ตำบลบ้านถิ่น หาทางออกให้ชาวบ้านแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัย และทำกินในพื้นที่ป่าไม้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้

ผู้สื่อข่าวรายงานมาจากจังหวัดแพร่มาเมื่อวัน 8 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ได้ มีนายนภดล ใจกลม นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ กรมป่าๆม้ ได้ร่วมกับนายภาสกร หม้อกรอง กำนันตำบลบ้านถิ่น อ.เมือง จ.แพร่ พร้อมด้วยผู้นำท้องถิ่นในตำบลบ้านถิ่นและชาวบ้านในเขตตำบลบ้านถิ่น ซึ่งมีที่ทำกินในเขตท้องที่ หมู่ 2 และ หมู่ 3 ที่มีปัญหาในเรื่องเอกสารสิทธิ์ จำนวน 300 คน เข้าร่วมรับฟังแนวทางในการแก้ไขปัญหาและหาทางออก และความร่วมมือกับชาวบ้าน

โดยที่มาเรื่องของ คือ ตามที่ มติคณะรัฐมนตรี มีความเห็นชอบในหลักการพื้นที่เป้าหมายและกรอบมาตรการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าไม้ (ทุกประเภท) ตามนัยมติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักงบประมาณไปดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย

ในที่ประชุมในเบื้องต้น ทางเจ้าหน้าที่ป่าไม้จะออกสำรวจเป็นแบบพื้นที่แปลงใหญ่ก่อน และพื้นที่เป้าหมายและกรอบมาตรการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าไม้ (ทุกประเภท) เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่ยังไม่ได้นำมาดำเนินการจัดที่ดินทำกินฯ เฉพาะในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ก่อนแล้วให้ครอบคลุมปัญหาทั้งหมดตามมติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2561 ซึ่งกรอบมาตรการฯ จำแนกเป็น 5 กลุ่ม สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มคือ

กลุ่มที่ 1 ชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำ ชั้นที่ 3-5ก่อน มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 อนุญาตให้เข้าใช้ประโยชน์ อยู่อาศัย/ทำกิน แบบแปลงรวม (ให้สิทธิทำกิน มิให้เอกสารสิทธิ)

กลุ่มที่ 2 ชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 3-5 หลังมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และต้องปฏิบัติตามคำสั่งคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 66/2567 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2557อนุญาตให้เข้าใช้ประโยชน์ อยู่อาศัย/ทำกิน แบบแปลงรวม (ให้สิทธิทำกิน มิให้เอกสารสิทธิ) โดยอยู่ภายใต้ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่กำหนดร่วมกันในลักษณะที่เกื้อกูลต่อการอนุรักษ์ เช่น ให้ปลูกป่าเพื่อเศรษฐกิจไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ และอื่น ๆ ควบคู่ไปกับให้ใช้ประโยชน์อยู่อาศัยและ ทำกิน

กลุ่มที่ 3 1.ชุมชนในเขตป่าสงวน แห่งชาติที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1-2 ก่อนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 กำหนดให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำพื้นที่โครงการเพื่อควบคุมการใช้ทรัพยากรและที่ดินและดำเนินการจัดระเบียบการใช้ที่ดินอยู่อาศัย/ทำกินเป็นหลักแหล่งอย่างเหมาะสม (ออกแบบรูปแบบในการอยู่อาศัยร่วมกับชุมชนและราษฎร) เช่น ฟื้นฟูสภาพป่าแบบมีส่วนร่วม ส่งเสริมราษฎร ปลูกป่า 3 อย่าง ร้อยละ 20 ของพื้นที่

กลุ่มที่ 4ชุมชนที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ทั้ง ก่อนและหลังมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541ชุมชนที่จะได้รับการพิจารณาต้องเป็นชุมชนที่อาศัยอยู่เดิม มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ทำกินเป็นที่ยอมรับร่วมกันและให้สิทธิทำกินมิให้เอกสารสิทธิ แนวทางที่ดำเนินการ คือ 1) การสำรวจการครอบครองที่ดินและ2) การตรวจสอบและการบริหารจัดการพื้นที่โดยจัดระเบียบพื้นที่กรณีสำรวจแล้วเป็นพื้นที่ล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศ นอกนั้นให้พิจารณาตามความจำเป็นเพื่อการดำรงชีพโดยส่งข้อมูลให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พิจารณาอนุญาตตามกฎหมาย

กลุ่มที่ 5 ชุมชนในพื้นที่ป่าชายเลนพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และพื้นที่เกษตรกรรมพื้นที่เมืองและสิ่งก่อสร้างถาวรให้กับราษฎรที่ครอบครองมาก่อนคำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 ราษฎรที่คุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ คทช. และไม่รวมราษฎรที่อยู่ในพื้นที่ทวงคืนผืนป่าที่คดียังไม่สิ้นสุด ดำเนินการสำรวจ ตรวจสอบการครอบครองพื้นที่ จัดทำข้อมูลจำแนกตามรูปแบบการใช้ประโยชน์ จัดทำแผนการบริหารจัดการและโครงการเพื่อการอนุญาต จากนั้นจะเสนอขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนได้ และให้กรมทรัพยากรทางทะเลฯ ดำเนินการอนุญาตตามกฎหมายใช้พื้นที่ต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น