แจ้งความเอาผิดพนักงานธนาคารหลอกขายประกัน แต่เบิกค่ารักษาบาดเจ็บไม่ได้

เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 61 ผู้เสียหายเข้าแจ้งความกับ ตำรวจ สภ.เมืองเชียงใหม่ ถูกหลอกซื้อประกันชีวิตแต่หลังสามีเธอประสบอุบัติเหตุกลับไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้เสียจึงเข้าร้องเรียน คปภ.จึงพบว่า พนักงานขายประกันซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งหนี่งไม่มีใบอนุญาตตัวแทนในการขายประกันนอกจากนี้ยังพบว่ามีการปลอมแปลงเอกสารรายมือชื่อสามีเธอออกกรมธรรม์ถึงอีกสองฉบับ
นางสาวปรียาดา เกษประยูร อายุ 47 ปี เข้าแจ้งความกับ ตำรวจ สภ .เมืองเชียงใหม่ให้ดำเนินคดีกับอดีตพนักงานธนาคารแห่งหนึ่งใน ย่านถนนศรีดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่หลังจากถูกหลอกให้ซื้อประกันอุบัติเหตุในวงเงิน 50,000 บาท เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2559 ให้กับนายชัชชน พันธุมโสภณ (อ่านว่า อายุ 58 ปี ผู้เป็นสามี ต่อมาเมื่อวันที่6 ธันวาคม2559 สามีของเธอได้ประสบอุบัติเหตุหกล้มหัวฟาดพื้นอาการสาหัสจึงได้นำตัวส่งโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เมื่อนำตัวสามีเข้าโรงพยาบาลเธอจึงได้แสดงบัตรประจำตัวผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตกับทางโรงพยาบาล แต่เมื่อทางโรงพยาบาลเช็คประวัติแล้วพบว่าไม่มีเลขกรมธรรม์นี้อยู่ในระบบ เธอจึงได้โทรไปหาตัวแทนประกันชีวิตซึ่งขายให้กับเธอ โดยตัวแทนที่ขายประกันดังกล่าวพยายามผู้บ่ายเบี่ยงยื้อเวลาอ้างว่าระบบหล่มจึงตรวจสอบไม่ได้ ให้เธอรอสักพักจนกระทั่งผ่านไป หกชั่วโมงทางนางสาวปรียาดาทนไม่ไหวจึงติดต่อกลับและขู่จะฟ้องร้องตัวแทนประกันที่เธอทำไว้ให้กับสามีกระทั่งพนักงานขายประกันคนนี้พร้อมผู้จัดการธนาคารเดินทางมาพบเธอก่อนจะเจรจากับทางโรงพยาบาลเอกชนสามีของเธอจึงได้เข้ารับการรักษาจากโรงพยาลบาล

เมื่อรักษาตัวได้ 3 วันจนวันที่ 8 ธันวาคม 2559 ตัวแทนประกันคนนี้เข้าไปหาสามีเธอที่นอนรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยหนักพร้อมกับนำเอกสารไปให้เซ็นและออกกรมธรรม์ฉบับที่สองให้โดยอ้างว่าทำเพื่อทดแทนกรรมธรรม์ ฉบับที่ 1 ซึ่งสามีเธอได้ออกโรงพยาบาลแล้วในวันนั้นพอดี หลังจากนั้นสามีเธอจึงเข้าแพทย์เจ้าของไข้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานถึง 6เดือนรักเนื่องจากระบบประสาทตาเสียแต่ว่าทางประกันไม่รับผิดชอบเธอจึงตัดสินใจเข้าร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน จนกระทั่งล่าสุดเข้าร้องเรียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ (คปภ.)เพื่อตรวจความโปร่งใสของตัวแทนขายประกันภัยและบริษัทประกันภัยแห่งนี้ ต่อมาทาง คปภ.ได้ออกหนังสือชี้แจ้ง โดยระบุว่าตัวแทนขายประกันคนดังกล่าว ไม่ได้มีใบอนุญาตเป็นตัวแทนนายหน้าประกันวินาศภัย แต่ตัวแทนคนดังกล่าวได้ใช้รหัสใบอนุญาติของเพื่อนร่วมงานในธนาคารมาขายประกัน และต่อมา คปภ.ได้แจ้งกับผู้เสียหายว่าบริษัทประกันดังกล่าวได้มีการทำกรรมธรรม์ฉบับที่ 3 ดังนั้นผู้เสียหายจึงนำเอกสารหลักฐานยื่นแจ้งความเพิ่มเติมข้อหาปลอมแปลงเอกสารและลายมือชื่อ
ด้านนางสาวปรียาดา เกษประยูร ผู้เสียหาย เปิดเผยว่าตั้งแต่เธอทำประกันกับตัวแทนซึ่งเป็นพนักงานของธนาคารเธอไม่เคยเห็นเล่มกรรมธรรม์แม้แต่ฉบับเดียวแต่หลังจากสามีเธอประสบอุบัติเหตุจึงทราบข้อเท็จจริงถึงความไม่ชอบมาพากล ทั้งการทำกรรมธรรม์ฉบับที่สอง ที่ธนาคารแห่งกล่าวทั้งๆที่สามีเธอนอนรักษาตัวอยู่ที่หอผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาล แต่ธนาคารแห่งกล่าวให้การกับ คปภ.ว่าสามีเธอเป็นคนเดินทางไปทำประกันเองที่ธนาคารนอกจากนี้ ทางธนาคารยังทำกรรมธรรม์ฉบับที่สามให้ซึ่งกรมธรรม์ฉบับที่สองและสามที่ธนาคารทำให้ผู้เสียหายไม่ได้จ่ายเงินค่าเบี้ยประกันแม้แต่บาทเดียว ซึ่งไม่แน่ใจว่าธนาคารมีเจตนาซ่อนเร้นหรืออย่างไรหลังจากเกิดเหตุการณ์นี้พนักงานธนาคารคนดังกล่าวซึ่งเป็นตัวแทนขายประกันชีวิตได้ลาออกจากออกธนาคารแล้วไปสอบรับราชการสังกัดหนึ่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่จังหวัดภูเก็ต.

ร่วมแสดงความคิดเห็น