กรมควบคุมมลพิษ แถลงข่าวการเฝ้าระวังและรับมือสถานการณ์ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ปี 2562 “อาสาด้วยใจ ลดภัยหมอกควัน”

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562 นายสมชาย ทรงประกอบ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ นายระพีศักดิ์ มาลัยรุ่งสกุล ผู้อํานวยการสํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 นายอาวีระ ภัคมาตร์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 นายถาวร เพ็ชรบัว ผู้อํานวยการสํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 3 ร่วมกันแถลงข่าว และเสวนาเกี่ยวกับการรับมือสถานการณ์ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ปี 2562

นายสมชาย ทรงประกอบ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า การเฝ้าระวังและรับมือสถานการณ์ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ปี 2562 ” อาสาด้วยใจ ลดภัยหมอกควัน ” เพื่อเตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวังและรับมือสถานการณ์ปัญหาหมอกควันภาคเหนือประจําปี 2562 ทั้งนี้ ตามที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1-3 (ภาคเหนือ) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันประจำปีงบประมาณ 2562 เนื่องจากในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยได้ประสบกับปัญหามลพิษทางอากาศหรือปัญหาไฟป่าและหมอกควันมายาวนานกว่า 10 ปี ซึ่งสถานการณ์ปัญหาจะเริ่มทวีความรุนแรงในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคมของทุกปี

โดยสาเหตุหลักคือการเผาป่า การเผาในพื้นที่เกษตร การเผาสองข้างทางเพื่อกำจัดวัชพืชริมทาง การเผาขยะมูลฝอย และการเผาในที่โล่งทุกพื้นที่ ที่ผ่านมาหน่วยงานต่างๆได้มีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังภายใต้บทบาทภารกิจของหน่วยงานสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคในฐานะหน่วยงานทางด้านวิชาการที่ต้องสนับสนุนให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้เห็นความสำคัญของการจัดการปัญหาด้วยกระบวนการชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องการสร้างความรู้ความเข้าใจการปลุกจิตสำนึกให้แก่เด็กเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ให้มีความตระหนักต่อปัญหา

ทั้งนี้ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่1-3 (ภาคเหนือ) จึงได้กำหนดจัดงานแถลงข่าวเฝ้าระวังและรับมือสถานการณ์ปัญหาหมอกควันภาคเหนือปี 2562 ” อาสาด้วยใจ ลดภัยหมอกควัน ” เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์ปัญหาหมอกควันและไฟป่าที่จะเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนมีการเตรียมตัวของประชาชนในการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กPM10 และPM2.5

นอกจากนี้ ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนมีเป้าหมายที่คนจุดอันเป็นสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาตามแนวทางหลัก ดังนี้ 1. ยึดแนวทางการดำเนินงานภายใต้กลไกของพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย 2550 ภายใต้แนวทาง”4มาตรการเชิงพื้นที่ 4การบริหารจัดการ” 2. การกำหนดห้วงเวลาห้ามเผาในจังหวัดใช้ข้อมูลทางสิ้นปีย้อนหลังประกอบการพิจารณากำหนดห่วงเวลาห้ามเผาให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพปัญหาในพื้นที่ 3. การเพิ่มประสิทธิภาพของการเข้าเผชิญเหตุและดับไฟการป้องกันไม่ให้เกิดการเผาเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดความสูญเสียน้อยจึงเน้นให้ตรึงกำลังเพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการเผาในทุกพื้นที่เสี่ยง 4.การป้องปรามไม่ให้เผาและ
การรณรงค์สร้างจิตรสำนึกอย่างต่อเนื่องมุ่งมั่นกลุ่มเป้าหมายคนจุดไฟเผาป่าที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างความเข้าใจอาจมีการจับกุมดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดเผาป่าในห้วงเวลาห้ามเผาและกระจายข่าวไปสู่ชุมชนเพื่อสร้างกระแสตื่นตัวให้เกิดความกลัวและไม่กล้าฝ่าฝืนข้อกำหนดของจังหวัดฯลฯ 5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการติดตามสถานการณ์ทั้ง เทคโนโลยีดาวเทียมและระบบภูมิสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการกำหนดแผนเผชิญเหตุและดับไฟให้มีประสิทธิภาพ 6. การแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนอย่างยั่งยืนโดยเน้นการสร้างความร่วมมือและประสานประเทศเพื่อนบ้านให้ลดการเผาและหมอกควันทั้งในระดับภูมิภาคเอเชียผ่านการผลักดันการดำเนินงานตาม Roadmap on ASEAN Cooperation towards Transboundary Haze Pollution Control with Means of Implementation เพื่อเปลี่ยนให้ภูมิภาคเอเชียเป็นภูมิภาคปลอดหมอกควันข้ามแดนในปี 2563

ร่วมแสดงความคิดเห็น