สั่งยึดสารเคมีเชียงแสน จ่อส่งเมียนมาหลังตรวจพบ อนุญาตไม่ถูกต้อง

วันที่ 18 มิ.ย.61 เจ้าหน้าที่จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม จ.เชียงราย ฝ่ายความมั่นคง อ.เชียงแสน ตำรวจ สภ.เชียงแสน ร้อย ทพ.3103 ฉก.ทพ.31 กองกำลังผาเมือง หมู่รักษาความสงบเรียบร้อย (รส.) อ.เชียง แสน หน่วยเรือรักษความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง (นรข.) เขตเชียงราย สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เข้าทำการตรวจยึดของกลาง เป็นสารเคมีประเภทโซเดียม ไซยาไนด์ ที่บริษัทจิ่นคุน เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ขนย้ายจาก จ.ชลบุรี นำไปเก็บเอาไว้ที่โกดังหลายแห่ง พื้นที่ชาย แดนไทย-สปป.ลาว ด้าน อ.เชียงแสน เพื่อเตรียมส่งออกไปยังประเทศเมียนมา โดยการตรวจยึดครั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ได้ตรวจพบว่า มีการเก็บสารเคมีดังกล่าวเอาไว้ที่โกดังรับฝากสินค้าเลขที่ 420 หมู่บ้านสบคำ หมู่ 5 ต.เวียง อ.เชียงแสน เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมาโดยพบสารเคมีดังกล่าวบรรจุในถังโลหะขนาดถังละประมาณ 50 กก. จำนวน 510 ถัง จากจำนวนเต็มทั้งหมด 960 ถัง โดยส่งออกไปทางรถบรรทุกทางบกผ่าน อ.แม่สาย ไปยัง จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา เนื่องจากไม่ได้รับอนุ ญาตให้ขนส่งไปทางเรือแม่น้ำโขงได้ นอกจากนี้ล่าสุดเมื่อวันที่ 14-15 มิ.ย.นี้ เจ้าหน้าที่ยังพบว่าเอกชนรายเดียวกัน ได้เก็บสารเคมีชนิดเดียวกัน เอาไว้ที่โกดังรับฝากสินค้า ของบริษัทธงหัง อิมพอร์ท แอนด์ เอ็กซ์พอร์ท จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 168 หมู่ 6 ต.เวียง อ.เชียงแสน จำนวน 960 ถังด้วย
ซึ่งในการเข้าตรวจยึดครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ระบุว่าสารเคมีโซเดียมไชยาไนด์ทั้งหมด ที่มีการฝากเอาไว้ที่โกดังทั้ง 2 แห่ง ไม่มีใบอนุญาตครอบครองและเก็บรักษา รวมทั้งทาง บริษัทเจ้าของ ไม่ได้แจ้งสถานที่พักหรือเก็บสินค้าก่อนส่งออกนอกราชอาณาจักรเอาไว้ จึงได้แจ้งข้อหาว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535

โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำการยึดอายัดเอาไว้ และได้เชิญเจ้าของโกดังทั้ง 2 แห่ง รวมทั้งนายหยาง ตง ผู้ที่ได้รับมอบอำ นาจจากบริษัท จิ่นคุน เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ในการดูแลสารเคมีดังกล่าว ให้ไปรับทราบและลงบันทึกไว้เป็นหลักฐาน รวมทั้งให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับ พงส.สภ.เชียงแสน เบื้องต้นแจ้งข้อกล่าวหาเจ้าของโกดังว่า ตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตและมีไว้ครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย (โซเดียมไซยาไนด์) โดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนนายหยาง ตง ตั้งข้อหาเก็บรักษาวัตถุอันตรายโดยไม่แจ้งให้เจ้าหน้าที่ รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับสารโซเดียมไซยาไนด์ดังกล่าว มีการขออนุญาตนำเข้าจากประเทศจีน และนำเข้าทางท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี และแจ้งขอส่งออกไปยังปลายทางที่ประเทศเมียนมา โดยทางปลายทางอ้างว่าจะใช้เพื่อนำไปใช้ในกิจการเหมืองแร่ โดยก่อนหน้านี้ได้ส่งออกไปได้แล้วจำนวนหนึ่ง อย่างไรก็ตามเนื่องจากสารเคมีดังกล่าวมีองค์ประกอบที่สามารถนำไปใช้เป็นสารตั้งต้น เพื่อการผลิตยาเสพติดได้หลายชนิดทั้งยาบ้าและยาไอซ์ โดยเฉพาะชายแดนด้าน จ.เชียงราย ใกล้กับแหล่งผลิตยาเสพติดในฝั่งประเทศเพื่อนบ้านด้วย ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องคุมเข้มในเรื่องนี้อย่างหนัก

ร่วมแสดงความคิดเห็น