เวียงกุมกามตามหาทัวร์ อย่ามัวรอละครช่วยปลุกผี

อีกหนึ่งนคราดั่งเงาซ้อนในกาลเวลาร่วมสมัยอดีตกับปัจจุบันของเวียงเชียงใหม่ ราชธานีซึ่ง”พระเจ้ามังราย” เนรมิตขึ้นก่อนปีพ.ศ.2527 เมืองโบราณใต้พิภพแห่งนี้มีเพียงตำนานเล่าลือว่าตั้งอยู่ในอาณาบริเวณฝั่งต.ออกของสายน้ำปิง น่าจะเป็นแถวๆบ้านท่าวังตาล อำเภอสารภี ที่ไหนไม่แน่ชัด
จนกระทั่งชุมชน หมู่บ้าน ในพื้นที่ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานช่วงรัตนโกสินทร์ ร้อยกว่าปีเห็นเศษกระเบื้องดินเผา ซากอิฐ พระพิมพ์ กระจายเกลื่อนจากการขุด สร้างบ้าน พักอาศัย ประกอบกับ หน่วยงานด้านโบราณคดี มีการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานจำนวนมากในเชียงใหม่

ผู้นำชุมชนจึงประสานท้องที่ แจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ ในขณะนั้น เริ่มเข้ามาขุดค้นทางโบราณคดี บริเวณวัดช้างค้ำ หรือวัดกานโถมช้างค้ำในวันนี้ ทำให้พบเห็นร่องรอยของเวียงกุมกาม ในกลุ่มโบราณสถานต่างๆ กว่า 40 แห่ง และยังมีอีกมาก ที่ฝังอยู่ใต้ผืนดิน รองบประมาณ ขุดค้น ขุดแต่งต่อๆไป เพราะยิ่งขุด ยิ่งพบร่องรอยอดีต ตำนานอันยิ่งใหญ่ของ”เวียงกุมกาม” ซึ่งเดิมปรากฎในหลักฐาน เอกสารทางประวัติศาสตร์ อาทิ โคลงนิราศหริภุญไชย ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ศิลาจารึกหลักที่ 62 วัดพระยืน ชินกาลมาลีปกรณ์ ตำนานมูลศาสนา เป็นต้น
หากยอมรับ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อได้ว่า พระยามังรายยกทัพมาตี หริภุญไชยนคร ในปีพศ. 1824 เวียงกุมกาม น่าจะสร้างขึ้นราวๆปีพศ.1829 มุมมอง หลักฐาน ตำนานที่นักวิชาการประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี เสวนาท้าทายบทสรุปว่า จุดเริ่ม และฉากจบจะเป็นไปอย่างไรกันแน่และน่าสนใจว่า เวียงที่ยิ่งใหญ่ เหตุใดจึงจมใต้ผืนทรายยาวนานเกือบ 700 ปี กว่าจะค้นพบเมืองที่ซ่อนใต้ผืนพิภพลึกลงไปกว่า 5-10 เมตรน่าเสียดายที่งบบางส่วนถูกใช้ไปในกิจกรรม โครงการ ที่ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน จนไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่าเท่าที่ควร แต่ก็น่ายินดี ที่มีศูนย์บริการข้อมูล เวียงกุมกาม ที่เป็นหน้าตาของชุมชน ได้ปักหลักอาศัย ตำนาน แหล่งโบราณคดี สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวชุมชนที่ผ่านๆมาโครงการแล้ว โครงการเล่า เป็นเพียงจังหวะกระตุ้น ความสนใจ ใน”เวียงกุมกาม “เป็นพักๆ อาทิงานมหัศจรรย์ นครโบราณใต้พิภพ การพัฒนาปรับแต่งพื้นที่ต้อนรับผู้ร่วมประชุมวิชาการด้านน้ำ จากทั่วโลก เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา กับมูลค่างบที่ไม่น้อยกว่า 3 ร้อยล้านบาท กระทั่งงบเล็กๆน้อยๆในรูปแบบ งบท้องถิ่น งบหน่วยงาน ดูแล บำรุงแหล่งโบราณเวียงกุมกาม ซึ่งคงไม่สามารถปลุกตำนาน เมืองเก่าแก่ ให้อยู่ในกระแสสนใจ รวมถึงการสร้างละคร “เวียงกุมกาม” ของค่ายละครดัง ที่สร้างละครแนวประวัติศาสตร์ จนติดอด ติดใจออเจ้าทั่วประเทศ ท้ายที่สุด กระแสที่ปั่นกันมาเป็นพักๆ กับละครฟอร์มยักษ์ เมื่อ 10 ปีที่แล้วก็ลอยหายไปกับสายน้ำปิงในแต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติ เดินทางมาเที่ยว ขี่จักรยาน รอบเวียงกุมกาม นั่งรถม้า รถราง ไปตามเส้นทางที่กำหนดเป็นรายการทัวร์ ซากเจดีย์ วัดเก่าๆที่ไม่ปรากฎชื่อในตำนาน แต่เป็นการสมนาคุณผู้บริจาคที่ดิน ให้ขุดค้น อาทิ วัดปู่เปี้ย วัดป้าด้อม นครโบราณ เวียงกุมกามที่ราชบุตรแห่งเงินยาง หาญกล้า หาญรบศึก ลือไกล บันทึกไว้เป็นตำนานว่าคือ “พระยามังราย” บางทีก็ยากจะพิสูจน์ว่า โศกนาฎกรรมเมืองล่มสลาย จมใต้ผืนน้ำ ผืนทราย และชายผู้ลั่นสัจจะวาจา หากผิดคำสาบาน” มีนึ่งแล้วบ่แอบแถมสอง บ่ปองคนใดต่อไปวันหน้า จะให้ฟ้าลงโทษ ” เวียงกุมกาม อาจถูกกำหนดให้เป็นอย่างที่เป็น งบประมาณที่ทับถมไป ก็คงดั่งเม็ดทรายละลายไปตามสายน้ำปิง การพัฒนาก้าวตามการอนุรักษ์ และความพยายามปลุกกระแสทัวร์ หวังสร้างละคร สิ่งเหล่านี้จะช่วยปลุกมนตรา เวียงกุมกาม ให้คืนความยิ่งใหญ่ได้จริงหรือ

ร่วมแสดงความคิดเห็น