญคือ งบ 1.5 แสนล้านบาท จากการระดมทุน อาจเป็นความมหัศจรรย์ของทุนจีน ที่แผ่อาณาเขตการร่วมลงทุนไปทุกพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งอาจจะบังเกิดขึ้นในเชียงใหม่ โดยมีเงื่อนไข อย่าลืม…”ของฟรี ไม่มีในโลก” แน่นอน

ร่วมแสดงความคิดเห็น