ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า ประเพณีล้านนาทำมากว่า 100 ปี จัดขึ้นในช่วงเดือน 9 (เดือน มิ.ย.) ของทุกปี

วันที่ 11 มิ.ย 61 ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปดูชาวบ้าน ต.แม่ใส อ.เมือง จ.พะเยา ที่กำลังทำพิธีกรรมประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า ชึ่งเป็นประเพณีล้านนาของคนเหนือ สืบเนื่องกันมารุ่นต่อรุ่น กว่า 100 ปี ประเพณีเลี้ยง ผีปู่ ย่า ตา ยาย แบบโบราณล้านนา หรือการเลี้ยงผีประจำตระกูล หรือที่เรียกกันว่าผีบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว พวกลูกหลานก็จะสร้างหอไว้ทางเบื้องทิศหัวนอน หรือในสถานที่ที่เห็นว่าสมควร บนหอจะมีหิ้งวางเครื่องบูชา เช่น พานดอกไม้ ธูปเทียน น้ำต้น(คนโท) วางเอาไว้ โดยจะมีดอกไม้ ธูปเทียน อาหาร หวานคาว บวงสรวงอัญเชิญดวงวิญญาณของพ่อแม่ ให้มาอยู่ในศาล เพื่อพิทักษ์รักษาลูกหลาน ตลอดจนเครือญาติจะต้องถือผีปู่ ย่า ตา ยาย อันเดียวกัน จึงพากันทำที่อยู่อาศัยให้แก่ ปู่ ย่า มีเสื่อ หมอน น้ำต้น ขัน หมาก กระโถน แจกันดอกไม้ ธูป เทียน ไว้บูชา การสร้างตูบ ผีปู่ย่านั้น นิยมสร้างกันตามที่ต้นตระกูล เรียกว่า (เรือนแก้ว) หรือเรียกว่าเก้าผี สร้างเป็นตูบใหญ่บ้างเล็กบ้าง เวลาทำพิธีเลี้ยงก็จะมากันมากมาย การทำเช่นนี้ก็เป็นจารีตประเพณีอันหนึ่งของคนโบราณ การทำบุญทำทานหาญาติ ชาวพุทธเราก็ทำกันอยู่เสมอ แต่ถ้าถึงประเพณีเลี้ยง ผี ปู่ ย่า มาถึงก็ทำกันอีก แต่ดูทุกวันนี้จะมีน้อยลง สิ่งที่นับถือกันดึกดำบรรพ์ ก็ละทิ้งไปเพราะไม่มีใครสนใจ ก็หายไป ส่วนมากอำเภอ ตำบล รอบนอกยังมีผี ปู่ ย่า กันอยู่ ความจริงคนโบราณท่านถือกัน ก็ไม่มีการเสียหาย
การเลี้ยงผี ปู่ ย่า แล้วแต่จะตกลงกันว่า ปีนี้จะเลี้ยงไก่หรือหมู ถ้าเลี้ยงไก่ก็นำมาคนละตัว ถ้าเลี้ยงหมู ก็เก็บเงินกันนำมาสังเวย
พอได้กำหนดก็จะเอามาเลี้ยงกัน เป็นการรวมญาติเป็นปี ๆ และในวันทำพีธีเลี้ยงผี ปู่ย่า ชาวบ้านก็จะช่วยนำของเส้นใหว้เอามาไว้ที่ ตูบ และเมื่อถึงเวลาเลี้ยงก็จะมีร่างทรงของผี ปู่ย่า มาลงในร่างทรงของกลุ่มญาติพี่น้องที่มาทำพิธีเลี้ยง จะมีการฟ้อน กินของเส้นที่ทางลูกหลานนำมาเลี้ยง พิธีกรรมนี้ทำให้ลูกหลานได้รู้จักกันสืบต่อไป และเป็นพิธีกรรมที่นับถือและปฏิบัติสืบทอดกันมา นานมากกว่า 100 ปี

ร่วมแสดงความคิดเห็น