เชิญชาวเชียงใหม่ ร่วมบริจาคช่วยผู้ประสบภัยพายุปาบึก ที่ลานท่าแพ

จังหวัดเชียงใหม่ มณฑลทหารบกที่ 33 และเทศบาลนครเชียงใหม่ ขอเชิญชวนประชาชนชาวเชียงใหม่ร่วมบริจาคสิ่งของข้าวสารอาหารแห้งให้กับผู้ประสบภัยพายุโซนร้อนปาบึก โดยจะจัดให้มีจุดรับบริจาคบริเวณลานประตูท่าแพ ตั้งแต่เวลา 13.00 น. ของวันที่ 7 มกราคม จนถึงวันที่ 16 มกราคม 2562

ผลจากพายุทำให้เกษตรกรได้รับความเสียหาย 189,688 ราย 13 พื้นที่การเกษตร ที่ได้รับผลกระทบจากพายุปาบึก ด้านพืช 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ตรัง ปัตตานี ชุมพร

เกษตรกรได้รับความเสียหาย 158,550 ราย พื้นที่ได้รับผลกระทบ 116,823 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 20,437 ไร่ พืชไร่ 2,513 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 93,873 ไร่

ลักษณะความเสียหาย เกิดจากลมพัดแรง ต้นไม้ใหญ่หักโค่น และมีฝนตกหนักเกิดมวลน้ำสะสมไหลหลากผ่านพื้นที่เกษตร ส่งผลให้หน้าดินสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน ถูกกัดเซาะ และเกิดน้ำท่วม ส่วนพื้นที่เกษตรลุ่มต่ำ ส่งผลให้สวนยางพารา สวนปาล์ม มีน้ำขังท่วมโคนต้น และพื้นที่นาข้าวในจังหวัด นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระยะการเจริญเติบโตอายุปลูก 60 วัน ได้รับผลกระทบจากน้ำหลากไหลผ่านและท่วมขัง

ด้านประมง มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 7 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี ประจวบคีรขันธ์ จันทบุรี ตราด

เกษตรกรได้รับความเสียหาย 6,653 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตวน้ำเสียหาย 22,364 ไร่ (บ่อปลา 12,484 ไร่ บ่อกุ้ง/ปู/หอย 9,880 ไร่) กระชัง 4,050 ตารางเมตร ลักษณะความเสียหาย ปลาที่เลี้ยงในกระชังถูกคลื่นซัดสัตว์น้ำที่เลี้ยงในบ่อถูกน้ำท่วม

ด้านปศุสัตว์ มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 4 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎรธ์านี นราธิวาส ปัตตานี เกษตรกรได้รับความเสียหาย 25,138 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 1,216,681 ตัว แบ่งเป็น โค- กระบือ 46,678 ตัว สุกร 49,993 ตัว แพะ-แกะ 9,021 ตัว สัตว์ปีก 1,110,989 ตัว ลักษณะความเสียหาย สัตว์ปีกไม่อยู่ในพื้นที่ปลอดภัย สูญหาย และโรงเรือนสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์ (ไก่เนื้อ ไก่ไข่) ที่อยู่ในที่ลุ่มต่ำ ถูกน้ำท่วมโรงเรือน ส่วนสัตว์ใหญ่โคเนื้อสามารถอพยพขึ้นที่สงูตามคำเตือน แต่ในระยะต่อมาสุขภาพสัตว์อาจอ่อนแอเนื่องจากภาวะเครียดและความชื้น ได้รับอาหารไม่เพียงพอ

ส่วนเรือประมง มีพื้นที่ประสบภัย 8 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช ระนอง สงขลา ปัตตานี เรือเสียหาย จำนวน 86 ลำ
ลักษณะความเสียหาย ในพื้นที่ภาคตะวันออก เรือประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่เป็นเรือที่จอดบริเวณชายหาด น้ำเข้าเครื่องยนต์เรือ สามารถถอดมาล้างและใช้งานได้ เปลือกเรือแตกเนื่องจากเรือกระแทกกันขณะจอด สามารถซ่อมแซมได้ ในขณะนี้หน่วยงาน กรมประมง ร่วมบูรณาการตรวจสอบความเสียหายแล้ว

ร่วมแสดงความคิดเห็น