เปิดตำนาน เจ้าหลวงคำแดง แห่งเชียงใหม่ มีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมชาวล้านนา พากันกราบไหว้

เปิดตำนาน เจ้าหลวงคำแดง แห่งเชียงใหม่ มีที่มาที่ไปอย่างไร เขาเป็นใครในอดีต ทำไมชาวล้านนา พากันกราบไหว้นับถือ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
เมืองเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นมาร่วม 700 กว่าปีแล้ว ผู้คนเชียงใหม่ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก และสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวง สถิตย์อยู่ตามสถานที่สำคัญอยู่หลายแห่ง ก่อนหน้านี้ ทีมเชียงใหม่   นิวส์ออนไลน์ เคยนำเสนอเกี่ยวกับพญายักษราช 2 ตนที่คอยปกปักรักษาเมืองเชียงใหม่มาแล้ว ที่วัดเจดีย์หลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งหลายคนที่ได้รับรู้รับทราบข้อมูลแห่งความศักดิ์สิทธิ์และประวัติ ต่างพากันหลั่งไหลเข้ากราบขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคล นั่นก็เป็นอีก 1 ความเชื่อที่ทุกคนทำแล้วเกิดความเป็นสิริมงคลต่อชีวิต
วันนี้เชียงใหม่นิวส์ออนไลน์ จะนำเสนอเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในความเชื่อของชาวล้านนา นั่นคือ ตำนาน แห่งเจ้าหลวงคำแดง ตำนานเล่าขานในความเคารพนับถือสืบทอดกันมายาวนาน จนกระทั่งผู้คนเชียง ใหม่ ที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่ ได้อัญเชิญศาลพระภูมิเจ้าที่มาสร้างไว้บริเวณ เนินกำแพงเมืองด้านในแจ่งหัวลิน ถือเป็นจุดที่ชาวเชียงใหม่ให้ความศรัทธา ตลอดจนพ่อเมืองหรือผู้ใหญ่ที่มารับตำแหน่งต่างๆต้องนำดอกไม้ ธูปเทียนมากราบไหว้ขอพรกัน มีความเชื่อว่าเจ้าหลวงคำแดง นั้นมีอยู่จริงในอดีต
วันก่อนทาง นายชาตรี เชื้อมโนชาญ หรือ เฮียน้อย อดีตนักการเมืองทอ้งถิ่นชื่อดัง และผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นคนเมืองล้านนาอย่างแท้จริง ได้ทำการบูรณะซ่อมแซม ศาลเจ้าหลวงคำแดงขึ้น หลังจากที่ชำรุดทรุดโทรม ซึ่งทุกคนทำลงไปล้วนแล้วแต่ มีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าหลวงคำแดง ที่เชื่อว่า ท่านมีความศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองชาวเมืองเชียงใหม่ ร่วมกับองค์เทพต่าง ๆ ที่สถิตย์ดูแลคนเชียงใหม่ ดังนั้นไม่แปลกใจนักที่คนรุ่นใหม่ยังคงรู้จัก เจ้าหลวงคำแดง จวบจนทุกวันนี้ สำหรับประวัติ เจ้าหลวงคำแดง มีเรื่องเล่ากันว่า เมื่อครั้งอดีตสมัยเมืองพะเยารุ่งเรืองอำนาจ เจ้าผู้ครองนครพระนามว่า “เจ้าหลวงคำแดง” พระองค์โปรดการเสด็จประพาสป่าล่าสัตว์ ครั้งหนึ่งได้เสด็จไล่ตามจับกวางงามตัวหนึ่ง พระองค์พยายามควบม้าไล่ตามอย่างกระชั้นชิดแต่ก็หาทันไม่ กวางได้วิ่งหนีไปจนถึงเชิงดอยอ่างสลุง หรือดอยหลวงเชียงดาว และหลบหนีเข้าไปซ่อนตัวในถ้ำเชิงเขา เจ้าหลวงพยายามจะตามจับให้ได้ ลงจากหลังม้าแล้วทรงวิ่งตามกวางเข้าไปในถ้ำ ส่วนไพร่พลสุดที่จะทัดทานได้และวิ่งตามไม่ทัน
เจ้าหลวงคำแดงเข้าไปเที่ยวหากวางในถ้ำแต่ไม่พบ พบแต่สาวงามผู้หนึ่งได้สนทนากันจนเป็นที่พอพระ ทัย ได้ทรงทราบความจากสาวงามชื่อ “อินทร์เหลา” ว่านางถูกสาปให้มาอยู่ในถ้ำนี้ ถ้าออกนอกถ้ำจะกลายร่างเป็นกวางทันที เจ้าหลวงได้ทรงทราบ มีความสงสารและเกิดความเสน่หา ได้อยู่กินกับนางกวางในถ้ำนั้นตลอดมา โดยไม่ยอมกลับไปบ้านเมือง แม้พวกข้าราชบริพารจะมาเชิญให้กลับก็ไม่ยอม พระองค์จะพานางไปอยู่ในเมืองก็ไม่ได้ เพราะนางจะกลายร่างเป็นกวาง ฉะนั้นพระองค์จึงตัดสินพระทัยอยู่กินกับนางจนตลอดชีวิต ชาวบ้านยังคงเชื่อว่าวิญญาณของเจ้าหลวงคำแดงกับนางอินทร์เหลา ยังคงสิงสถิตอยู่ในถ้ำเชียงดาวและบริเวณดอยหลวงมาจนทุกวันนี้
บางตำราเล่าขานสืบทอดกันมาว่า เจ้าหลวงคำแดงนั้นมีความสัมพันธ์ ระหว่างชาวไทยกับชาวลัวะ บริ เวณแจ่งเจ็ดลินในปัจจุบัน เคยเป็นที่ตั้งของชาวลัวะ เป็นที่อยู่ของชาวลัวะมาก่อน ดังนั้นเจ้าหลวงคำแดงได้ปกป้องและสร้างเมืองแห่งนี้มาก่อน และชาวล้านนามีความเชื่อว่าหากตายลงไป ก็จะได้อยู่ช่วยปกปักรักษาเมืองแห่งนี้ โดยมีเจ้าหลวงคำแดง นั้นเป็นหัวหน้าผี ผู้ครองและสิงสถิตย์อยู่บริเวณดังกล่าวด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น