เตือนภัย พิษจากแมลงกัดต่อย อันตรายถึงชีวิตได้

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เตือนภัย อันตรายจากแมลงมีพิษบริเวณ ที่พักอาศัย ชี้พิษอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ แนะนำให้หลีกเลี่ยงและป้องกันตัวเอง จากการถูกแมลง กัดต่อย นอกจากนี้ยังได้จัดทำหนังสือแมลง สัตว์ และพืชมีพิษและเป็นอันตราย ไว้สำหรับหน่วยงานหรือประชาชนที่สนใจฟรี
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รักษาราชการแทน อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า อันตรายที่เกิดจากแมลงมีพิษ เป็นภัยด้านสุขภาพอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะแมลงมีพิษหลากหลายชนิด เช่น มด ตัวต่อ และผึ้ง เป็นต้น มักมาหาอาหารหรือสร้างรังอยู่ใกล้กับที่พักอาศัยของคน โดยคนเราจะได้รับพิษจากการถูกกัดถูกต่อย หรือจากการไปสัมผัสกับแมลงโดยตรง อา การหลังจากได้รับพิษ จะมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขั้นร้ายแรงคือเสียชีวิต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทาน อาการแพ้ของแต่ละคน ชนิดของแมลง สภาพร่างกาย อายุ บริเวณที่ได้รับพิษ รวมทั้งปริมาณพิษที่ได้รับ
อาการเบื้องต้นของผู้ถูกแมลงพิษเหล่านี้กัดต่อยคือ จะรู้สึกเจ็บปวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าโดนผึ้งต่อย ต้องรีบสำรวจบาดแผล หากพบเหล็กในให้รีบเอาออก โดยใช้ลูกกุญแจที่มีรูกดที่แผลแล้วจะเห็นเหล็กในยื่นออกมา หรืออาจใช้แหนบคีบดึงออกมา และห้ามคลึงที่แผลเพราะจะทำให้พิษกระจายเป็นวงกว้างมากขึ้น จากนั้นให้ประคบ ด้วยน้ำแข็ง บริเวณที่ถูกต่อยจะมีอาการบวมแดงและต่อมาจะรู้สึกคัน ซึ่งต้องรักษาความสะอาดบริเวณบาดแผล และอย่าไปแกะเกา เพราะจะทำให้เกิดเป็นตุ่มหนองได้ เนื่องจากการติดเชื้อ ส่วนในรายที่มีอาการแพ้พิษ อาจมีผื่นขึ้นตามลำตัวอย่างผิดปกติ ตามมาด้วยอาการหายใจลำ บาก อึดอัด แน่นหน้าอก รู้สึกเหมือนจะเป็นลม เนื่องจากหลอดลมตีบ รวมทั้งความดันจะลดลงอย่างรวด เร็ว ซึ่งถ้ารู้สึกเช่นนี้ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายถึงกับเสียชีวิตได้“กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพประชาชน จากการได้รับพิษจากแมลง จึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงแมลงพิษเหล่านี้ โดยห้ามไม่ให้ไปรบกวนรังเด็ดขาด หากพบเห็นรังอยู่ใกล้ที่พักอาศัย และต้องการทำลาย ควรให้หน่วยงานหรือผู้ประกอบการกำจัดแมลง ที่มีความชำนาญมาดำเนินการให้ นอกจากนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังได้จัดทำหนังสือแมลง สัตว์ และพืชที่มีพิษและเป็นอันตราย ไว้เพื่อแจกจ่าย ให้ความรู้กับหน่วยงานหรือประชาชนผู้สนใจฟรี โดยสามารถติดต่อขอรับได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ หรือสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โทร. 0-2951-0000 ต่อ 99081, 99238” นพ.โอภาส กล่าว

ร่วมแสดงความคิดเห็น