เปิดเส้นทางในเชียงใหม่ช่วงฝน อย่าโลกสวยบางสายอันตรายสุดๆ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ชาวบ้าน หลายตำบลใน อ.แม่อายและอ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เดือดร้อนจากปัญหาเส้นทางสัญจรใช้ในชีวิตประจำวันช่วงฝนอันตราย มีความยากลำบากในการเดินทาง ซึ่งจากการสอบถามหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ โครงการพัฒนาถนน หนทางในเชียงใหม่ ของกรมทางหลวง ชี้แจงว่า ถนนหรือเส้นทางสัญจร ในแต่ละหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ของแต่ละจังหวัด จะมีการแบ่งแยกความรับผิดชอบกันหลายหน่วยงานบางพื้นที่ อยู่ในความรับผิดชอบของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) บางเส้นทางมีทางหลวงชนบทดูแล และถนนสายหลักๆจะมี สำนักแขวงการทาง ที่แบ่งเป็นแขวง 1-2-3 แล้วแต่จังหวัดดูแลรับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมาย ในพื้นที่ตามที่สื่อนำเสนอนั้นเข้าใจว่า เป็นเส้นทางจากหมู่บ้าน ไปยังเขตตำบล ถ้าเป็นที่อยู่ของกลุ่มชาติพันธ์ การจะพัฒนาถนนหนทางต้องขออนุญาติจากหน่วยงานที่ดูแลทั้งป่าไม้หรืออุทยานฯเข้าใจว่าน่าจะเป็นส่วนรับผิดชอบของท้องถิ่น โดยศักยภาพของ อปท.น่าจะซ่อมบำรุงได้ ถ้าต้องการถนนแบบทั่วๆไป คงต้องหารือกับอบจ.หรือ ทางหลวงชนบท ,สนง.การทางของกรมทางหลวง ร่วมแก้ปัญหาอย่างไรก็ตาม ในแง่การพัฒนาถนน โครงข่ายคมนาคมนั้น จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่อยู่ในโครงการบูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ กิจกรรมยกระดับมาตรฐานและเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง (งบกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน กลุ่ม 1) จะเห็นได้จากถนนสายหลักๆมีการ ขยายพื้นผิวการจราจร เช่น สำนักก่อสร้างทางที่ 1 กรมทางหลวง ดูแลโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 121สายทางเลี่ยงเมืองเชียงใหม่รอบนอก (ด้านเหนือ) ซึ่งมี 2 ตอน ได้แก่ตอน ต.ต้นเปา – ต.ดอนแก้ว ตอน 1ระยะทางประมาณ 7.690 กม. ตอน ต.ต้นเปา – ต.ดอนแก้ว ตอน 2 ระยะทางยาวประมาณ 8.644กม.

ในปีงบ 62 ก็จะมีโครงการก่อสร้างขยายเป็น 4 ช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 1260 ตอน ศรีบุญเรือง – โรงพยาบาลสันทราย (ถนนบายพาส แม่ริม – สันทราย) ซึ่งเร็วๆนี้ทีมงานวางแผนแขวงฯ เชียงใหม่ที่ 2 ได้ทำการเก็บข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ
ผู้สื่อข่าวได้ติดตามการรายงาน แผนงานของ สนง.การทางที่ 1 และ แขวงการทางที่ 2 เชียงใหม่ กรมทางหลวง พบว่า มีแผนยกระดับมาตรฐานและเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง ทั้งรูปแบบการก่อสร้างทางคู่ขนานเพิ่ม ก่อสร้างระบบระบายน้ำข้างทาง ออกแบบก่อสร้างถนนตามมาตรฐานกรมทางหลวง กำหนดพื้นที่พัฒนา ปรับปรุงเส้นทางให้สอดคล้องกับลักษณะสภาพพื้นที่ในเมืองเพื่อการจราจรและบริการชุมชน รวมถึงจัดชุดเจ้าหน้าที่ร่วมสำรวจและออกแบบ เข้าตรวจสอบพื้นที่ประสบปัญหาภัยพิบัติ เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ และออกแบบป้องกัน เช่นกรณี ทางหลวงหมายเลข 1349 ตอน สะเมิง – วัดจันทร์ เป็นต้น

( ขอบคุณ : ภาพสวยๆจากแขวง 2เชียงใหม่ ,กรมทางหลวง )

ร่วมแสดงความคิดเห็น