เที่ยวพิพิธภัณฑ์โบราณ สักการะอนุสรณ์สถานทหารญี่ปุ่น ที่วัดหมื่นสาร วัวลาย

ชุมชนวัวลาย เป็นชุมชนวัฒนธรรมย่านการค้าที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.1981 พญาสามฝั่งแกนได้สร้างวัดหมื่นสารขึ้นเป็นศูนย์กลางชุมชน ต่อมาสมัยพระเจ้ากาวิละได้ไปกวาดต้อนผู้คนจากชุมชนงัวลายบริเวณลุ่มแม่น้ำคง และชุมชนชาวเขินจากเมืองเชียงตุง รวมถึงคนจากเมืองยอง เมืองสาด เมืองมาง ฯลฯ ไปจนถึงแคว้นสิบสองปันนาในจีน อพยพผู้คนจากที่ต่าง ๆ มาตั้งรกรากอยู่ในเชียงใหม่ และให้บรรดาช่างฝีมือต่าง ๆ อาศัยอยู่ในบริเวณในและนอกกำแพงเมือง กลุ่มช่างเงินมาตั้งรกรากอยู่ใกล้กับกลุ่มไทเขิน โดยมีวัดนันตาราม วัดศรีสุพรรณ และวัดพวกเปีย เป็นศูนย์กลางชุมชนและเรียกชื่อหมู่บ้านใหม่ตามชื่อของหมู่บ้านเดิมว่า “งัวลาย” หรือ “วัวลาย” เมื่อมาเที่ยวย่านชุมชนวัวลาย จะพบกับร้านขายเครื่องเงิน เครื่องเขินเป็นจำนวนมาก เนื่องจากแต่เดิมผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านนี้เป็นช่างฝีมือที่อพยพเข้ามาในช่วงสมัยของพระเจ้ากาวิละ นอกจากชุมชนวัวลายจะมีชื่อเสียงในเรื่องงานหัตถกรรมแล้วที่ชุมชนแห่งนี้ยังมีเรื่องทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจซ่อนเร้นอยู่ โดยเฉพาะที่วัดหมื่นสาร ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางด้านวัฒนธรรมอีกด้วย
นอกจากนั้นวัดหมื่นสารแห่งนี้ยังเคยใช้เป็นโรงพยาบาลที่ใช้รักษาทหารญี่ปุ่นในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยในปี ค.ศ.1944 กองทัพญี่ปุ่นได้เคลื่อนพลข้ามชายแดนพม่าไปยังมณฑลอิมปาลทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร แต่เนื่องจากการลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ อาหารรวมถึงยารักษาโรคไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้การลำเลียงสิ่งของเหล่านั้นต้องยุติลงเพียงแค่เวลา 3 เดือน ในขณะที่กองทัพญี่ปุ่นกำลังถอยทัพกลับนั้นได้ถูกโจมตีจากศัตรู อีกทั้งการเดินทางที่ยากลำบากผนวกกับไข้ป่าและโรคภัยไข้เจ็บทำให้ทหารญี่ปุ่นจำนวนมากต้องล้มตายลง ทหารที่รอดชีวิตบางส่วนได้ใช้เส้นทางแม่ฮ่องสอนที่เชื่อมต่อระหว่างชายแดนพม่าในการถอยทัพกลับมายังเชียงใหม่ ว่ากันว่ามีทหารญี่ปุ่นจำนวนกว่า 7 หมื่นคนต้องเสียชีวิตในครั้งนี้
ปัจจุบันวัดหมื่นสารร่วมกับกลุ่มอดีตทหารญี่ปุ่นได้จัดสร้างอนุสรณ์สถานทหารญี่ปุ่นขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1970 เพื่อร่วมรำลึกถึงทหารญี่ปุ่นที่เสียชีวิต ณ ที่แห่งนี้ โดยในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี ได้จัดให้มีพิธีบวงสรวงอนุสรณ์สถานทหารญี่ปุ่น นอกจากนั้นยังมีการทำความสะอาดอนุสรณ์สถานปีละ 3 ครั้งคือในเดือนมีนาคม สิงหาคม และธันวาคม เป็นประจำอีกด้วย อนุสรณ์สถานทหารญี่ปุ่นที่วัดหมื่นสาร ได้รับการอนุรักษ์และดูแลรักษาโดยท่านเจ้าอาวาส พระสงฆ์สามเณรรวมถึงชาวบ้านหมื่นสารทุกท่าน
เมื่อไปเที่ยววัดหมื่นสาร ลองแวะไปสักการะอนุสรณ์สถานทหารญี่ปุ่น และชมพิพิธภัณฑ์โบราณซึ่งภายในจัดแสดงสิ่งของ เรื่องราวของชุมชนวัดหมื่นสาร รวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสิ่งของต่าง ๆ นี้ พ.ต.ท.เชิดชาย ชมธวัช เป็นผู้มอบให้กับพิพิธภัณฑ์ฯรวมถึงภาพถ่ายโบราณทหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งถ่ายโดยมร.โทโมะโยชิ อิโนอุเอะ อดีตนายทหารสัตวแพทย์ ผู้ที่รอดชีวิตจากเส้นทางยุทธศาสตร์ในการลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ของเข้าไปยังพม่าในครั้งนั้น
สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์โบราณและสักการะอนุสรณ์สถานทหารญี่ปุ่นที่วัดหมื่นสาร วัวลายได้ทุกวัน

【日本語版】

チェンマイで日本兵を追悼する戦没者慰霊碑と博物館~ワット・ムーンサーン

8月15日、チェンマイ市内ウアラーイ通りにあるワット・ムーンサーンで、毎年恒例となる戦没者の慰霊祭が行なわれた。

ウアラーイ通りと言えば、旅行者の間では週末のナイトマーケットで有名であるが、

実はこのお寺の中には、第2次大戦中の日本兵の所持品などを展示した博物館があるのをご存じだろうか。

ワット・ムーンサーンは、かつて第二次大戦中、日本兵の医療施設として使用されており、負傷者や病人たちが収容されていた。

そして1944年、日本の敗色が濃厚となり、インパール作戦のころを境に、寺の病院は連日負傷兵であふれるようになった。

タイからミャンマーの山岳地を越えてインドのインパールを目指す道はあまりにも険しく、物資や食料などの供給は途切れがちになり、病死や餓死をする者が続出した。

また、移動中に敵兵からの襲撃に遭うこともあり、1945年に戦争が終結するまでの間、実に7万人以上がこの地で命を失ったと言われている。

こうした史実を現在に伝えているのが、ワット・ムーンサーンの慰霊碑と博物館である。

終戦後1970年、ワット・ムーンサーンに日本人の有志により戦没者の慰霊碑が建立された。

碑には、「戦友よ、安らかに眠れ」の文字が刻まれている。

現在も、ボランティアによる寺院内の清掃が年3回行われている。

碑のすぐ後ろの建物は博物館になっていて、日本兵が持っていた日用品などが常設展示されている。

これらの展示品はすべて、当時の歴史を1冊の貴重な本にまとめた故チューチャイ氏によって収集されてきたものである。

また、展示されている写真は、当時軍医を務めていたイノウエ・トモヨシ氏の撮影で、当時の様子がありありと伝わってくる。

場所は、旧市街南のチェンマイ門南側にあるウアラーイ通り、ワット・ムーンサーン。

もしもあなたが、チェンマイのウアラーイ通りを訪れた際は、7万人以上の日本兵の死を追悼する慰霊碑と、彼らの面影が残る博物館もぜひご覧になってみてほしい。

บทความโดย
จักรพงษ์ คำบุญเรือง

ร่วมแสดงความคิดเห็น