โรคไข้เลือดออก เชียงใหม่น่าห่วง ติดอันดับ 4 เขตบริการสุขภาพที่ 1

นางศรีเกษ ธัญญาวินิชกุล ผู้แทน สสจ.เชียงใหม่ รายงานต่อที่ประชุม จ.เชียงใหม่ ว่าสถานการณ์โรคไข้เลือดออก จ.เชียงใหม่ อยู่ลำดับที่ 47 ของประเทศ และอยู่ลำดับที่ 4 ของเขตบริการสุขภาพที่ 1 พบผู้ป่วย 60 ราย อัตราป่วย 3.46 ต่อแสนประชากร ขณะนี้ยังไม่พบผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก ขณะนี้ได้ขอความร่วมมือ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมมือ ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงการ จัดการขยะและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากฝนเริ่มตกทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเพิ่มมากขึ้น ร.อ.ภูรีวรรธน์ โชคเกิด นายแพทย์ สสจ.เชียงใหม่ กล่าวว่าไข้เลือดออก เป็นกลุ่มโรคระบาดที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน เนื่องจากยุงที่เป็นพาหะนำเชื้อโรค มีแหล่งเพาะแพร่พันธ์ จากแหล่งน้ำ-น้ำท่วมขัง ปีนี้กำหนดพื้นที่เป้าหมายหลักการดำเนินการ ไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ 6 ร. คือ โรงเรือน โรงเรียน โรงพยาบาล โรงแรม โรงงาน และโรงธรรม ปัจจุบันพบว่ามีการแพร่ระบาดเกิดขึ้น ได้เกือบทุกพื้นที่และทุกเวลา ไม่เลือกฤดูกาลผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ช่วงปีที่ผ่านมาเชียงใหม่ อยู่อันดับ 22 ของประเทศ ใน 25 อำเภอ 2,080 หมู่บ้านนั้น อ.เมือง น่าห่วง ส่วนแม่อาย จอมทอง แม่ริม ต้องเฝ้าระวัง จากการเฝ้าระวังอำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อ.เมือง,แม่แตง, สันทราย, ดอยสะเก็ด และแม่ริม ที่ผ่านๆมา ผู้เสียชีวิตทั้งหมด เป็นผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคเรื้อรัง อ้วนมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง คาดว่าตลอดปี ไทยจะพบผู้ป่วย 7-8 หมื่นราย
Mediaด้านนายเอกชัย สายหยุด รองนายก ทม.แม่โจ้ อ.สันทราย เชียงใหม่ กล่าวว่า สาธารณสุขได้ประสานความร่วมมือกับทุกท้องถิ่นทุก อปท.ให้ร่วมกันรณรงค์ การกำจัดแหล่งเพาะลูกน้ำยุงลาย ซึ่งที่ผ่านมา ทาง ทม.แม่โจ้ร่วมกับ 19 ชุมชน ก็ดำเนินการจัดการมาอย่างต่อเนื่อง ให้เป็นพื้นที่ปลอดลูกน้ำยุงลาย ปีที่มีการแพร่ระบาดมากและรุนแรง
มาตรการป้องกันโรคที่ดีที่สุดคือ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยใช้มาตรการ 3 เก็บ คือ 1.เก็บบ้านให้สะอาด โปร่ง โล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบ เป็นที่เกาะพักของยุง 2.เก็บขยะ เศษภาชนะรอบบ้าน โดยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และ 3.เก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายไปวางไข่ เพื่อป้องกัน 3 โรค คือโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หากประชาชนมีข้อสงสัย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1422 หรือกลุ่มงานควบคุมโรค สสจ.เชียงใหม่ เบอร์โทรศัพท์ 0-5321-1048-50 ต่อ 111

ร่วมแสดงความคิดเห็น