คนไทยเข้าใจผิดไปกินน้ำมันทรานส์ หรือน้ำมันไม่อิ่มตัว เป็นเหตุให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดตีบแตกตัน

ด่วนมาก อีกเรื่องครับ ผิดพลาดใหญ่โต ทำให้คนไทยเข้าใจผิดไปกินน้ำมันทรานส์ หรือน้ำมันไม่อิ่มตัว แล้วเป็นเหตุให้เกิดโรคหัวใจ โรค หลอดเลือดตีบแตกตัน
มาวันนี้ รู้สึกตัวแล้ว กำลังจะยกเลิกแต่ทำไมต้องยกเลิกอีก 180 วันละครับ พี่น้องประชาชน จงพร้อมใจกันเลิกกินเลิกใช้น้ำมันไม่อิ่มตัวหรือน้ำมันทรานกันทันทีเลยครับ
ในที่สุด ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย “ไขมันทรานส์”มีผลบังคับใช้อีก 180 วัน ชี้ปรากฎหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนว่าเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
เรื่องนี้ผมเองได้พยายามเผยแพร่รณรงค์ให้คนเลิกไขมันทรานส์มาหลายปี แต่การยกเลิกก็เป็นไปอย่างล่าช้ามาก
แม้จะยกเลิกแล้วแต่กว่าจะมีผลบังคับใช้ก็อีก 180 วันข้างหน้า เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมปรับตัว ซึ่งในระหว่าง 180 วันนี้ทุกท่านก็ควรจะต้องดูแลตัวเองงดไขมันทรานส์ทุกชนิด
ไขมันทรานส์คือไขมันที่เติมไฮโดรเจนเข้าไปใน “ไขมันไม่อิ่มตัว” เพื่อเลียนแบบไขมันอิ่มตัว ทำให้ถนอมอาหารได้นาน และราคาไม่แพงเพราะด้วยเทคโนโลยีตัดต่อพันธุกรรม ทำให้ไขมันไม่อิ่มตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันทรานส์ที่ทำจากถั่วเหลืองและข้าวโพดมีราคาถูกไปด้วย
การเติมไฮโดรเจนเข้าไปในสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ไม่อิ่มตัว ทำให้ไขมันที่เป็นของเหลวกลายเป็นสภาพเป็นกึ่งแข็งกึ่งเหลว (เหนียว) ซึ่งในยามที่ผลประโยชน์ของกลุ่มถั่วเหลืองและข้าวโพดในสหรัฐอเมริกาเข้าโจมตีไขมันอิ่มตัว (เนย ชีส น้ำมันมะพร้าว)นั้น ก็ได้ผลิตไขมันทรานส์ในรูปแบบของ “มาการีน” หรือเนยเทียมขึ้นมา เพื่อให้ประชากรทั้วโลกมาบริโภคแทนเนยและชีส และบางส่วนมีการเติมในน้ำมันพืชที่ไม่อิ่มตัวเพื่อทำให้หืนยากขึ้น (ถั่วเหลือง ข้าวโพด ดอกทานตะวัน และรำข้าว) ผลปรากฏว่าคนอเมริกันกลับป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจสูงเพิ่มมากขึ้น
การเติมไฮโดรเจนในไขมันไม่อิ่มตัวบางส่วน ทำให้โครงสร้างไขมัน “บิดตัว” และหลายปีที่ผ่านมานี้ข้อมูลงานวิจัยทั่วโลกต่างมีข้อสรุปตรงกันว่าโครงสร้างไขมันที่ผิดสภาพธรรมชาตินี้ ทำให้อัตราการเกิดโรคและเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองเพิ่มสูงขึน
ทุกวันนี้กลุ่มธุรกิจไขมันทรานส์ก็พยายามแก้ไขดัดทำให้ไขมันไม่อิ่มตัว เลียนแบบไขมันอิ่มตัวแบบ 100% โดยไม่มีการบิดตัวของโครงสร้างไขมัน ซึ่งยังไม่มีใครรู้ว่าจะมีผลดีหรือเสียอย่างไรในอีกกี่ปีข้างหน้า
แต่อย่างน้อยความเข้าใจในเรื่องนี้ของประชาชนมากขึ้น ก็อาจทำให้หลายคนหันไปบริโภคไขมันอิ่มตัว เช่น มะพร้าวเนย ชีส มากขึ้น ไปโดยปริยาย และอาจจะเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะได้หันมาฟื้นฟูและพัฒนามะพร้าวไทยให้ดีขึ้น
ในระหว่าง 180 วันนี้ทุกท่านจึงควรหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ที่มีอยู้ในอาหารทุกชนิดไปก่อน !!!
กลุ่มอาหารในบรรจุภัณฑ์ ให้ “อ่านฉลาก” ว่าต้องไม่มีชื่อเหล่านี้ที่อาจมีความเสี่ยงเป็นไขมันทรานส์ได้ เช่น ไขมันทรานส์ ,ไขมันไฮโดรจีเนต,เนยเทียม, มาการีน, ชอตเทนนิ่ง, เนยขาว ฯลฯ
แต่กลุ่มอาหารที่ต้องระวังความเสี่ยงเช่นกันคือ กลุ่ม “ไขมันไม่อิ่มตัว” (ถั่วเหลือง ข้าวโพด ดอกทานตะวัน รำข้าว) ถ้าผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรจุภัณฑ์ที่เป็นขนมกรุบกรอบ และเบเกอรี่เกือบทุกชนิด เพราะการถนอมผลิตภัณฑ์อาหารที่ผสมไขมันไม่อิ่มตัวเหล่านี้ มีโอกาสที่จะเติมไฮโดรเจนกลายเป็นไขมันทรานส์ผสมอยู่ด้วย
แม้แต่เนยก้อน ก็ให้ดูฉลากให้ดี เพราะฉลากจะเล็กมากจนมองไม่เห็น (ให้ใช้โทรศัพท์ถ่ายรูปแล้วขยายออกมา) บางยี่ห้องเป็น “เนยผสมไขมันพืช” เพื่อลดต้นทุน ให้รู้เลยว่าน้ำมันพืชแท้ที่จริงไม่ควรเป็นก้อนแข็งเหมือนเนย ยกเว้นระบุว่าเป็นน้ำมันมะพร้าว ลักษณะไขมันพืชในเนยดังกล่าวก็มีความเสี่ยงจะเป็นไขมันทรานส์ในรูปแบบของมาการีนผสมเนยด้วย
รวมถึงเนยถั่วเกือบทั้งหมด (ซึ่งมีไขมันไม่อื่มตัวในถั่วสูงมาก) ก็เป็นไขมันทรานส์ด้วย
อาหารในบรรจุภัณฑ์ที่พบบ่อยว่ามีไขมันทรานส์ได้แก่ ขนม เบเกอรี่ แทบทุกชนิด รวมถึงที่ต้องอ่านฉลากให้ดีคือ นมข้นหวาน นมผง ครีมเทียม ข้าวโพดคั่ว ถ้าไม่แน่ใจหรือสงสัยก็ควรหลีกเลี่ยงไว้ก่อน ฯลฯ
แต่ที่น่ากลัวกว่าคืออาหารตามร้านอาหาร ที่เราไม่มีโอกาสอ่านฉลากเลย เช่น โดนัท เบเกอรี่ ซาลาเปา ข้าวโพดคั่ว ครีมเทียมในเครื่องดื่มร้านกาแฟหรือชา อาหารจำนวนมากในกลุ่มนี้ก็มีไขมันทรานส์ด้วย
ความจริงนอกเหนือจากไขมันทรานส์ที่เป็นปัญหาต่อหลอเลือดหัวใจแล้ว ยังมีอาหารชนิดอื่นที่จะสร้างปัญหาให้กับหลอดเลือดหัวใจได้อีก ได้แก่ น้ำมัดผัดทอดซ้ำด้วยความร้อนสูง (มีทั้งในร้านอาหารข้างทาง และร้านแฟรนไชส์ชื่อดัง) การใช้ไขมันไม่อิ่มตัวมาผัดทอดด้วยความร้อนสูง (ถั่วเหลือง ข้าวโพด ดอกทานตะวัน รำข้าว น้ำมันมะกอก) โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตาล และเครื่องดื่มที่ใส่น้ำตาล (โดยเฉพาะชาเขียว น้ำผลไม้ น้ำอัดลม) สร้างปัญหาให้กับหลอดเลือดหัวใจอย่างมากเช่นกัน แต่ยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนจากหน่วยงานภาครัฐแต่อย่างใด
ชีวิตทุกวันนี้อยู่ยากนัก ดังนั้นในระหว่างที่รอกฎหมายบังคับห้ามนำเข้าหรือผลิตไขมันทรานส์ใช้ในอีก 6 เดือนข้างหน้า ประชาชนควรจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอาหารทั้งปวงที่อาจเป็นภัยต่อหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดด้วยตนเอง
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต
15 กรกฎาคม 2561

ร่วมแสดงความคิดเห็น