“บิ๊กอู๋” เผยหลัง 30 มิ.ย. ดำเนินคดีกับต่างด้าวผิดกฎหมายแล้ว 816 ราย นายจ้าง 156 ราย

รมว.แรงงาน เผย ตั้งแต่วันที่ 1-15 ก.ค.61 ตรวจสอบปราบปราม จับกุม และดำเนินคดีคนต่างด้าว ลัก ลอบทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยดำเนินคดีกับแรงงานต่างด้าวไปแล้ว 816 คน คิดเป็นร้อยละ 2.70 ดำเนินคดีกับนายจ้าง 156 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.61 พร้อมปฏิบัติการตามแผนในครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 – 15 ส.ค.61 และครั้งที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 -15 ก.ย.61
เมื่อวันที่ 17 ก.ค.61 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.กระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมเพื่อติด ตามผลการปฏิบัติงาน ตามโครงการตรวจสอบปราบปราม จับกุม และดำเนินคดีคนต่างด้าว ลักลอบทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ตั้งแต่วันที่ 1 – 15 ก.ค.61 ณ ห้องประชุมประสงค์ รณะนันทน์ ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยกล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงแรงงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจตระเวนชายแดน จนท.ฝ่ายปกครอง เป็นต้น
ซึ่งผลการปราบปราม จับกุม และดำเนินคดีคนต่างด้าว ลักลอบทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ตั้งแต่วันที่ 1 – 15 ก.ค.61 พบว่า มีการตรวจสอบนายจ้างในสถานประกอบการไปแล้ว 1,623 ราย ดำเนินคดีกับนาย จ้าง 156 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.61 แรงงานต่างด้าว 30,111 คน แยกเป็นสัญชาติเมียนมา 20,010 คน, กัมพูชา 8,375 คน ,ลาว 1,071 คน อื่น ๆ 618 คน และเวียดนาม 37 คน ดำเนินคดีกับแรงงานต่างด้าว 816 คน คิดเป็นร้อยละ 2.70
พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวต่อว่า การปฏิบัติต่อไปหลังจากนี้จนถึงสิ้นเดือน ก.ค. จะมีการแจ้งเตือนเพื่อสร้างการรับรู้ให้นายจ้าง/สถานประกอบการ ไม่ให้มีการจ้างแรงงานต่างด้าว ที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน และลูกจ้างที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน จะไม่มีสิทธิอยู่ในประเทศไทยต่อไป หลังจากนั้นชุดปฏิบัติการตรวจสอบแรงงานต่างด้าว จำนวน 113 ชุด จะปฏิบัติการตามแผนดำเนินการในครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 – 15 ส.ค. 61 และครั้งที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 -15 ก.ย.61 โดย จนท.ชุดปฏิบัติการที่เข้าไปตรวจสอบการทำงานของคนต่าง ด้าวจะต้องใช้วาจาที่สุภาพ ไม่ใช้ความรุนแรง และแจ้งเตือนให้นายจ้างหยุดจ้างแรงงานผิดกฎหมาย ลูก จ้างที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน จะต้องออกนอกประเทศ ซึ่งหากพบเห็นขอให้แจ้งไปที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 2

“คนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือทำงานนอกเหนือ จากที่มีสิทธิจะทำได้ จะมีโทษปรับ 5,000 – 50,000 บาท และเมื่อชำระค่าปรับแล้ว คนต่างด้าวจะถูกส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และห้ามขออนุญาตทำงานภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับโทษ ขณะเดียวกันนายจ้างที่จ้างคนต่างด้าว โดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ จะมีโทษปรับ 10,000-100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หากกระทำผิดซ้ำต้องมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี ตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม หากแรงงานต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงาน ในประเทศไทย จะต้องเข้ามาในรูปแบบการนำเข้าตามระบบ MOU เท่านั้น” พล.ต.อ.อดุลย์ฯ กล่าวในท้ายสุด

ร่วมแสดงความคิดเห็น