เที่ยว “ถ้ำแม่สรวย” ชมความงามบนสันเขื่อนแม่สรวย

ถ้ำแม่สรวย สถาปัตยกรรมธรรมชาติ ของอำเภอแม่สรวย กว่าจะได้เห็นความวิจิตรพิสดารของหินงอก หินย้อย ที่มาจากโพรงขนาดเล็กจนกลายเป็นโถง ถ้ำขนาดมหึมา และกว่าจะกลายเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกให้เราได้ชื่นชมในวันนี้ ธรรมชาติไม่ได้ใช้เวลาเพียงวันวานหรือพรุ่งนี้สร้างขึ้น หากแต่ใช้เวลาหลอมหลอมและขัดเกลา นานนับร้อย นับล้านปี จึงทำให้เกิดเป็น “ถ้ำ” ดินแดนมหัศจรรย์ใต้พิภพ

การศึกษา “ถ้ำ” คนทั่วไปส่วนใหญ่มักคิดว่าทำไมผู้วิจัยจึงอยากเข้าไปในสถานที่ที่มืดมิด และ น่าสะพรึงกลัว ความคิดเช่นนี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การเปิดพรมแดนความรู้ด้านทรัพยากร ธรรมชาติเกี่ยวกับถ้ำของนักวิชาการชาวไทยแทบไม่เกิดขึ้นเลย ในขณะที่นักวิชาการชาวต่าง ประเทศได้ศึกษาในงานด้านนี้จนเกือบทั่วประเทศไทยไปไม่น้อยกว่า 30 ปีที่ผ่านมานั้นจึงไม่ น่าแปลกใจที่คนไทยส่วนใหญ่จะคิดว่า ผู้ที่อยากวิจัยถ้ำนั้นกล้าเสี่ยงที่จะศึกษา ก็เพื่อหวัง สมบัติอันล้ำค่า หาใช่ความรู้ด้านต่าง ๆ ที่ต้องการทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ถ้ำเป็นจุดดึงดูดความสนใจ และถอดรหัสความลึกลับต่าง ๆ ใต้พิภพ ซึ่งถ้ำในแต่ละแห่งมี ความสวยงามเหลื่อมล้ำต่างกัน

ถ้ำแม่สรวย ก็เป็นหนึ่งในหลายร้อยถ้ำของไทย มีความสวยงามของหินงอกหินย้อยที่ ลักษณะคล้ายผืนผ้าม่านโรงละครขนาดใหญ่มหึมา ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวและนัก วิชาการชาวต่างประเทศมาเป็นเวลานาน เนื่องจากถ้ำแห่งนี้มีความสวยงามและมีคุณค่าติด อันดับการท่องเที่ยว มีธารน้ำผิวดินและใต้ดินไหลผ่านในถ้ำ มีคูหาที่งดงามสลับซับซ้อนถึง 8 คูหา คูหาบางห้องอยู่ลาดต่ำลง และบางห้องต้องปีนป่ายขึ้นไป บางช่วงทางเดินจะมีลักษณะ เป็นเหวลึกไม่สามารถหยั่งถึงได้ ภายในบริเวณถ้ำจะมีทางเดินลัดเลาะไปตามโขดหินและคูหาต่าง ๆ

พ่อหนานอ้าย สุอาราม อดีตประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอแม่สรวย และอดีตผู้ ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เล่าว่าก่อนที่จะมีการค้นพบถ้ำดังกล่าวใน ปี พ.ศ.2528 ได้มีชาวบ้านขึ้นไป ทำไร่ข้าวโพดแถวนั้น และได้แวะพักผ่อนหลบร้อน บังเอิญเหลือบไปเห็นโพรงหินเป็นทางยาว ซึ่งมีกิ่งไม่เถาวัลย์ปกคลุมอยู่ จึงพากันแผ้วถางและเดินเข้าไปสำรวจ จึงพบว่าบริเวณดังกล่าว เป็นโพรงถ้ำ และต้องตะลึงเมื่อพบว่าภายในถ้ำเต็มไปด้วยหินงอก หินย้อย รูปร่างแปลกตา บางแห่งมีลักษณะคล้ายรูปช้าง รูปเสาวิหาร รูปหอยสังข์ ล้วนแล้วแต่เป็นความมหัศจรรย์ จากสถาปัตยกรรมทางธรรมชาติทั้งสิ้น

เสียงเล่าลือปากต่อปากเรื่องการค้นพบถ้ำ กลายเป็นเรื่องสุดฮอตในอำเภอแม่ สรวยและจังหวัดเชียงราย ทำให้จังหวัดเชียงรายมีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแห่ง มีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติเข้าไปเที่ยวชมไม่ขาดสาย เนื่องจากเส้นทางไปยังถ้ำแม่ สรวย แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติป่าเขา และทิวทัศน์ทางธรรมชาติอันร่มรื่นผ่านป่าไผ่อันเขียว ขจี 2 ข้างทาง เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบธรรมชาติหรือเดินป่า

นับตั้งแต่มีการก่อสร้างเขื่อนแม่สรวย กั้นลำน้ำแม่สรวย ทำให้เกิดบริเวณน้ำท่วมรายรอบ ภูเขาส่งผลกระทบต่อเส้นทางเดินไปสู่ถ้ำแม่สรวย เพราะแรงดันน้ำที่เก็บกักในบริเวณตัวเขื่อน ทำให้ถนนไปสู่ถ้ำถูกตัดขาด และปัจจุบันทางการได้ดำเนินการสร้างสะพานคอนกรีตพาดผ่าน ช่องเขาทดแทนถนนสายเก่าระยะทางยาวประมาณ 200 เมตร ทำให้การเดินทางไปสู่ถ้ำแม่ สรวยไม่ต้องถูกปิดตาย และสามารถรับนักท่องเที่ยวได้ทุกเวลา และผลพลอยได้จากการ สร้างเขื่อนดังกล่าว ทำให้รอบ ๆ บริเวณถนนที่เดินทางขึ้นสู่ถ้ำแม่สรวยเต็มไปด้วยธรรมชาติ ของเขื่อนแม่สรวย

ถ้ำแม่สรวย ตั้งอยู่เขตป่าชุมชน หมู่ที่ 14 บ้านเด่นภูเวียง ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่ สรวย จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ ทิศเหนือ ติดกับเขื่อนแม่สรวย ทิศใต้ ติดกับพื้นที่ทำการเกษตรของชาวบ้านบ่าบง ทิศตะวันออกติดกับ ลำห้วยดีหมีและเขื่อนแม่สรวย ทิศตะวันตก ติดกับพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้านห้วยน้ำมา หลังจากมีการค้นพบถ้ำแม่ สรวย ได้มีพระอาจารย์สุกรี สุเมโธ ได้สร้างอาศรมขึ้นบริเวณหน้าปากถ้ำ เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยว ของชาวบ้านและนักท่องเที่ยว กระทั่งปัจจุบันได้สร้างศาลาปฏิบัติธรรม ถ้ำวิหารไตรลักษณา คุณพุทธสถาน สำหรับใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมและวิปัสสนาแก่ศรัทธาญาติโยมและผู้สนใจ โดย ทุกปีหลังประเพณีสงกรานต์จะมีการจัดงานบวงสรวงประจำปี มีการจุดบั้งไฟแข่งขันกันด้วย

การเดินทางไปยังถ้ำแม่สรวย ใช้ถนนสายเชียงราย-เชียงใหม่ ทางหลวงหมาย เลข 118 แยกบริเวณทางบ่อน้ำมันฝาง เลี้ยวซ้ายถนนลูกรังตรงไปยังถนนสายเดียวกับที่เชื่อม ไปยังเขื่อนแม่ สรวย ประมาณ 5 กิโลเมตร และอีกเส้นทางหนึ่งเข้าที่บ้านตีนดอย ถึงทางแยกเลี้ยวซ้ายทาง เข้าเขื่อนแม่สรวย ตรงไปจนถึงปากทางเข้าถ้ำ ระยะทางเท่ากัน

บทความโดย
จักรพงษ์  คำบุญเรือง

ร่วมแสดงความคิดเห็น