ที่ปรึกษา รมช.ศธ.ดูการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์

ที่ปรึกษา รมช.กระทรวงศึกษาธิการ เดินทางตรวจเยี่ยมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ด้อยโอกาสทางการศึกษาตามแนวชายแดนไทย-เมียนมาร์ ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนบ้านในสอย ต.ปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2562 เวลา 10.00 น. พลเอกสุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมคณะลงพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อติดตามตรวจเยี่ยมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ด้อยโอกาสทางการศึกษาตามแนวชายแดนไทย-เมียนมาร์ ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนบ้านในสอย ต.ปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน สังกัดสำนักงาน การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีนายจารึก เหล่าประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน หน่วยงานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจังหวัดแม่ฮ่องสอนและชุมชนบ้านในสอยให้การต้อนรับ

สำหรับ ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านในสอย ของ กศน.อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2549 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 12 ปี เพื่อเป็นศูนย์การเรียนชุมชนรู้ให้แก่เยาวชนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์จากประเทศเพื่อนบ้านที่มีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองทำให้มีบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยเขามายังประเทศไทย บางคนก็ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศเดิมของตนได้ บ้างก็ตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทย และในปี 2548 ได้มีการจัดทายุทธศาสตร์การจัดการ ปัญหาสถานะและสิทธิบุคคลของสภาพความมั่นคงแห่งชาติและได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2548 เรื่องการจัดการศึกษาให้แก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย

ซึ่ง กศน.อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จึงได้จัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนชุมชนบ้านในสอย และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตรผู้ไม่รู้หนังสือหลักสูตรขั้นพื้นฐานและหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือเยาวชนด้อยโอกาสทางการศึกษา เพราะในขณะนั้นในพื้นที่มีปัญหาการระบาดของโรคเอดส์ การระบาดของยาเสพติด การถูกหลอกให้เด็ก เยาวชนไปค้าประเวณี และทำผิดกฎหมายอื่นๆ การทำลายทรัพยากรสิ่งแวดล้อม การไม่เข้าใจกันระหว่างผู้อพยพและชุมชนในพื้นที่ ดั หากให้โอกาสทางการศึกษาแก่คนที่อพยพให้ได้รู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร และให้เยาวชนได้มีสถานที่ให้การศึกษาจะลดปัญหาความขัดแย้ง โดยจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนที่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อเยาวชนได้เข้ามาศึกษาจะได้รับวุฒบัตรสามารถนำไปศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้จะช่วยลดปัญหาในพื้นที่ได้

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มีนักศึกษาที่จบหลักสูตรการรู้หนังสือไทย จำนวน 700 คน นักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานจบหลักสูตรระดับประถมศึกษา 30 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 48 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 55 คน โดยมีผู้จบการศึกษาไปเรียนต่อในระดับปริญญาตรีประมาณ 40 คน และกำลังศึกษาต่อระดับปริญญาโท จำนวน 3 คน นักศึกษาที่เรียนจบไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น บางคนได้เป็นตัวแทนในการเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ ทำให้นักศึกษามีอาชีพมีงานทำ เช่น เป็นล่าม ทำงานกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น International Rescue Community (IRC) ,COEER, UNHCR, IOM รวมทั้ง เป็นครูสอนในสำนักงานของพื้นที่การศึกษา เป็นครู กศน. เป็นนักสังคมสงเคราะห์ให้คำปรึกษาให้ความช่วยเหลือชุมชนอื่นในเขตชายแดนไทย-เมียนมาร์

นอกเหนือจากการเรียนการสอนของ กศน. แล้วยังมีหน่วยงานที่จัดการเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มชาติพันธ์ โดยการสอนหลักสูตรภาษาพม่า ภาษากะเหรียงแดง ภาษาอังกฤษ โดยเรียนกับเจ้าของภาษาโดยตรง

ร่วมแสดงความคิดเห็น