13 มีนา “วันช้างไทย” สัตว์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่อดีต

ในวันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เมื่อ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ ปีเป็น”วันช้าง”ไทย เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักรู้ถึงบทบาทความสำคัญของช้างไทยในปัจจุบัน

วันช้างไทย เกิดจากการริเริ่มของคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น ก็จะช่วยให้ประชาชนคนไทย สนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างกันมากขึ้น

ครั้งแรกได้พิจารณาเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวันกองทัพไทยไปแล้ว จึงต้องพิจารณาวันอื่นอีก และเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยนั้นมีความเหมาะสม จึงได้นำเสนอมติตามลำดับขั้นเข้าสู่คณะรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตร และสหกรณ์อีกทางหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2541 เห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันช้างไทย และได้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541

นับได้ว่าเป็นการยกย่องให้เกียรติว่า ช้างเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์ไทยช้างเป็นสัตว์ที่ดำรงอยู่คู่กับประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สยามประเทศเคยใช้ธงชาติเป็น รูปช้างเผือก ชาวไทยเชื่อกันว่าช้างเผือกเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์ ช้างเผือกจึงได้รับการยกย่องเสมือนเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า

ประวัติศาสตร์ชาติไทยได้ จารึกไว้ว่าช้างได้เข้ามามีส่วนในการปกป้องเอกราชและความเป็นชาติให้แก่ชาว ไทยหลายยุคหลายสมัย ในสมัยกรุงธนบุรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงรวบรวมชายไทยให้เป็น ปึกแผ่นและมั่นคงบนหลังช้างทรงพระที่นั่ง และในสมัยพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ได้ทรงประกาศเอกราชและความเป็นชาติ ของคนไทยบนหลังช้างทรงพระที่นั่งด้วยเช่นกัน ซึ่งช้างทรงในสมเด็จพระนเรศวรนับว่าเป็นช้างไทยที่ได้รับเกียรติอันสูงสุด

ช้างใช้ในการศึกสงครามในอดีต ในสมัยโบราณ การรบบนช้างหรือที่เรียกว่า ยุทธหัตถี นั้น เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในประวัติศาสตร์ไทย แต่ครั้งสำคัญที่สุด ซึ่งคนไทยยังกล่าวขวัญจดจำไม่รู้ลืม คือ การยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาและพระมหาอุปราชาแห่งหงสาวดี ที่ตำบลหนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณบุรี เมื่อปีพุทธศักราช 2135 หรือกว่า 400 ปีล่วงมาแล้ว

การใช้ช้างทำไม้ในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่การล้มไม้ การทอนไม้ซุง การขนส่งไม้จนถึงโรงงานหรือตลาดการค้า ในแง่ของการอนุรักษ์ป่าไม้ และระบบการจัดการป่าไม้ในประเทศไทย การใช้ช้างชักลากไม้ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย การใช้แรงงานจากช้างจึงค่อยๆ ลดลง รัฐบาลไทย จึงได้กำหนดให้ช้างเผือกเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของชาติ

กิจกรรมวันช้างไทยทั้งหน่วยงานรัฐ และเอกชนได้ร่วมกันจัดกิจกรรมพิเศษมากมายให้กับช้าง เช่น การทำบุญรับขวัญช้างบายศรีสู่ขวัญ การจัดสะโตกช้าง หรือขันโตกช้าง โดยช้างจะรับประทานอาหารของช้างที่ได้จัดไว้ให้เป็นอย่างดี วันนี้เด็กนักเรียน นักท่องเที่ยว เข้าชมได้ฟรี จะได้เห็นคุณค่าของช้างไทยและความสำคัญของ…วันช้างไทย

ร่วมแสดงความคิดเห็น