นกกระรางหัวหงอก (White-crested Laughingthrush)

เรื่องการส่งเสียงดังเจียวจ้าว…เมื่อเวลารวมฝูง นี่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของนกชนิดนี้ ที่ขนพุ่มหงอนสีขาวบนหัวนั่นก็คือ “ นกกระรางหัวหงอก ”
นกกระรางหัวหงอก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Garrulax leucolophusวงศ์ : Sturnidae อันดับ : Passeriformes มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Garrulaxleucolophus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือ leuc หรือ loukos แปลว่า หงอน หรือ พุ่มขน ความหมาย คือ นกที่มีพุ่มหงอน ขนบนหัวเป็นสีขาว ทั่วโลกมี 5 ชนิดย่อย สำหรับประเทศไทย นกกระรางหัวหงอก ที่พบในประเทศไทย มี 2 ชนิดย่อย คือชนิดย่อย G .l . belangeri และ ชนิดย่อย G . l . diardi

ลักษณะทั่วไป มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว 30 เซนติเมตร ตัวค่อนข้างโต มีลักษณะเด่น อยู่ที่มีขนบนหัวสีขาวฟูคล้ายผมหงอก คอและท้องตอนบนเป็นสีขาว มีปากสีดาและมีแถบสีดา ลากจากโคนปากพาดผ่านตาถึงข้างแก้ม ปากตรง และ ตอนปลายปากบน เป็นของุ้ม คลุมปลาย ปากล่างไว้โดยปากจะสั้นกว่าหัว ที่มุมปากมีขนเส้นแข็งๆ สั้นๆ ด้วย ท้ายทอยสีเทา หลัง ไหล่ ตะโพกสีแดงอมน้าตาล ขนหางสีน้าตาลคล้ำๆ ลำตัวด้านล่างเลยจากท้องตอนบนเป็นสีน้าตาล แดงอ่อนๆ

นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน ปีกของนกกะรางจะสั้น มนกลม และอยู่แนบชิดลาตัว มาก จึงใช้บินได้ในระยะใกล้ๆ เท่านั้น จะบินอพยพ ไปไหนมาไหนไกลๆไม่ได้เลย ขนปลายปีก มี 10 เส้น หางคู่นอก ค่อนข้างยาว และ ยาวกว่าปีก ขนหางมี 12 เส้น ซึ่งแต่ละคู่จะยาวลดหลั่นกันลงไป ขนหางคู่บนยาวที่สุด ขา ของนก กะราง ค่อนข้าง ใหญ่ และ แข็งแรง ปกคุลมด้วยเกล็ด ขนาดใหญ่ ที่เรียงซ้อนทับกัน นิ้วเท้าแข็งแรง ยื่นไปข้างหน้า 3 นิ้ว และ ยื่นไปข้างหลัง 1 นิ้ว ใช้กระโดดไปไหนมาไหน ได้คล่องแคล่ว รวดเร็วมาก จนเราส่องกล้องตามดูมันแทบไม่ทัน นกตัวผู้ และ นกตัวเมีย มีสีสันเหมือนกัน

ถิ่นที่อยู่อาศัย การกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียตอนใต้ ตั้งแต่ตะวันตกของเทือกเขาหิมาลัยจนถึงจีน ด้านตะวันออกพบใน เมียนมา ไทย และอินโดจีน สำหรับในประเทศไทย เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้บ่อยในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขาป่าไผ่ และป่าชั้นรอง จากที่ราบจนถึงความสูงจนถึงระดับความสูง 2,400 เมตรจากระดับน้าทะเล แต่โดยมากจะอยู่ที่ระดับ 600 – 1,200 เมตร ในภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาตะวันออกเฉียงเหนือในบางพื้นที่

อาหาร ของนกกระรางหัวหงอก มีทั้งพืช และสัตว์ เช่น มะเม่าเขา หว้า ลูกใต้ใบ เหมือด โลดตีนนก ไทร กลีบดอกไม้บางชนิดด้วย แมลงจำพวกตั๊กแตน และ จักจั่น ปลวก หนอนตาม กอไผ่ผุๆ

นกกระรางหัวหงอก ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ตั้งแต่ 2 – 3 ตัว จนถึง 15 ตัว หรือมากกว่า โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง เรามักจะพบนกกระรางหัวหงอก มารวมกันเป็นฝูงใหญ่ เป็นนกที่ปากมากโวยวาย ในเวลากำลังหากิน มันจะส่งเสียงร้องไป เรื่อยๆ ไม่ใคร่หยุดปาก แทบทุกๆ 4-5 นาที พอตัวหนึ่งร้อง ตัวอื่นๆก็จะร้อง ตามไปด้วย ราวกับแข่งขันกันว่า ใครจะร้องได้ดังกว่ากัน ในขณะที่มันร้องนี้ มันก็ไม่หยุดนิ่ง เพราะมันกระโดด หากินไปเรื่อยๆ หรือไม่ก็ขยับปีกถี่ๆ บินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งอยู่ร่ำไป ที่เสียงร้องของมันมีอยู่
วางไข่ครั้งละ 2 -5 ฟอง เปลือกไข่สีขาว ลักษณะกลมรีล้วน ขนาดราว 23 x 28 มิลลิเมตร นกทั้งสองเพศช่วยกันกกไข่ ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 2 สัปดาห์ ลูกนกจะมีแต่หนัง เปลือยเปล่า ยังไม่ลืมตา

เนื่องจากพ่อแม่นกเริ่มกกไข่ ตั้งแต่วางไข่ฟองแรก ลูกนกจึงมีขนาดไม่เท่ากัน เมื่อออกจากไข่แล้วนกทั้งฝูงซึ่งบางตัวอาจเป็นลูกที่เกิดเมื่อปีก่อน และยังไม่ได้จับคู่ จะช่วยกันหาอาหารมาป้อนลูกนก โดยอาหารของลูกนกมีทั้งหนอน แมลง และอาหารที่ย่อยแล้ว ที่พ่อแม่นกสารอกออกมาให้ เมื่อมีศัตรูเข้ามาใกล้รัง นกทั้งฝูงจะช่วยกันส่งเสียงร้องขับไล่ ถ้ายังเข้ามาอีกก็จะรุมจิกตีทันที เมื่อ อายุประมาณ 11 – 12 วัน ลูกนกก็ออกจากรังตามพ่อแม่ไปหากินได้แล้ว แต่ก็ยังรับอาหารที่นำมาป้อนอยู่

ด้วยสถานภาพทางกฎหมาย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2534 ที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น