สถิติแฉตกงาน-ลาออกงานสูง ส่งลูกเรียนสายวิชาชีพเพิ่มขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงาน ภาวะการทำงานของประชากร ในไทยประจำเดือน เม.ย.2561 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มี 56.22 ล้านคน ถือว่าอยู่ในภาวะทำงานได้ และมีผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 37.99 ล้านคน มีงานทำ 37.28 ล้านคน อยู่ในภาคเกษตรกรรม 10.74 ล้านคน การขายส่ง 6.38 ล้านคน การผลิต 6.06 ล้านคน และมีผู้ว่างงาน 0.40 ล้านคน รอฤดูกาล 0.31 ล้านคน
ผู้อยู่นอกกำลังแรงงานมี 28.23 ล้านคน ทำงานบ้าน 5.57 ล้านคน เรียนหนังสือ 4.31 ล้านคน และอื่นๆอีก 8.35 ล้านคน ทั้งนี้จำนวนการว่างงานในเดือน เม.ย.2561 จากจำนวน 4.73 แสนคนนั้น มีระดับอุดมศึกษา 1.62 แสนคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 7.7 หมื่นคน มัธยมปลาย 7.6 หมื่นคน และระดับประดับ 7.5 หมื่นคน เฉพาะภาคเหนือมีอัตราการว่างงานลดลง 2.8 หมื่นคน
หากสำรวจรายจังหวัดพบว่า เชียงใหม่ ช่วงไตรมาสแรกของปี 2561 (มค-กพ.-มีค.)ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปมี 1,460,089 คน กำลังแรงงาน 1,054,534 คน มีงานทำ 1,046,239 คน ว่างงาน 7,464 คน กลุ่มทำงานบ้านมี 97,817 คน เรียนหนังสือ 117,848 คนสำหรับแรงงานในเชียงใหม่ ที่จำแนกตามระดับการศึกษาพบว่า ไม่มีการศึกษา 149,797 คน ต่ำกว่าระดับประถมศึกษา 231,355 คน ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ  มี 131,775 คน สายอาชีวะศึกษามี 27,572 คน
ส่วนระดับอุดมศึกษา สายวิชาการ 128,830 คน สายวิชาชีพ 52,710 คน สายวิชาการศึกษา 26,375 คน
อย่างไรก็ตาม หากมองในภาพรวมเชิงสถิติ ของระดับการศึกษากับการมีงานทำในช่วง เม.ย.2561 นั้น จะพบว่าสัดส่วนว่างงานระดับปริญญา มีสูงถึงร้อยละ 1.9 มัธยมปลายและมัธยมต้นเท่ากันคือร้อยละ 1.2 รวมถึงข้อมูลการว่างงาน ในสายวิชาการจะสูงกว่าสายอาชีวะ
จึงอาจเป็นเหตุผลให้ผู้ปกครองจำนวนมาก เริ่มส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในสายวิชาชีพ เทคนิค อาชีวะเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากในปีการศึกษานี้ ประกอบกับ ระดับอุดมศึกษาในปัจจุบัน มีอัตราการว่างงานและการแข่งขันสูง รวมถึงปัจจัย ผู้ประกอบการเลิกหรือปิดกิจการมีอัตรา 7.6 % จึงอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่มีอัตราการลาออกสูงถึง ร้อยละ 115.9 ในเดือนนี้และต่อเนื่องตลอดไตรมาสแรกของปี 2561

ร่วมแสดงความคิดเห็น