พระใช้ดินสอเหล็ก เขียน(จาน)คัมภีร์ใบลาน สืบทอดภาษาล้านนา หนึ่งเดียวในพะเยา

วันที่ 15 มกราคม 2562 ผู้สื่อข่าวได้ติดตาม พระสงฆ์เจ้าอาวาสวัดพระธาตุโพธิ์งาม หมู่ที่ 4 ต.ดอกคำใต้ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ที่ได้สืบสานอนุรักษ์การเขียนหรือ (จาน)คำภึร์ใบลานภาษาล้านนา ด้วยดินสอเหล็ก แหลมคม เขียนลงในใบลาน เป็นตัวหนังสือภาษาล้านนา ที่ คนโบราณทำกันมาร่วม 1,000 ปี เกรงสูญหายก่อนจะไม่มีให้เห็น เพราะการเขียน(จาน) ภาษาเหนือ ไม่เหมือนกับการเขียนหนังสือทั่วไป เพราะคนเขียนหรือจานจะต้องนั่งชันเข่าเขียนหรือจานบนหัวเข่าเท่านั้น

ซึ่งนับว่ามีความสำคัญที่แตกต่าง เห็นได้ชัดเจน และเป็นสิ่งที่หาดูได้ยากยิ่ง กับวิธีการเขียนหรือจาน คัมภีร์ใบลานล้านนา จึงได้ทำการฟื้นฟูรูปแบบการเขียน(จาน) ไว้เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้เทคนิคการเขียนการทำ(จาน)ภาษาล้านนาลงใบลานนั้น มีขั้นตอน อุป กรณ์และเทคนิคหลายอย่าง กว่าจะเป็นคัมภีร์ใบลาน ที่คนโบราณได้ทำการบันทึกเขียน (จาน)ไว้ในใบลานแทนกระดาษ เพราะยุคสมัยก่อนกระดาษไม่มี จึงใช้ใบลานแทนกระดาษทำการบันทึกเรื่องราวต่างๆ ตลอดจน บทสวดมนต์ คาถา ตำรายา เรื่องราวทางพุทธศาสนา และอื่นๆ ที่เป็นภาษาล้านนา โดยวิธีการจานหรือเขียนบันทึกไว้ในใบลาน เพื่อไม่ให้สูญหายไป จึงได้อนุรักษ์ฟื้นฟูรักษาและถ่ายทอดรุ่นสู่รุ่นไว้

พระทศพร ถาวรปญโญ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุโพธิ์งาม ได้สาธิตวิธีการเขียน(จาน)คัมภีร์ลงบนใบลาน โดยการนั่งชันเข่าเอาใบลานวางบนหัวเข่าแล้วจานใบลาน หรือเขียนอักขระภาษาล้านนาลงในใบลาน พร้อมกับมีขั้นตอนการเขียนการทำคัมภีร์ใบลาน ที่ไม่เหมือนใคร นับว่าขั้นตอนการเขียน(จาน) จะต้องมีการเตรียมใบลาน คัดขนาด ความกว้าง-ยาว แล้วนำเข้ากรอบไม้เพื่อทำเป็นเส้นช่องๆ เพื่อเขียน(จาน)เมื่อเขียนจานตัวหนังสือเสร็จแล้ว ก็จะนำมาลงน้ำหมึกสีดำเช็ดด้วยผ้าจนเห็นตัวหนังสือชัดเจน

หลังจากนั้นก็จะนำเข้ารูปเล่มเก็บไว้ เป็นชุดๆๆ ของแต่ละเรื่องแต่ละตอนแต่ละบท ถือเป็น การอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน ที่ยังคงมีให้เห็นไม่มากนักในยุคสมัยนี้ ในพื้นที่ จ.พะเยา หรือจะเป็นหนึ่งเดียวในจังหวัดก็ว่าได้ ที่ยังคงสืบสานอนุรักษ์การจานใบลาน แบบภาษาล้านนาดังกล่าวไว้ เพื่อไม่ให้สูญหายไป และยังคงที่จะร่วมสืบทอดเพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง ได้ร่วมกันศึกษาภาษาล้านนาให้คงอยู่ต่อไปกับล้านนา

โดยพระทศพร เล่าว่า การจานใบลานดังกล่าวนั้น ในอดีตจะมีการทำกันอย่างแพร่หลาย โดยการจดบันทึกของคนสมัยโบราณนั้น จะไม่มีสมุด หนังสือเหมือนปัจจุบัน จะเก็บข้อมูลเรื่องราวต่างๆไว้ในใบลาน ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะใช้ภาษาที่เป็นภาษาถิ่นของตนเอง โดยส่วนใหญ่จะเป็นบทสวดมนต์ คาถา ตำรายา เรื่องราวทางพุทธศาสนา ตนเองเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า จึงได้ทำการศึกษาค้นคว้าจากผู้เฒ่า ผู้แก่ และผู้รู้ตามที่ต่างๆ จากนั้นจึงได้ทำการอนุรักษ์และสืบทอด เพื่อให้สามเณรที่อยู่ในวัดตลอดจนชาวบ้าน ได้ทำการศึกษาเพื่อเป็น การฟื้นฟูวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ไม่ให้สูญหาย และเพื่ออนุรักษ์คัมภีร์โบราณภาษาล้านนาต่างๆไว้ให้ได้ศึกษากันต่อไป ซึ่งการบันทึกไว้ในใบลานนั้น จะไม่ค่อยเกิดการเสียหาย จึงได้สืบ สานและอนุรักษ์ไว้ เพื่อให้คงอยู่คู่กับชาวล้านนาตลอดไป

สำหรับการจานคำภีร์ใบลานนั้น จะทำการโดยการคัดเลือกใบลาน การเก็บรักษาและการนำใบลานมาเขียนหรือจาน จากนั้นก็จะใช้แท่งไม้เหลาลักษณะคล้ายดินสอ บริเวณหัวจะใช้เหล็กกล้าเป็นหัวคล้ายปากกา จากนั้นจะทำการจานหรือเขียนบนใบลาน เพื่อให้เป็นรอยตัวหนังสือ ซึ่งเป็นภาษาล้านนา และเสร็จแล้วก็จะนำหมึกแท่งแบบโบราณ ที่ทำการฝนผสมกับน้ำทำการชุบบนใบลานที่เขียน ซึ่งหมึกดังกล่าวจะมีความคงทนไม่จางหายไป และมีอายุทนทานนับร้อยปี ซึ่งถือว่าการจานคำภีร์ใบลาน ของวัดพระธาตุโพธิ์งามแห่งนี้ ถือได้ว่าน่าจะเป็นแห่งเดียวที่คงอนุรักษ์วัฒนธรรมดังกล่าวไว้ เพื่อไม่ให้สูญหายไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น