Merry Chrismas! 5 เกร็ดน่ารู้ในวันคริสต์มาส

หากนึกถึงเทศกาลที่ทำให้นึกถึงหิมะขาวๆ กวางเรนเดียร์ และกล่องของขวัญจากหนุ่มใหญ่เครางามสวมชุดแดงที่เด็กๆต่างเฝ้าคอยจะเป็นเทศกาลใดไปไม่ได้เลย นั่นคือเทศกาลวันคริสต์มาส (Christmas) ซึ่งมาจากคำภาษาอังกฤษโบราณ ว่า Christes Maesse ที่แปลว่า บูชามิสซาของ พระคริสตเจ้าเพราะการร่วมพิธีมิสซา เป็นประเพณีสำคัญที่สุดที่ชาวคริสต์ถือปฏิบัติกันในวันคริสต์มาส

โดยคำว่า Christas Maesse ถูกพบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษในปี 1038 และคำนี้ก็ได้แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas ในภาษาไทย “คริสต์มาส” ก็มีความหมายเช่นกัน คำว่า มาส แปลว่า เดือนเทศกาลคริสต์มาสจึงเป็นเดือนที่เราระลึกถึงพระเยซูคริสตเจ้าเป็นพิเศษ อีกความหมายหนึ่งของคำว่า มาส คือ ดวงจันทร์ ฉะนั้นจึงตีความหมายเป็นภาษาไทยได้อีกอย่างหนึ่งคือ พระเยซูทรงเป็นความสว่างของโลก เหมือนดวงจันทร์เป็นแสงสว่างในตอนกลางคืน

1.คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุข
คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรให้แก่ผู้ที่เรารัก เคารพ และนับถือ ขอให้เราได้รับสันติสุขและความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส

2.ตัวจริงของซานตาครอส คือนักบุญนิโคลัส
ซานตาครอส คือสัญลักษณ์ที่เด็กและผู้คนนิยมมากที่สุดในเทศกาลคริสต์มาส แต่แท้จริงแล้ว ซานตาคลอสแทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้เลย โดยชื่อซานตาคลอส มาจากนักบุญนิโคลัส มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 4 เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่งอพยพไปอยู่ในสหรัฐฯก็ยังรักษาประเพณีนี้ไว้ คือฉลองนักบุญนิโคลัสในวันที่ 25 ธันวาคม ซึ่งหมายถึงนักบุญนี้จะมาเยี่ยมเด็กๆ และเอาของขวัญมาให้ ซึ่งเป็นบาทหลวงในตุรกีช่วงคริสต์ศตวรรษที่สี่ ผู้ขึ้นชื่อในเรื่องความใจดีโดยเฉพาะกับเด็กๆ ต่อมาท่านเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั่วฮอลแลนด์ในชื่อ “ซินเตอร์คลาส” ราวค.ศ.1870 ชาวอเมริกันเรียกชื่อเพี้ยนไปเป็น“ซานตาคลอส”
โดยแต่เดิม ภาพของซานตาคลอสเป็นชายร่างผอมสูงสวมชุดสีเขียว หรือน้ำตาลสลับแดง เจนนี ไนสตรอม ศิลปินชาวสวีเดน เป็นผู้คิดค้นรูปลักษณ์ของซานตาครอสอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน โดยวาดภาพลงในบัตรอวยพรคริสต์มาส ภาพเหล่านี้ได้รับความนิยมไปทั่วโลกเมื่อชาวสวีเดนอีกคนชื่อ แฮดดอน ซันด์บลอม นำภาพวาดของไนสตรอมสวมชุดขาวแดง อันเป็นสีเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโคคา-โคล่า เขายังเปลี่ยนโฉมซานตาคลอสให้ทรวดทรงอ้วนท้วน และมีกวางเรนเดียร์เป็นพาหนะประจำตัว
ส่วนความเชื่อที่ว่าซานตาคลอสเข้าบ้านทางปล่องไฟเริ่มขึ้นใน ค.ศ.1822 เมื่อ คลีเมนต์ มัวร์ นักคิดชาวอเมริกัน ประพันธ์บทกลอนชื่อ “เมื่อนักบุญนิโคลัสมาเยี่ยมเยือน”

3.ผู้ที่ริเริ่มใช้ต้นไม้คริสต์มาสคือชาวเยอรมัน
เมื่อราวๆปี ค.ศ. 1000 เขาใช้ต้นไม้คริสต์มาสเพื่อตกแต่งบ้านด้วย และในปี ค.ศ.1800 การใช้ต้นไม้คริสต์มาสได้แพร่หลายไปทั่วภาคเหนือของยุโรป แล้วต่อมาอีกไม่นานชาวเยอรมันอพยพไปยังสหรัฐอเมริกาจึงได้เริ่มใช้ต้นไม้ คริสต์มาสที่นั้นด้วย ปัจจุบันชาวอเมริกาก็ใช้กันเกือบทุกครอบครัว

4.การร้องเพลงคริสต์มาส
เพลงคริสต์มาสเริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 ซึ่งในสมัยนี้มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสเป็นผู้แต่งร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมาของพระเยซู แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีวิฒนาการใหม่ในด้านเพลงนี้ เริ่มในประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้มีส่วนในการสนับสนุนให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่ ซึ่งชาวบ้านชอบคือมีท่วงทีทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดี ในโอกาสคริสต์มาสนี้ เพลงเหล่านี้เป็นภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ. 1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบันคือเพลง “ขอเชิญท่านผู้วางใจ” O, Come All Ye Faithful หรือภาษาลาตินว่า “Adeste Fideles”
ในส่วนของเพลงคริสต์มาสที่เรานิยมร้องกันมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมันและประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ Silent Night, Holy Night เป็นภาษาไทยว่า “ราตรีสวัสดิ์ ราตรีสงัด” ความเป็นมาของเพลงนี้คือ วันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ. 1818 คุณพ่อ joseph Mohr เป็นครั้งแรก โดยการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมไปทั่วโลก.

5.การส่งบัตรอวยพรในวันคริสต์มาส
เซอร์เฮนรี โคล นักธุรกิจสิ่งพิมพ์ ชาวอังกฤษ ส่งบัตรอวยพรคริสต์มาส แผ่นแรกใน ค.ศ. 1843 แต่ยังไม่ได้รับความนิยมจนกระทั่งช่วงปลายคริสต์ศตวรรษ บัตรในระยะแรกทำด้วยมือ และราคาแพงมาก ชาวแคนาดาสองคนคือ แฟรงก์ โรส กับกอร์ดอน ลูเท็ต ส่งบัตรอวยพรแผ่นเดิมให้แก่กันไปมาทุกปี ตั้งแต่ค.ศ.1929 ขณะนั้น ทั้งคู่อายุ 12 ขวบ และบ้านอยู่ละแวกเดียวกันบนถนนนอร์ท แวนคูเวอร์ แฟรงก์เสียชีวิตใน ค.ศ.1995 แต่ภรรยาม่ายของเขาก็ยังส่งบัตรอวยพรแลกเปลี่ยนกับกอร์ดอนวัย 81 เรื่อยมา
ขอให้ทุกคนมีความสุขและใช้เวลากับครอบครัวอย่างอบอุ่นในวันคริสต์มาสนี้นะจ๊ะ

ข้อมูลจาก : www.lifestyle.campus-star.com
ภาพจาก : www.tsood.com และ www.alamy.com
เรียบเรียงโดย นายธราดล วุฒิกรณ์ และ นายเรืองศักดิ์ จันทร์น้อย นักศึกษาฝึกประสบการณ์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร

ร่วมแสดงความคิดเห็น