มช.เปิด “สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า” จากโซลาร์เซลล์ ก้าวสู่ CMU Smart City-Clean Energy มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ พลังงานสะอาด

รศ.ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร รักษาการแทน รองอธิการบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม มช.เปิดเผยว่า มช. จัดพิธีเปิด สถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) จากพลังงานโซลาร์เซลล์ สนองยุทธศาสตร์ Green and Clean ; Sustainability University มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ พลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลักดันนำร่องการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าภายใน มช. สู่การใช้งานสาธารณะอย่างเป็นรูปธรรม โดยรถยนต์ 1 คัน สามารถชาร์จไฟฟ้าวิ่งได้ระยะทางมากกว่า 150 กม./ครั้ง ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ ลดภาวะโลกร้อนได้มากถึง ร้อยละ 20
ในการดำเนินงานโครงการ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณหลักจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจาก บริษัท สากล เอนเนอยี่ จำกัด และบริษัท บาร์เซโลน่า ออโต้ จำกัด โดยภายในงานมีผู้ทรงคุณวุฒิจากกองทัพอากาศ เข้าร่วมสังเกตการณ์ในฐานะ Partner โครงการ CMU Smart City / RTAF Smart Wing และจัดให้มีพิธีบันทึกความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศา สตร์และเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ระหว่างกองทัพอากาศและ มช.
รศ.ประเสริฐ กล่าวอีกว่า มช. ตระหนักถึงความสำคัญ ด้านการบริหารจัดการระบบกายภาพและสิ่งแวด ล้อม หนึ่งในระบบที่ให้ความสำคัญในการดำเนินงานคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการจราจรและขนส่งมวลชน ด้วยการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนใน มช. ครอบคลุมถึงระบบรถไฟฟ้าและการพัฒนาสถานีรถไฟฟ้า โดยมีนโยบายในการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง ด้วยการลดใช้รถยนต์และ รถ จ.ย.ย.ภายใน มช.
จึงได้จัดบริการรถไฟฟ้าขับเคลื่อน ด้วยระบบไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ จำนวน 60 คัน คันละ 12 ที่นั่ง ออกวิ่งรับผู้โดยสาร วนรอบ มช.ทั้งหมด 5 สาย ทุกวันไม่เว้นวันหยุด คิดเป็นระยะทาง 6,660 กม./วัน หรือ 2,023,400 กม./ปี รองรับผู้โดยสารได้จำนวนสูงสุด 16,700 ต่อวัน หรือ 5,097,024 คนต่อปี จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศได้มากถึง 3,034 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อวัน หรือ 601,500 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ทำให้เห็นถึงความสำคัญในการลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงในรถยนต์ และหันมาให้ความสำคัญการเลือกใช้ยานยนต์ไฟฟ้า จากพลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น โดยการจัดสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ยานยนต์ไฟฟ้า และส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแทนรถยนต์แบบเดิมที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลง ซึ่งจะนำไปสู่การบริหารจัดการที่ดีและพัฒนาสู่ความเป็นสากลตามยุทธศาสตร์ Green and Clean; Sustainability University มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ พลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม CMU Smart City-Clean Energy มช.
จึงได้ดำเนินงาน “โครงการจัดสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) มช.” ขึ้น โดยมีสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มช. ดำเนินงานศึกษาวิจัย ออกแบบและจัดสร้างสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟ ฟ้า (Charging Station) จากพลังงานโซลาร์เซลล์ ติดตั้งไว้ ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ โดยสถานีชาร์จประจุไฟฟ้าจากพลังงานโซลาร์เซลล์แห่งนี้ จะเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานทด แทน ที่จะช่วยส่งเสริมและต่อยอดความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว
ด้วยการใช้พลังงานทดแทน พลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ หรือ Low Carbon Society ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานทดแทนจากการวิจัยมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปประธรรม ผลักดันให้ มช. กลายเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (SMART CITY) เป็นต้นแบบที่สำคัญให้กับนักศึกษา บุคลากร หน่วยงานต่างๆ และสังคม หันมาช่วยกันให้ความตระหนัก และให้ความสำคัญถึงประโยชน์ของการใช้พลังงานทดแทนภาคการขนส่งมากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตยานยนต์ไฟ ฟ้าในอนาคต และนำไปสู่การใช้พลังงานของประเทศได้อย่างยั่งยืน
ผศ.ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มช.กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทย เริ่มตื่นตัวและมีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยมียานยนต์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในประเทศไทย 103,702 คัน แบ่งเป็น ยานยนต์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าทั้งแบบไฮบริด และปลั๊กอินไฮบริด(Plug-in Hybrid Electric Vehicle) 102,308 คัน และยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle) 1,394 คัน
โดยสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) จากพลังงานโซลาร์เซลล์ของ มช. ได้ถูกออกแบบและติดตั้งให้สามารถรองรับรองรับยานยนต์ได้ทั้งรถแบบ Hybrid ที่มีการใช้ไฟฟ้าร่วมกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน Plugin Hybrid (PHEV) และรถไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้า 100% (All Electric Car) เครื่องอัดประจุดไฟฟ้าเป็นแบบที่มีหลายหัวจ่ายไฟฟ้าในชุดเดียว โดยมีหัวอัดประจุดแบบ CHAdeMO, CCS Combo2 และ AC Type2 ซึ่งรองรับทั้งการอัดประจุดแบบปกติ (Normal Charge และ Quick Charge) เป็นไปตามมาตรฐานนานาชาติ รองรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ติดตั้งหัวจ่ายกระแสไฟฟ้าตามมาตรฐานยุโรปและญี่ปุ่น ใช้เวลาในการชาร์จแต่ละครั้งประมาณ 30-40 นาที

สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 5 ที่นั่ง วิ่งได้ระยะทางมากกว่า 150 กม./ครั้ง ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง ร้อยละ 20 นับเป็นเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานสีเขียวที่สำคัญ ที่จะช่วยผลักดันให้ มช. ต่อยอดความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยการหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มทางเลือกการใช้พลังงาน ลดการพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ก้าวสู่ CMU Smart City-Clean Energy มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ พลังงานสะอาด เพื่อการพัฒ นาอย่างยั่งยืน

ร่วมแสดงความคิดเห็น