สังคมผู้คนยุคใหม่ในเชียงใหม่ แตกต่างแต่ต้องอยู่ร่วมให้สุขสงบ

ในระบบข้อมูลทางทะเบียนราษฎร ระบุประชากรในเชียงใหม่ล่าสุดมี 1,746,840 คน เป็นกลุ่มไม่มี สัญชาติไทยแต่มีชื่อในทะเบียนบ้าน 118,216 คน ส่วนที่ไม่ปกติ เช่นอยู่ในทะเบียนกลาง ไร้สัญชาติ หรือเหตุผลอื่นๆ อีกราวๆ 2.6 หมื่นคน
ถ้าตรวจสอบจากข้อมูลสำมะโนประชากรแฝงเมืองใหญ่ๆ ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค พบการ เข้ามา 2 ส่วนหลักๆ คือ มาเรียน มาทำงาน และความเป็นอยู่ของประชากรเหล่านั้น จะอยู่ในเขตเมืองถึงร้อยละ 53 มากกว่า กระจายอยู่ในเขตนอกเมือง การอยู่อาศัยจะเป็นการเช่าบ้าน อาคารพาณิชย์ ห้องเช่า มักอยู่รวมกันเป็นชุมชน
โดยลักษณะนี้จะเห็นตาม จังหวัดท่องเที่ยว เช่น เชียงใหม่, ภูเก็ต, กรุงเทพ ซึ่งผลสำรวจสำมะโนประชา กร และเคหะครัวเรือน(สปค.) ในปี 2553 โดย หน่วยงานรัฐ ข้อมูลมักจะสวนทางกับหน่วยงานเอกชน ภาคประชาสังคม ยกตัวอย่างกลุ่มแรงงงานพลัดถิ่นไม่มีในระบบ สปค.มีราวๆ 133,446 คนในเชียงใหม่ เป็นข้อมูลที่ไม่ เกี่ยวข้องกับตัวเลขขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว กลุ่มเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ที่ลงทะเบียนทำงานในพื้นที่
ซึ่ง สนง.จัดหางาน จ.เชียงใหม่ รับผิดชอบ 67,908 คน ทั้งนี้โดยโครงสร้างทางสังคมของเชียงใหม่มีความเป็น “พหุสังคม” มีการอยู่ร่วมกันในความแตกต่างทางเชื้อ ชาติ ศาสนา อาจกล่าวได้ว่าเป็นจังหวัดที่ครบเครื่องความเป็นนานาชาติ ในอดีตก็ตั้งแต่ยุคกำเนิดอาณาจักรล้านนา คงไม่ต้อง ย้อนเวลากลับไปถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหิน เพราะแค่ไล่เรียงจากยุคล้านนา มาถึงยุคพม่าครองเมือง ยุคผู้ครองนคร ก่อนเข้าสู่แผ่นดินสยาม แล้วรวมเลือด เนื้อชาติเชื้อไทย เป็นหนึ่งในแผ่นดินเดียวกัน ต้องถกกันนาน
ปัจจุบันความแตกต่างในรากเหง้าของความเป็นชนเผ่า ประชากรชายขอบ ยังมีความรังเกียจเดียจฉันท์ ดู แคลนของผู้คนในเมืองนี้ ด้วยคำเรียกแตกต่างกันไป บ้างก็ เด็กแม้ว เด็กดอย คนลาว ชาวยอง กะเหรี่ยง ไทใหญ่ เป็นต้น ในความเป็นพหุสังคม จะมีความเป็นพหุวัฒนธรรม ทั้งวิถีชีวิต ภาษา ศาสนา ประเพณี ความเชื่อ ความ ศรัทธา ซึ่งนำไปสู่ความเป็นอยู่ โอกาสทางเศรษฐกิจ สังคมเสมอ ยิ่งด้านการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ เหลื่อมล้ำกันมาก ด้วยเงื่อนไขที่จำกัด และควบคุมด้วยกฎหมาย ต่างๆ แม้จะจัด การตามแนวทางพหุวัฒนธรรม ไม่จำกัดเฉพาะ กลุ่มชน ภาษา ศาสนา เท่านั้น
แต่ยังรวมถึง ความแตกต่างทาง ชนชั้น บทบาททางเพศ และความสามารถพิเศษของผู้เรียน บางพื้นที่ ยังมีความขัดแย้ง ยากจะยอมรับกันได้ จนนำไปสู่การจัดตั้งสถานศึกษา การเปิดการเรียนการสอน เฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งตามวัด ในชุมชน พื้นที่เฉพาะ ที่ผ่านๆมาภาครัฐและภาคประชาสังคม มุ่งมั่นที่จะนำหลักการ ” แตกต่าง แต่ไม่แตกแยก อยู่ร่วมกันได้ อย่าง สันติสุข” ก็ยังไม่มีความยั่งยืน คลี่คลายปัญหานี้ได้ในบางพื้นที่ของไทย
มิหนำซ้ำความแตกต่างระหว่างกลุ่มชนเผ่า ชาติพันธ์ ยิ่งขยายวงกว้าง เกิดการยึดมั่น ถือมั่นในวัฒนธรรมที่ ต่างกัน สร้างความรู้สึกไม่เป็นมิตร เกิดการกระทบกระทั่งกันบ่อยครั้งในแต่ละชุมชน ซึ่งแนวทางแก้ไขนอกจากจะยึดโยงหลักกฎหมายแล้ว ยังต้องปลูกฝัง เพาะบ่ม เยาวชนแต่ละชาติพันธ์ ไม่ว่าจะเป็น คนเมือง คนไท คนจีน คนยอง คนต่างชาติ สารพัดคนต้องเรียนรู้ การเป็นมิตร ไม่ดูหมิ่น ดูแคลน เอารัดเอาเปรียบกันและกัน ไม่เช่นนั้น การดำรงอยู่ร่วมกันในสังคมไม่จำเพาะแค่เชียงใหม่ เมืองแห่งโอกาส เมืองไหนๆในโลกก็คงรอลุ้น วิกฤติความขัดแย้งปะทุเหมือนๆกันทุกแห่ง

ร่วมแสดงความคิดเห็น