มช.โชว์ฝีมือนักวิจัย นวัตกรรมข้าวไทยสายพันธุ์ใหม่ข้าวก่ำ ล้านนา

กว่า 10 นักวิจัย มช.พัฒนาข้าวก่ำสายพันธุ์ใหม่ได้สำเร็จ โชว์ฝีมือนักวิจัย นวัตกรรมข้าวไทยสายพันธุ์ใหม่ข้าวก่ำ ล้านนา ความสำเร็จของนักวิจัย คณะวิจัยจากสาขาวิชาพืชไร่ ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ พัฒนาข้าวก่ำล้านนาสายพันธุ์ใหม่ ด้วยการทดลองปรับปรุงพันธุ์ โดยใช้วิธีคัดเลือกพันธุ์แท้แบบ Pure Line Selection จนได้ข้าวก่ำสายพันธุ์ใหม่ในชื่อว่า “ก่ำหอม มช.” มีคุณ สมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

จากผลงานของ รศ.ดร.ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย เผยว่าพัฒนาข้าวก่ำล้านนาสายพันธุ์ใหม่ ด้วยการทดลองปรับปรุงพันธุ์ โดยใช้วิธีคัดเลือกพันธุ์แท้แบบ Pure Line Selection จนได้ข้าวก่ำสายพันธุ์ใหม่ในชื่อว่า “ก่ำหอม มช.” ซึ่งมีกลิ่นหอม มีปริมาณธาตุเหล็ก สังกะสี และแอนโทไซยานินสูง มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยในการป้องกันโรคหัวใจ ลดคอเรสเตอรอล ลดน้ำตาลในเลือด ยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งกระเพาะ ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร และยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด โดยยังคงมีแผนการใช้เทคโนโลยีวิจัย และพัฒนาสายพันธุ์ต่อไป เพื่อให้ได้ข้าวก่ำคุณภาพสูง ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และคาดว่าจะพร้อมออกสู่ตลาดได้ในอีก 2-3 ปี ข้างหน้า

นอกจากนี้ ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มช. โดย ดร.ปณิตา บุญสิทธิ์ และ รศ.ดร.ดำเนิน กาละดี ร่วมกันพัฒนาข้าวอีกสายพันธุ์หนึ่ง ชื่อว่า “ก่ำเจ้า มช.107” โดยนำข้าวก่ำสายพันธุ์ “ก่ำดอยสะเก็ด” (พันธุ์พ่อ) มาผสมกับข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 (พันธุ์แม่) ใช้วิธีการปลูกคัดเลือกข้าวลูกผสมแบบสืบตระกูล (Pedigree Method of Selection) ควบคู่กับการตรวจสอบความหอม การประ เมินความสามารถในการปรับตัวและเสถียรภาพ จนเกิดเป็นข้าวเจ้าก่ำสายพันธุ์ดี ที่สามารถปลูกในเชิงเกษตรกรรมได้ โดยมีลำต้นสูงประมาณ 143 ซม. แต่ให้ผลผลิตมากถึง 680 กก./ไร่ (โดยประมาณ) ซึ่งมีลักษณะเด่นโดยมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วงดำสนิท ไม่มีสีอื่นปน และเมื่อหุงสุกหรือเย็นแล้วเม็ดข้าวก็ยังคงมีลักษณะนุ่ม ทั้งนี้ ข้าวสายพันธุ์ดังกล่าว ได้จดทะเบียนขึ้นเป็นพันธุ์พืชใหม่ เมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา และพร้อมออกสู่ตลาดแล้ว

ตลอดการพัฒนาข้าวก่ำสายพันธุ์ใหม่ STeP ได้สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนากระบวนการผลิตข้าวคุณภาพพิเศษของเชียงใหม่ ผ่านโครงการวิจัยร่วมเอกชน (Collaborative Research Program) และโครงการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยี และวิจัยของภาคเอกชนในพื้นที่ (IRTC) ด้วยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าไปพัฒนาและยกระดับข้าวไทย เพื่อเพิ่มมูลค่าตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวก่ำไทยสู่ระดับเศรษฐกิจ
dav
dav

ร่วมแสดงความคิดเห็น