ใกล้วันวาเลนไทน์แล้ว!! “รักแท้” มีอยู่จริง !!

ตอนสมัยเด็ก ๆ เวลาไปเที่ยวสวนสัตว์เชียงใหม่ พลาดไม่ได้ที่จะแวะชมโชว์นก ที่ทางสวนสัตว์เชียงใหม่จัดแสดง พอถึงช่วงหนึ่งจะเป็นคิวโชว์ของ “นกเงือก” ผู้ดำเนินการโชว์ ก็จะพูดอธิบายถึงนกเงือกว่า “นกเงือกเป็นนกที่รักเดียวใจเดียว หากคู่ของมันตายแล้ว จะไม่มีคู่อีก” ตอนนั้นก็จำจำมาแต่ก็คิดว่ารักแท้ ไม่มีมีอยู่จริง

จวบจนเมื่อเวลาผ่านไปเติบโตขึ้น เริ่มรู้จัก “ความรัก” ความรักมีมากมายหลายสิ่งอย่าง รักพ่อ รักแม่ รักครอบครัว รักลูก ทุก ๆ อย่างล้วนเป็น “รักแท้” ทำให้ย้อนนึกถึงคำพูดเรื่องนกเงือกในตอนนั้น

“14 กุมภาพันธ์” วันวาเลนไทน์ ส่วนใหญ่จะนึกถึง เทพเจ้าคิวปิด ถือคันศรทอง หรือดอกกุหลาบ ส่วนในประเทศไทยเอง ว่ากันว่า “นกเงือก” เป็นสัญลักษณ์ของรักแท้ ของชีวิตคู่ เพราะนกเงือกจะมีลักษณะการครองคู่แบบ “ผัวเดียว เมียเดียว” เมื่อตัดสินใจครองคู่กันแล้ว มันก็จะรักและดูแลกันไปอย่างนั้นตลอดไป และก่อนวันวาเลนไทน์ ทุกวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ก็ถือว่าเป็น “วันรักนกเงือก” ของทุกปีด้วยเช่นกัน

เรื่องราวชีวิตรักของนกเงือก…..จะเริ่มต้นราวกลางเดือนมกราคม ช่วงนี้นกเงือกอยู่กันเป็นคู่ ตัวผู้จะเที่ยวเสาะหาโพรงรัง ส่วนตัวเมียจะตามไปดูเพื่อตัดสินใจ เพราะตัวเองต้องอยู่ในบ้านหลังนั้นหลายเดือน

ในผืนป่าที่มีปัญหาการตัดไม้ จะส่งผลถึงการหาโพรงรัง เพราะนกเงือกไม่ได้สร้างเองเหมือนนกตัวเล็กๆ แต่อาศัยโพรงรังในต้นไม้ที่เกิดจากการเจาะของนกหัวขวาน โพรงที่เกิดจากรอยเล็บหมีมากินผึ้ง หรือโพรงที่เกิดจากฟ้าผ่า

เมื่อถึงช่วงเวลาวางไข่ ตัวเมียจะ ‘แต่งบ้าน’ โดยใช้อาหารที่สำรอกออกมาคลุกเคล้ากับมูลตัวเอง เศษไม้และดิน เพื่อปิดปากโพรง เหลือเพียงช่องแคบเพื่อให้ตัวผู้ป้อนอาหาร และขังตัวเองอยู่ในโพรงเพื่อฟักไข่และเลี้ยงลูก

หากภายใน 3 วัน หากตัวผู้ไม่นำอาหารมาป้อนตัวเมียก็จะกะเทาะปากโพรงเพื่อออกหากินแล้วทิ้งรังปล่อยให้ลูกนกเสียชีวิต หรือบางทีทั้งแม่ทั้งลูกก็เสียชีวิตภายในรัง เนื่องจากตัวเมียอยู่ในสภาพอ่อนแอและหากตัวใดตัวหนึ่งตายไป อีกตัวที่เหลือจะไม่จับคู่กับตัวอื่นอีก แต่จะอยู่เดียวดายไปตลอดชีวิต

สำหรับนกเงือกในประเทศไทย มีนกเงือก 13 ชนิด ด้วยกัน โดยในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ซึ่งมีอาณาเขตส่วนหนึ่งอยู่ใน จังหวัดนครราชสีมา มี 4 ชนิด ได้แก่ นกกก หรือ นกกะวะ หรือ นกกาฮัง นกเงือกสีน้ำตาล นกเงือกกรามช้าง หรือ นกกู่กี๋ และนกแก๊ก หรือนกแกง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา พบ 9 ใน 12 ชนิดของนกเงือกที่พบในไทย ได้แก่ นกเงือกปากย่น นกเงือกชนหิน นกแก๊ก นกกก นกเงือกหัวหงอก นกเงือกปากดำ นกเงือกหัวแรด นกเงือกดำ นกเงือกกรามช้าง

จากเรื่องราวชีวิตรัก ของนกเงือก เชื่อว่าจะเป็นเรื่องราวหนึ่งที่เตือนสติของชีวิตคู่ครอง หากคู่ครองไหนที่มีเรื่องราวไม่เข้าใจกันแล้วได้อ่านเรื่องราวชีวิตรักของนกเงือก จะรู้ว่า “รักแท้” นั่นมีอยู่จริง

เรียบร้องข้อมูลโดย : “เชียงใหม่นิวส์”

ข้อมูล : MTHAI / วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาพประกอบ: http://www.chiangmai.zoothailand.org

ร่วมแสดงความคิดเห็น