อธิบดีปศุสัตว์คุมเข้มอาหารจากสกุรจากประเทศเสี่ยงโรคหลังพบจากจีน

บ่ายวันที่ 26 พ.ย.2561 ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด จ.เชียงใหม่ กรมปศุสัตว์ประชุมดาวนหลังจากตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกรจากไส้กรอกที่ตรวจยึดได้จากนักท่องเที่ยวชาวจีนกรมปศุสัตว์วางมาตรการเข้มงวดป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรสามารถตรวจยึดไส้กรอกปนเปื้อนสารพันธุกรรมของเชื้อฯ จากนักท่องเที่ยวชาวจีนและเร่งซ้อมแผนรับมือต่อเจ้าหน้าที่ภาคเหนือตอนบน หากพบสุกรป่วยตายผิดปกติแจ้งเจ้าหน้าที่โดยด่วนแม้ไม่ติดต่อสู่คนแต่ก่อความเสียหายร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ แถลงข่าวหลังเป็นประธานเปิดการซ้อมแผนการรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรตามแผนที่ได้จัดทำขึ้นแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานนับตั้งแต่ระดับอำเภอจนถึงสำนักงานปศุสัตว์เขตในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน รวมทั้งภาคเอกชนได้สนับสนุนงบประมาณในการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคเข้าประเทศที่ด่านกักกัน ภายหลังจากได้รับรายงานจากสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ ถึงผลการตรวจยืนยันด้วยวิธีRealtime-PCR และ Sequencingพบการปนเปื้อนสารพันธุกรรมของเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในผลิตภัณฑ์ไส้กรอก ที่ด่านกักกันสัตว์ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ตรวจยึดน้ำหนักประมาณ 800 กรัมจากนักท่องเที่ยว ที่เดินทางจากเมืองเฉินตู สาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยสายการบินเสฉวนแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 3U8287 และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการตามมาตรการตรวจสอบที่เข้มงวดในสินค้าและนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงที่พบการระบาดของโรค

อย่างไรก็ตามเพื่อ เป็นการควบคุมป้องกันโรคมิให้เข้ามาระบาดภายในประเทศสำหรับการตรวจพบการปนเปื้อนสารพันธุกรรมของเชื้อดังกล่าวในผลิตภัณฑ์จากสุกรที่นักท่องเที่ยวนำติดตัวมาประเทศไทยนับเป็นประเทศที่สามในเอเชียต่อจากเกาหลีใต้และญี่ปุ่นที่สามารถตรวจพบภัยคุกคามดังกล่าวได้ ในปี 2561 องค์การสุขภาพสัตว์โลกรายงานการพบโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever) ในประเทศต่างๆทั่วโลกจำนวน 16ประเทศ จำแนกเป็นทวีปยุโรป 11 ประเทศ ทวีปแอฟริกา 4 ประเทศ และล่าสุดที่ทวีปเอเชีย 1 ประเทศคือสาธารณรัฐประชาชนจีนที่พบการระบาดในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมากรมปศุสัตว์จึงได้กำหนดมาตรการการตรวจสอบที่เข้มงวดในสินค้าและนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงที่พบการระบาดของโรคอีกทั้งรัฐบาลไทยโดยกรมปศุสัตว์ร่วมกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรพร้อมทั้งองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องมีความตระหนักถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการผลิตสุกรของไทยหากเกิดการระบาดโรคในประเทศไทย

ทั้งนี้ขอความร่วมมือเกษตรกรให้ยกระดับการเลี้ยงสุกรให้มีระบบการป้องกันโรคที่ดีตามมาตรฐาน GAP และหากเป็นรายย่อยให้ใช้มาตรฐานการป้องกันและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM)ตรวจสอบแหล่งที่มาของสุกรก่อนเข้าฟาร์มร่วมกับการจัดการด้านระบบความปลอดภัยทางชีวภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ใช้เศษอาหารที่มาสุกรนำมาเลี้ยงสุกรหรือนำผลิตภัณฑ์ที่มาจากสุกรเข้าฟาร์มโดยเด็ดขาดรายย่อยที่มีจำเป็นต้องใช้เศษอาหารเลี้ยงสุกรให้ต้มให้สุกก่อน ซึ่งจะช่วยป้องกันการนำโรคเข้าสู่ฟาร์มได้

นอกจากนี้ให้สังเกตอาการสุกรอย่างใกล้ชิด หากพบสุกรแสดงอาการป่วยเช่น มีไข้สูงเบื่ออาหาร ผิวหนังเป็นปื้นแดงและต่อมาเป็นสีเขียวคล้ำพบภาวะแท้งในแม่สุกรและมีจำนวนสุกรตายผิดปกติให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที หรือcall center 063-225-6888 หรือที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด”เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เร่งดำเนินการให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

ร่วมแสดงความคิดเห็น