ระบบชำระเงินในโลกยุคใหม่

ขณะที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดซึ่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างรวดเร็วนั้น ระบบการ ชำระเงินก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในนวัตกรรมทางการเงินที่กำลังนำไปสู่การชำระเงินรูปแบบใหม่และสร้างแรงกดดันให้ระบบสถาบันการเงิน
ทั่วโลกต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นจาก “ผู้เล่นใหม่” ซึ่งอาจเข้ามาพลิกโฉมระบบการชำระเงินให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในหลายมิติ ประเมินว่า การเข้าสู่ภูมิทัศน์ใหม่ของระบบชำระเงินจะทำให้เส้นแบ่งระหว่าง การเป็นผู้ให้บริการทางการเงินกับผู้ให้บริการในอุตสาหกรรมและบริการอื่นเลือนรางลง ส่งผลให้รูปแบบบริการชำระเงินของธนาคารเปลี่ยนไปเป็นตัวกลางเชื่อมโยงผู้เกี่ยวข้องในการซื้อขายสินค้าและบริการมากขึ้น อันจะช่วยให้ธนาคารเข้าถึงฐานข้อมูลพฤติกรรมการชำระเงินของผู้บริโภคและรักษาความสามารถในการแข่งขันเอาไว้ได้ สถานการณ์ดังกล่าวคาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระบบชำระเงินของไทยภายในเวลาไม่นานจากนี้ไป
ในยุคที่โลกก้าวเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่นำไปสู่การผลิตในรูปแบบใหม่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligent) และอินเตอร์เนตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things) หุ่นยนต์ (Robotic) การวิเคราะห์ด้วยข้อมูลขนาดใหญ่ ภาคการเงินก็กำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งส าคัญจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech ซึ่งก่อให้เกิดเปลี่ยนรูปแบบของบริการทางการเงินในด้านต่างๆ โดยมีผู้เล่นใหม่ที่มิใช่สถาบันการเงินอย่างบริษัทเทคโนโลยีได้เข้ามาแข่งขันกับสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะการเข้ามาเป็นผู้ให้บริการในระบบชำระเงินซึ่งมีรูปแบบของบริการซับซ้อนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับบริการทางการเงินประเภทอื่น
เทคโนโลยีทางการเงินที่จะนำไปสู่ระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนวัตกรรมทางการเงินที่ไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของบริการทางการเงิน (Non-disruptive innovation) โดยสถาบันการเงินยังมีบทบาทสำคัญในการให้บริการทางการเงิน และกลุ่มนวัตกรรมทางการเงินที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของบริการทางการเงิน (Disruptive innovation)ซึ่งมีความแตกต่างที่สำคัญ ดังนี้

 Non-disruptive innovation เป็นนวัตกรรมทางการเงินที่พัฒนาต่อยอดจากการบริการช าระเงินในรูปแบบเดิมที่ธนาคารพาณิชย์ให้บริการ เช่นบัตรเครดิต บัตรเดบิต บัญชีธนาคาร โดยมีหัวใจสำคัญคือ การสร้างความเชื่อใจ (Trust) ในสถาบันการเงินที่เป็นตัวกลางในการทำธุรกรรมทางการเงินเพื่อเชื่อมโยงผู้เกี่ยวข้องในระบบทั้งผู้บริโภค ร้านค้า เครือข่ายชำระเงิน (Payment network) ผ่านขั้นตอนการโอนเงิน (Fund transfer) และการยืนยันตัวตนของผู้ถือบัตรและการอนุมัติชำระเงิน นวัตกรรมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้จะนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงบริการชำระเงินเพื่อเชื่อมต่อผู้บริโภคโดยตรงช่วยให้การชำระเงินมีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ Open loop mobile payment solution: นวัตกรรมที่ช่วยให้เกิดความสะดวกและปลอดภัย ณ จุดรับช าระเงิน เพิ่มความสะดวกแก่ผู้บริโภคทดแทนการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แบบเดิม เช่น การใช้ QR Payment การส่งผ่านข้อมูลผ่านการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ตัวอย่างเช่นการชำระเงินโดยใช้ Google wallet, Samsung Pay และ Apple Pay เป็นต้น

 Closed-loop mobile payment solution: นวัตกรรมที่เชื่อมโยงระหว่างร้านค้าและเครือข่ายระบบชำระเงินช่วยลดขั้นตอนที่ผู้บริโภคต้องชำระเงินผ่านบัตรกับร้านค้า ตัวอย่างเช่น การช าระเงินผ่าน PayPal ที่ท าหน้าที่เป็น Payment gateway ที่รวบรวมการชำระเงินผ่านบัตรประเภทต่างๆลูกค้าจะชำระเงินผ่าน PayPal แทน จึงลดความเสี่ยงที่ข้อมูลลูกค้าจะรั่วไหลจากการทำธุรกรรมออนไลน์

 Integrated payment apps และ Streamlined payment solution: นวัตกรรมที่เกิดขึ้นทดแทนการชำระเงินผ่านจุดชำระเงินเดิม ผ่าน Application บนโทรศัพท์มือถือทำให้ร้านค้าสะดวกที่จะให้บริการชำระเงินมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การให้บริการเรียกแท็กซี่ผ่าน Applicationของ Grabหรือ UBER
ขณะที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดซึ่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างรวดเร็วนั้น ระบบการ ชำระเงินก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในนวัตกรรมทางการเงินที่กำลังนำไปสู่การชำระเงินรูปแบบใหม่และสร้างแรงกดดันให้ระบบสถาบันการเงินทั่วโลกต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นจาก “ผู้เล่นใหม่” ซึ่งอาจเข้ามาพลิกโฉมระบบการชำระเงินให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในหลายมิติ คาดว่า การเข้าสู่ภูมิทัศน์ใหม่ของระบบชำระเงินจะท าให้เส้นแบ่งระหว่าง การเป็นผู้ให้บริการทางการเงินกับผู้ให้บริการในอุตสาหกรรมและบริการอื่นเลือนรางลง ส่งผลให้รูปแบบบริการชำระเงินของธนาคารเปลี่ยนไปเป็นตัวกลางเชื่อมโยงผู้เกี่ยวข้องในการซื้อขายสินค้าและบริการมากขึ้น อันจะช่วยให้ธนาคารเข้าถึงฐานข้อมูลพฤติกรรมการช าระเงินของผู้บริโภคและรักษาสามารถในการแข่งขันเอาไว้ได้ สถานการณ์ดังกล่าวคาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระบบชำระเงินของไทยภายในเวลาไม่นานจากนี้ไป

ส่วนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของระบบการชำระเงินโลกในปัจจุบันจนถึงระยะ 1-2 ปีข้างหน้า คาดว่าจะยังเป็นการแข่งขันระหว่างสถาบันการเงินและ Non-banks ด้วยนวัตกรรมแบบ Non-disruptive innovation เป็นหลัก จากความพร้อมของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในกลุ่มดังกล่าวที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย เช่น การใช้ QR payment การพัฒนาระบบชำระเงินผ่าน Application บนโทรศัพท์มือถือ
ประกอบกับการส่งเสริมจากภาครัฐอาจส่งผลบวกต่อพฤติกรรมผู้บริโภคให้เข้าถึงนวัตกรรมการช าระเงินรูปแบบใหม่มากขึ้น จึงเอื้อให้หลายประเทศในโลกก้าวเข้าสู่ การเป็นสังคมไร้เงินสดได้อย่างรวดเร็วขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้

วิจัยกรุงศรี ข้อมูล

ร่วมแสดงความคิดเห็น