การเตรียมการรองรับสถานการณ์ภัยแล้งของจังหวัดเชียงใหม่

เมื่อเร็วๆ นี้ นายกฤษณ อำพันธุ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า หลังจากสำนักงานประกาศเตือนภัยฤดูร้อน หรือภัยแล้ง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ รัฐบาลก็มีนโยบายให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ ได้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อเตรียมการรับสถานการณ์ภัยแล้ง ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดตั้งศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหา ด้านการเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่ โดยกำหนดแผนบูรณาการ เรื่องของการจัดเตรียมการภัยแล้งในปี 2562 โดยมีการประชุมระดมข้อมูลไปแล้วหนึ่งครั้งตามแผน

สถานการณ์น้ำในปัจจุบัน เขื่อนกักเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562 มีร้อยละ 86 เขื่อนแม่กวง ร้อยละ 44 และยังมีน้ำขนาดกลางกระจายอยู่ทั้งจังหวัดเชียงใหม่อยู่ 12 อ่าง โดยมีปริมาณน้ำรวมทั้งหมด 58% และยังมีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 114 อ่าง ซึ่งกระจายทั่วจังหวัดเชียงใหม่มีอยู่ 64% จะเห็นได้ว่า สถานการณ์น้ำในปัจจุบัน ทำให้เห็นว่า พื้นที่กักเก็บน้ำต่างๆ ของจังหวัดเชียงใหม่นั้น ไม่ขาดแคลนน้ำ ทั้งเรื่องของอุปโภคและบริโภค ในการเกษตร ซึ่ง การเกษตรมีการวางแผนไว้เพื่อไม่ให้ช่วงที่เพาะปลูก ขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้งนี้ โดยมีการปล่อยน้ำเป็นรอบเวรทั้งหมดปล่อยอยู่ 21 รอบเวร ซึ่งเริ่มปล่อยแล้วตั้งแต่ 25 มกราคม 2562 เป็นต้นมาและมีแผนจะส่งน้ำจนถึงเดือนมิถุนายน 2562 โดยภาวะปกติ จัดส่งน้ำประมาณสัปดาห์ละ 6 วัน คือ 1 สัปดาห์ต่อครั้ง ปริมาณน้ำ 3,000,000 ถึง 5,000,000 ลูกบาศก์เมตร หากเกิดภาวะวิกฤตขึ้นมา สนง.มีแผนรองรับ หากเกิดวิกฤติเรื่องของน้ำขึ้นมาคือ ส่งปริมาณน้ำให้เพิ่มเยอะขึ้นกว่าเดิม แต่กรณีที่มีฝนตก ก็จะลดปริมาณในการส่งน้ำลง เพื่อที่จะส่งน้ำให้ถึงในเดือนมิถุนายนนี้ตามที่กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้มีการตรวจสอบ ฝายต่างๆ ที่อยู่ตามริมน้ำปิงทั้งหมด ให้พร้อมที่จะใช้งานในการส่งน้ำ

ทั้งนี้ หากเกิดกรณีฉุกเฉิน มีการเตรียมเครื่องสูบน้ำไว้สำหรับเกษตรกรในกรณีร้องขอ ซึ่ง สนง.มี เครื่องสูบน้ำทั้งหมด 58 เครื่องกระจายตามจุดต่างๆ หากเกษตรกรมีความจำเป็นเร่งด่วนก็สามารถร้องขอเครื่องสูบน้ำไปที่กรมชลประทาน จังหวัดเชียงใหม่ หรือติดต่อได้ที่ อบต.ในเขตพื้นที่สามารถที่จะนำเครื่องสูบน้ำที่มีความพร้อม เข้าถึงประชาชนได้ทันที

อย่างไรก็ตาม การเฝ้าระวังและการประเมินสถานการณ์ มีการประชุมติดตามศูนย์ฯ ทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง เพื่อเป็นการประเมินสถานการณ์ หากเกิดกรณีฉุกเฉินขึ้นมา ก็จะนำเครื่องมือต่างๆ เข้าช่วยเหลือประชาชนทางด้านการเกษตรได้ทันที

ร่วมแสดงความคิดเห็น