พลับทองของดีบนดอยสูงที่ โครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น

การเกษตรบนพื้นที่สูง แต่เดิมเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อพฤติกรรมการปลูกฝิ่น ไม่ว่าจะเป็นไปโดยรู้ เท่าไม่ถึงการณ์ หรือหวังประโยชน์ทางการค้า แต่สิ่งเหล่านี้ก็นำมาซึ่งการบุกรุกทำลายป่า อันนำไปสู่ความหายนะให้แก่ประเทศชาติ

มูลนิธิโครงการหลวง เป็นมูลนิธิที่มีบทบาทอย่างมากในการเข้ามามีส่วนปรับเปลี่ยน พฤติกรรม สามารถลดการกระทำบุกรุกทำลายป่าของชาวเขา ให้กลายมาเป็นการส่งเสริมการ เกษตรบนพื้นที่สูง โดยให้ชาวเขาเหล่านั้นหันมาปลูกพืชผักผลไม้เมืองหนาวแทน

ห้วยน้ำขุ่น หมู่บ้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของอำเภอแม่สรวย อยู่หมู่ที่16 บ้าน แม่ สรวย ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย อยู่ในความดูแลของโครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2526 บนอาณาบริเวณ 20 ไร่ ในเขตหมู่บ้านห้วยน้ำขุ่น ครอบ คลุมพื้นที่ 3,000 ไร่ เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชทางการเกษตรแก่เกษตรกรชาวเขาในพื้นที่ตาม แนวทางวิทยาการแผนใหม่ทดแทนฝิ่น เป็นการช่วยยกระดับความเป็นอยู่ให้แก่ราษฎรในท้อง ถิ่น โดยทางศูนย์ ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย อาทิ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 ช่วยส่ง เจ้าหน้าที่มาทำการปรับพื้นที่ และให้คำปรึกษาแนะนำส่งเสริมด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้ทำวิจัยเรื่องชา กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และใน พ.ศ.2528 สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท จังหวัดเชียงรายได้ตัดถนนเข้าสู่หมู่บ้านเพื่อความ สะดวกในการขนส่ง

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย วัดความสูงจากระดับ ทะเลได้ 1,015 เมตร ลักษณะพื้นที่เป็นหุบเขาและเนินเขาสลับซับซ้อนมีที่ราบแคบกระจาย อยู่ทั่วไป ปัจจุบันรับผิดชอบพื้นที่ 141.3 ตารางกิโลเมตร หรือ 88,339.74 ไร่ อุณหภูมิเฉลี่ย 26 องศาเซลเซียส ราษฎรในพื้นที่ประกอบด้วยเผ่ามูเซอ อีก้อ อาเข่อ กะเหรี่ยง และจีนฮ่อ

นายถนอม รัตนะ กำนันตำบลท่าก๊อ เปิดเผยว่า ตำบลท่าก๊อ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่ดี มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น การเดินป่าศึกษาธรรมชาติที่บ้านอาข่า น้ำตกป่าเกี๊ยะ ที่มี ความสูงระหว่าง 2-4 เมตร กว้างประมาณ 2 เมตร อยู่ระหว่างรอยต่อบ้านป่าม่วง-สันกลางกับ บ้านป่าเกี๊ยะ น้ำตกห้วยชมพู ระยะทางห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 15 กิโลเมตร นอกจากนี้ยัง มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรเช่น การชมสวนชาและวิธีการเก็บชา ชมแปลงปลูกกาแฟพันธุ์ อราบิก้า ชมแปลงสตรอว์เบอรี่และไม้ผลเมืองหนาว ชมวิถีชีวิตชาวอาเข่อและจีนฮ่อ ชมการแต่งกาย ของแต่ละชนเผ่า ชิมอาหารจีนยูนนาน ขาหมู และหมั่นโถว ขึ้นชื่อ ชมการเย็บปักถักร้อย และการปักผ้าของชาวเขา

ปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีบทบาทเป็นอย่างมากที่จะนำรายได้มาสู่ชนบท สร้างความกินดีอยู่ดีให้คนในท้องถิ่นได้สร้างงานสร้างอาชีพ นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชม แปลงผลิตพืช ผัก ไม้ผล และไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาว และพืชอื่น ๆ ภายในโครงการได้ หากนักท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ ทางศูนย์มีวิทยากรบรรยายให้ความรู้ เที่ยวชมวิถี ชีวิตของราษฎรชาวไทยภูเขาหลากหลายเผ่า วิถีชีวิตแต่ละเผ่าจะดำรงชีพที่แตกต่างกัน พร้อม ชมแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ น้ำตก ทิวทัศน์ที่สวยงาม โดยเฉพาะฤดูหนาวตั้งแต่เดือน ธันวาคม-เดือนกุมภาพันธ์ มีอากาศหนาวเย็น ดอกไม้บานสะพรั่ง เหมาะแก่การท่องเที่ยว แต่ ถ้าเป็นช่วงอื่น ๆ นักท่องเที่ยวสามารถชิมผลไม้เมืองหนาวที่มีรสชาติดีที่ไม่ต้องไปหาซื้อจาก ต่างประเทศ ปัจจุบันประเทศไทย โดยมูลนิธิโครงการหลวงหลาย ๆ แห่ง สามารถผลิตผลไม้ หรือพืชผักไม้ดอกไม้ประดับที่นำเข้าจากต่างประเทศได้หลากหลายชนิด สามารถลดการขาด ดุลการค้าจากต่างประเทศได้

พืชเศรษฐกิจผลไม้เมืองหนาวที่ขึ้นชื่อลือชาทั้งด้านคุณภาพและรสชาติ ต้องยกให้ลูกพลับ ซึ่งเป็นผลไม้เปลือกสีเหลืองสุก นิยมกันอย่างมากในหมู่ชาวจีน ที่ถือให้ลูกพลับ เป็นผลไม้มงคล เพื่อความมั่งมีศรีสุขเลยก็ว่าได้ ด้วยเปลือกผลที่สีเหลืองสุกราวกับทอง เปรียบเสมือนเป็นผลไม้ทองคำจากสวรรค์ เป็นที่นิยมนำมาเป็นของขวัญตามเทศกาลต่าง ๆ เพราะนอกจากจะบ่งบอกถึงสิ่งดี ๆ แล้ว ยังแทนความรักความห่วงใยได้ โดยสรรพคุณพิเศษ ของลูกพลับช่วยลดความดัน ห้ามเลือด ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องจากความเย็นได้ ช่วยแก้ บิด ในเด็กที่ถ่ายออกมามีมูกเลือด แก้ไอและเจ็บคอ โดยนำลูกพลับไปตากแดด ผิวด้านนอกเป็นเกล็ดละเอียดสีขาว พอแห้งแล้ว นำมาอมให้ให้ความชุ่มคอ ต้มน้ำดื่มรักษาแผลร้อนในในช่องปากได้ส่วนใบของลูกพลับ ให้นำ ไปตากแห้งต้มในน้ำเดือดช่วยลดการแข็งตัวของหลอดเลือด ลดความดัน แก้ เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ ช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการนอนไม่หลับ ถ้านำมาบดเป็นผง รับ ประทานวันละ 2 ครั้งในปริมาณ 3 กรัม ติดต่อกัน 1 เดือน บรรเทาริ้วรอยจ้ำเลือดเนื่องจาก เกล็ดเลือดน้อยกว่าปกติ ก้านขั้วของพลับยังนำมาทำยาได้ คือใช้เป็นยาแก้สะอึกได้

ปัจจุบันลูกพลับห้วยน้ำขุ่นกลาย เป็นของดีที่เชิดหน้าชูตาอำเภอแม่สรวย และมีการส่งเสริมการปลูกมากแห่งหนึ่งในพื้นที่ จากการดำเนินงานของโครงการหลวงที่ผ่านมา ราษฎรในความดูแลของมีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รายได้เฉลี่ย 18,000-30,000 บาท ต่อปี ต่อครัวเรือน มีรายได้เพียงพอใน การดำรงชีพ คุณภาพชีวิตด้านสุขอนามัย ด้านการศึกษา ด้านคมนาคม ด้านสาธารณูปโภค สิ่ง อำนวยความสะดวกด้านอุปโภคบริโภคดีขึ้น มีความมั่นคงในชีวิต ลดพื้นที่การตัดไม้ทำลายป่า ลดพื้นที่การทำไร่เลื่อนลอย ลดพื้นที่ปลูกฝิ่นและให้หมดไปจากประเทศไทย ราษฎรชาวไทย ภูเขามีที่อยู่อาศัยและที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง สามารถทำการเกษตรตามหลักวิชาการได้อีกด้วย

บทความโดย
จักรพงษ์ คำบุญเรือง

ร่วมแสดงความคิดเห็น