สามล้อเชียงใหม่ ปั่นเพื่อชีวิต ปั้นปั่นเพื่อทัวร์เมือง

ราวๆปี 2476 มีการดัดแปลงรถจักรยาน มาใส่รถลากหรือรถจีน เพื่อขนสัมภาระและดัด แปลงรับผู้โดยสารนั่งด้านหลังยังไม่มีหลังคามุงกันแดดกันฝนจนกระทั่งพัฒนามาเรื่อยๆ แพร่หลายกลายเป็นอาชีพถีบสามล้อรับจ้างทั่วประเทศ วันนี้เห็นเหลือน้อยแล้วในเชียง ใหม่ หรือตามเมืองต่างๆ ปี 2510 เจ้าพนักงานจราจร กทม.ห้ามสามล้อปั่น สัญจรตามถนนสายต่างๆ เพราะจำนวนยานยนต์ที่เพิ่มอาจก่อปัญหาการจราจร แต่ตามเมืองใกล้เคียงยังมีประปราย สำหรับเชียง ใหม่ เริ่มนำมาปั่นบริการ รับส่งผู้คนในเขตนคร ราวๆปี 2500 จนติดทำเนียบ “บริการคู่เมือง” พอๆกับรถสี่ล้อแดง ที่เข้ามาในระบบขนส่งสาธารณะตั้งแต่ปี 2521

ปัจจุบันภาพผู้ชายในวัย 50-60 สวมเสื้อสีกรมท่า กางเกงขาสั้น ตามแบบฟอร์มที่กลุ่มอนุรักษ์ สามล้อถีบเชียงใหม่ ปั้นแต่ง ร่วมกับหลายภาคส่วน เพื่อความเป็นระเบียบ ในกิจ กรรมเสริมการท่องเที่ยว เหลือไม่ถึง 67 คัน ส่วนใหญ่จะปักหลัก รอรับส่งผู้โดยสาร แถวๆกาดหลวง,ประตูเชียงใหม่, ตลาดสันป่าข่อย, ตลาดช้างเผือก และเมืองใหม่ บางวันจะเห็นปั่นเรียงรายเป็นแถว เป็นแนว 10-20 คัน นำนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย-ชาวต่างชาติ นั่งชมเมือง ตามเส้นทางทัวร์
ความพยายาม ปั้นปั่นกระแสสามล้อถีบเชียงใหม่ ให้คงอยู่คู่การท่องเที่ยวเมือง ดูเหมือนจะมีเสียงสะท้อนหลักๆ 2 ด้าน นั่นคือ เห็นด้วยและตรงข้าม ด้วยนับวันปัญหารถติดหนัก ในเชียงใหม่ แทบจะไม่เลือก วันเวลาว่าจะเร่งด่วน หรือ วันหยุด ช่วงเทศกาล จะเห็นได้จาก ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา สามล้อถีบปั่นไป ท่ามกลางรถโดยสารสารพัดสี และยานพาหนะนักท่องเที่ยว จนเป็นภาพที่น่าขบคิดว่า เชียงใหม่มีอะไรๆให้ประหลาดใจเสมอ

แม้ว่าสามล้อถีบ เชียงใหม่ ที่เคยมีนับพันคันจะเหลือรอดไม่ถึงร้อยและที่ปั่นอยู่มีอายุเฉลี่ย 65-80 ปีกันแล้ว แต่ยังดูแข็งแรงเป็นส่วนใหญ่ จากการสอบถาม”ลุงแก้ว” ในวัยเฉียด 70 ยอมรับว่า อาชีพนี้ทำให้มีรายได้หล่อเลี้ยงครอบครัวรายได้วันละ 2-3 ร้อย อยู่อย่างพอเพียงก็ไม่ทุกข์ยุทธวิธีปั่นสามล้อนั่งผ่อเวียงที่นำนวัตกรรมทันสมัยสื่อโซเชี่ยลมาเปิดรับจองบัตรโดยสารเฉลี่ยต่อรอบต่อทริป 30 นาที-1 ชม. กับอัตรา 5-7 ร้อยบาท ในอนาคตสิงห์นักปั่นวัยใกล้ฝั่งจะเหลือรอดในการตลาดสักกี่รายมิหนำซ้ำทายาทคนรุ่นใหม่ๆไม่นิยมสืบทอดอาชีพนี้ประกอบกับสภาพเมือง ถนนหนทางแออัดด้วยรถยนต์กิจกรรมที่ตั้งธงเพื่อการท่องเที่ยวลดมลพิษหรือเป้าประสงค์ใดก็ตามแต่ท้ายที่สุดการปั่นสามล้อถีบ ที่ปั่นเพื่อชีวิต อดีตเมืองคงต้องลบเลือนหายไปตามกาลเวลาหรือเชียงใหม่ได้เวลาต้องจ้างคนปั่นๆ ปั้นสีสันเมืองท่องเที่ยว

ร่วมแสดงความคิดเห็น