ข่วงหลวงเวียงแก้วเชียงใหม่ ในความทรงจำของชาวบ้าน

แผนพัฒนาพื้นที่ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์ที่เรียกกันเก๋ไก๋ว่า “ข่วงหลวงเวียงแก้ว เชียงใหม่”นั้น น่าจะเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.2510 โดยสำนักผังเมือง มหาดไทย รวบรวมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากชาวบ้าน และหลายๆฝ่ายที่ต้องการให้ย้ายเรือนจำหรือคุกออกจากพื้นที่ตั้ง ด้านหลังที่ว่าการ อ.เมือง ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ.2445
การจะกล่าวหาว่า สยามมารื้อคุ้มหลวงพระราชวัง แล้วสร้างเป็นคุกต้องย้อนไปสืบค้นตำนานเชียงใหม่ตั้งแต่ยุคพญามังราย มาสมัยพม่าครองเมือง ถึงยุคสมัยเจ้าเชื้อตน ช่วงรัตนโกสินทร์ตามประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่าเมื่อแรกสร้างเมือง 12 เมษายน พ.ศ. 1839 พญามังรายพำนักที่วัดเชียงมั่น เป็นเสมือนไซค์งานก่อ สร้างในวันนี้ โดยผูกช้างไว้ที่ วัดล่ามช้าง ใกล้ๆกัน เมื่อสร้างเมืองลุล่วง เป็นธรรมเนียมกษัตริย์ไทยจะถวายที่ประทับเป็นวัดซึ่งก็คือวัดเชียงมั่น วัดแรกในเวียงเชียงใหม่ และทรงไปประทับที่ คุ้มเวียงแก้วปัจจุบัน คือ ทัณฑสถานหญิง
เรื่องคุกอยู่ในคุ้มมีทุกเมืองในล้านนา การยกคุ้มหลวง ซึ่งปล่อยให้รกร้างมากว่าสามสิบปี ให้ทำคุก จากการศึกษาเอกสารจดหมายเหตุตั้งแต่สมัย ร. 5 จนถึงยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง รวมถึงพระราชหัตถ เลขาที่ ร.7 ครั้งประพาสหัวเมืองเชียงใหม่ เมื่อ 2 ก.พ.พ.ศ. 2469 แล้วจะเข้าใจความเป็นไปของเชียงใหม่ในอดีตบ้าง ประมาณว่า”รู้แล้วจะหนาว”

ต่อมา พ.ศ.2532 ครม. มีมติให้เขตเมืองชั้นในเชียงใหม่เป็นเขตอนุรักษ์ ขนาดตื่นตัวกันมาร่วม 20 ปี ปัจจุบันดูผลงานด้านอนุรักษ์แล้วคงทึ่ง พอปี พ.ศ.2539 เชียงใหม่ครบ 700 ปี หลายองค์กรปลุกกระแสย้ายคุกออกจากเวียงจนนำไปสู่การฟื้นฟูสะดือเมือง (วัดอินทขิล)
พ.ศ.2541-42 ย้ายเรือนจำชายออกไป แต่ใช้เป็นทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่แทน ราวๆปี 2544 ทน.เชียงใหม่ อนุมัติงบ 1.74 ล้านบาท เพื่อออกแบบสร้างหอวัฒนธรรม นับเป็นปีที่กระแสเรียกร้องให้พัฒนาพื้นที่เรือนจำเป็นสวนสาธารณะเริ่มโดนใจชาวเชียงใหม่

ปี พ.ศ.2545 มีการเรียกร้องให้ปรับปรุงพื้นที่ เป็นปอดของเมืองและใช้จัดกิจกรรมต่างๆ รวมถึงเคลื่อนไหวให้ระงับโครงการท้องถิ่นที่จะดำเนินแผนพัฒนาพื้นที่ประวัติศาสตร์กลางเมือง ในรูปแบบสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ด้วยงบมโหฬารกล่าวกันว่าปี 45-46 คือยุคที่ชาวบ้านล้อเลียนว่าเป็นยุค ทำเงินทำทองของเชียงใหม่
ปี 2551 ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ มอบพื้นที่บางส่วนให้ท้องถิ่นบริหารจัดการ แต่ขอกันพื้นที่บริเวณร้านอาหารชวน ชมไว้ เพื่อใช้ทำกิจกรรม ปัจจุบันพื้นที่ติดกันกลายเป็น ลานหอคำ พญามังรายมหาราช และพระพุทธรูปพระเจ้าค่าคิง อนุสรณ์สถานของลูกหลานเมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นเพื่อฉลองเมืองเชียงใหม่ครบ 721 ปี การก่อสร้าง ใกล้แล้วเสร็จ อยู่ตรงข้ามพื้นที่จะพัฒนา เป็นข่วงหลวงเวียงแก้ว
พอปี 2555 เรือนจำชายย้ายออกจากบริเวณตรงข้ามศาลากลาง จ.เชียงใหม่ ไป อ.แม่แตง กรมราชทัณฑ์ย้ายทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ ไปอยู่แทน

พ.ศ.2556 มีพิธีกรรมสูตรถอน เพื่อเตรียมรื้อสิ่งก่อสร้าง มีการจัดนิทรรศการ เปิดเรือนจำให้ผู้สนใจเข้าชม และรัฐบาลมีมติให้ สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ จัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ 15-3-93 ไร่จัดงบ 150 ล้านบาทให้ ตั้งแต่ ม.ค.  พ.ศ.2556-57 ความเคลื่อนไหวภาคประชาสังคม ในเชียงใหม่กับแนวคิด” ข่วงคิด ข่วงหลวง“ช่วยกันอย่างลุกลี้ลุก ลนต่อเนื่อง เพราะมีหลายหน่วยงานจ้องตาเป็นมันกับงบ และพื้นที่ทำเลทองกลางเวียงนี้ขั้นตอนขุดค้น หาร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดี ในพื้นที่ใช้เวลาร่วมปีกว่าเพื่อการชำระประวัติศาสตร์สู่การสงวนรักษาข้อมูลเชิงวิชาการที่ถูกต้อง ดำเนินไปพร้อมๆกับการประกวดรูปแบบ โครงการพัฒนาข่วงหลวงเวียงแก้ว บนพื้นที่ราชพัสดุ แปลงที่ ชม.1612

แบบแปลน “เผยแผ่นดิน สู่ถิ่นเวียงแก้ว” ชนะการคัดเลือก ล่าสุด บ.ทำเลไทย ธรรมชาติ ชนะการจัดจ้างเป็นผู้รับเหมา ก่อสร้างจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่ก็ติดตามกันไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น