วัดฟ้าฮ่าม ฟ้าสว่างไสว เรืองรอง ส่องทางนำจิตใจ

ต้นโพธิ์ยืนต้นสูงใหญ่ประมาณ 2-3 ชั้น แตกใบอ่อนสีเขียวสดที่บริเวณหน้าวิหาร ต้นสมอ และต้นมะตูมอายุนับร้อยปีกระจายอยู่ในวัดให้ร่มเงา ตุง 12 ราศี ประจำปีเกิดเรียงร้อยแขวนประดับในวิหารโบกสะบัดไหวด้วยกระแสลมเย็นที่ “วัดฟ้าฮ่าม”

พระเจ้าแสนเมืองมา พระเจ้าลักขบุราคม พระองค์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงคศ์มังราย(เม็งราย)องค์ที่ 9 ทรงเป็นราชโอรสของพระเจ้ากือนาธรรมมมิกราช กษัตริย์องค์ที่ 8 เมื่อพระชนมายุได้ 15 พรรษา ในเวลานั้นพระเจ้าพรมหพระเจ้าอาว์ของพระองค์ครองเมืองเชียงราย ได้ยกทัพมาตีนพบุรีศรีนครพิงค์(เชียงใหม่) เพื่อแย่งชิงราชบัลลังก์แต่ถูกทัพหลวง ภายใต้การนำของ ขุนแสนผานองตีพ่ายกลับไป จึงไปอาศัยเจ้าเมืองวชิรปราการ(กำแพงเพชร)ก็เกิดมีเรื่องกินใจกับเจ้าเมืองวชิราปราการ จึงอพยพมายังเมืองเชียงใหม่อีก เพื่อขอพระราชอภัยโทษ พระเจ้าแสนเมืองมาก็โปรดพระราชทานอภัย พระเจ้าพรหมจึงนำพระพุทธสิงหิงค์(พระสิงห์)องค์สำคัญคู่บ้านคู่เมือง สร้างเมื่อ พ.ศ.700 ตามตำนาน “สิงหลปฎิมา” และชินกาลมาลีปกรณ์ สร้างขึ้นที่ประเทศศรีลังกานัยหนึ่งว่า ที่เมือง(อนุราชสิงหล)ประเทศเดียวกัน ครั้งเมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้แต่งราชทูตไปขอมาจากประเทศศรีลังกา มาถวายพระเจ้าแสนเมืองมา

โดยอัญเชิญจากเชียงรายมาทางลำน้ำกก แล้วมาขึ้นที่สบฝางกุสะนคร(เมืองฝาง) จากนั้นอัญเชิญขึ้นหลังช้างมาเชียงดาว เพื่อลงเรือล่องมาตามเส้นทางลำน้ำแม่ระมิงค์(แม่ปิง)ครั้นมาถึงนพบุรีศรีนครพิงค์แล้ว อัญเชิญขึ้นที่ท่าวังสิงห์คำเหนือท่าเจดีย์งามประมาณ 50 วา แต่ว่าเกิดเหตุการณ์ปาฏิหาริย์ขององค์ พระพุทธสิหิงค์ ปรากฏว่าท้องฟ้าที่สว่างก็มืดลง และมีพระรัศมีจากองค์พระพุทธสิหิงค์พุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลำแสงสีทองยาว ประมาณ 2,000 วา และสิ้นสุดลง ณ ที่แห่งหนึ่งท้องฟ้านั้นก็สว่างซึ่งเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก พระเจ้าแสนเมืองมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง อารามขึ้น ณ ที่ลำแสงสิ้นสุดนั้นว่า “อารามฟ้าฮ่าม”(วัดฟ้าฮ่าม)หมายถึง ฟ้าสว่าง อร่าม เรืองรอง สร้างเมือ พ.ศ.1943 จากนั้นนำพระพุทธสิงหิงค์ไปประดิษฐาน ณ วัดลีเชียงพระ หรือ วัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในปัจจุบัน

ร่วมแสดงความคิดเห็น